Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังความรู้ by SpokeDark
•
ติดตาม
15 มิ.ย. 2020 เวลา 08:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
นักวิทย์ออกมาพิสูจน์ความเชื่อเรื่องของกินตกพื้น
SHUTTERSTOCK
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
หลายคนคงมีความเชื่อที่ว่า ของตกพื้นแป๊บเดียวก็เอาหยิบมากินใหม่ได้
เพราะยังตกถึงพื้นยังไม่ถึง 5 วินาทีเลย ความเชื่อนี้ถูกแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว Dr. Donald Schaffner ศาสตราจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์
อาหาร จาก Rutgers University ได้ทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าความเชื่อนี้สมเหตุสมผลหรือไม่
การทดลองในครั้งนี้ได้นำเอาของกินที่แตกต่างกัน 4 ชนิด คือ แตงโม
ขนมปัง ขนมปังทาเนย และลูกอม มาทดสอบกับสภาพพื้นผิวที่แตกต่างกัน
อีก 4 ประเภท โดยใช้แบคทีเรียที่ไม่ก่อให้เกิดโรคมาทำการทดลอง
คือ Enterobacter aerogenes ซึ่งเจ้าแบคทีเรียตัวนี้ไม่ก่อให้เกิดโรคและ
เป็นเหมือน "ญาติ" ของแบคทีเรีย Salmonella ที่มักจะอยู่ในระบบทางเดิน
อาหารของมนุษย์ โดยใช้ Tryptic Soy Broth และ Peptone Buffer
เป็นตัวกลางที่ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโต และกำหนดเวลาในการทดลอง
หลายระดับ เช่น 1 วินาที 5 วินาที 30 วินาที และ 300 วินาที โดยได้ผลการ
ทดลองทั้งหมด 128 สถานการณ์ ทำซ้ำครั้งละ 20 รอบ ทำให้ได้ข้อมูลมาก
ถึง 2,560 ครั้ง จากนั้นพื้นผิวและตัวอย่างอาหารจะถูกนำไปวัดระดับการปน
เปื้อนของแบคทีเรีย
SHUTTERSTOCK
ผลสรุปออกมาว่า แตงโมเป็นอาหารที่แบคทีเรียติดง่ายที่สุด เพราะแบคทีเรียไม่มีขาไม่สามารถเคลื่อนที่ได้แต่มันอาศัยความชื้นในการเคลื่อนที่ เมื่ออาหารที่ตกลงพื้นนั้นมีความชื้นและเวลานานเท่าไหร่ก็จะมีแบคทีเรียติดกลับขึ้นไปเยอะมากขึ้นเท่านั้น และที่สำคัญแบคทีเรียนั้นแทบจะปนเปื้อนไปกับอาหาร
แทบจะในทันทีเสียด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นความเชื่อเรื่อง 5 วินาที ที่อาหารตก
ลงพื้นและนำกลับมากินได้นั้น ไม่สามารถเชื่อได้ซะทีเดียว เพราะมันขึ้นอยู่
กับปัจจัยหลายอย่างซึ่งรวมไปถึงลักษณะของอาหารไปจนถึงพื้นผิวที่อาหารตกลงมาด้วย
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
4 บันทึก
25
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อวกาศ วิทยาศาสตร์ การค้นพบ
4
25
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย