15 มิ.ย. 2020 เวลา 12:03 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การต่อกราวด์ในระบบไฟฟ้ากับกราวด์ระบบป้องกันฟ้าผ่า แต่ละมาตรฐานพูดไว้ว่าอย่างไร
- EIT : ช่องเดินสายเครื่องห่อหุ้ม โครงโหละ และส่วนโหละอื่นของบริภัณฑ์ไฟฟ้า ที่ไม่ได้เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า ต้องมีระยะห่างจากตัวนำของระบบป้องกันฟ้าผ่าไม่น้อยกว่า 1.8 เมตร หรือต่อฝากเข้ากับระบบป้องกันฟ้าผ่า
- NEC : มาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าของอเมริกา Article 250.106 กำหนดให้ระบบรากสายดินของระบบฟ้องกันฟ้าผ่า จะต้องต่อประสานให้ศักย์เท่ากันกับระบบต่อลงดินของระบบไฟฟ้า
- IEC : มาตรฐานานชาติ IEC-62305-3 ข้อ6.2 กำหนดให้การป้องกันฟ้าผ่าภายในสามารถทำได้โดยการต่อประสานศักย์ให้ศักย์เท่ากันระหว่างระบบป้องกันฟ้าผ่า โดยต่อประสานศักย์ส่วนโลหะของสิ่งก่อสร้าง และสิ่งติดตั้งโลหะระบบภายใน รวมถึงส่วนตัวนำภายนอก และสายต่างๆ ที่ต่อเข้ากับสิ่งปลูกสร้าง เข้าด้วยกัน
การที่แต่ละมาตรฐานแน่ะนำให้ทำเช่นนี้ ก็เพื่อต้องการให้จุดต่างๆของโครงโลหะมีศักย์ไฟฟ้าที่เท่ากันทุกจุด เพื่อป้องกันแรงดันเกินที่จะเกิดขึ้นจากฟ้าผ่า และศักย์ไฟฟ้าที่ไม่เท่ากันทุกจุดหากแต่ละจุดมีความต้านทานที่ไม่เท่ากันจะทำให้แรงดันที่แต่ละจุดก็ไม่เท่ากันด้วยทำให้เกิดอันตรายหากมีคนไปสัมผัส และป้องกันการเกิดประกายไฟ flashover จากกระแสฟ้าผ่ากระโดดข้ามไปยังส่วนตัวนำหรือโหละที่อยู่ใกล้กับตัวนำลงดินของฟ้าผ่า เพราะเมื่อต่อประสานศักย์กันทั้งหมดจะทำให้แต่ละจุดมีศักย์ไฟฟ้าที่เท่ากัน ทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้นกว่าการติดตั้งระบบกราวด์แยกออกจากกัน แต่การทำเช่นนี้ ควรจะต้องพิจารณาออกแบบการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ (Surge Protection Device : SPD) ควบคู่กันไปด้วย เพื่อป้องกันเสิร์จที่อาจจะไหลเข้าไปในระบบไฟฟ้าได้ โดยระบบไฟฟ้า และระบบสื่อสาร หากจะต่อประสานศักย์ถึงกัน จะต้องทำทำการต่อผ่านอุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ ซึ่งในมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า ภาคที่ 3 เรื่องความเสียหายทางกายภาพต่อสิ่งปลูกสร้าง และอันตรายต่อชีวิต หัวข้อที่ 6.2 การประสานให้ศักย์เท่ากีนกับระบบป้องกันฟ้าผ่า จะมีกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้
#หลักสูตรออกแบบงานระบบไฟฟ้าตามแบบฉบับแอดมินห้องไฟฟ้า(ออนไลน์)
โฆษณา