17 มิ.ย. 2020 เวลา 02:24 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
"จากเพียงเม็ดทราย - เมื่อนำมาสกัด - ถลุง"
และเมื่อถึงเวลา...อาจทำให้บางสิ่งบนโลกนี้เปลี่ยนไป
Solar Cell : ตอนที่ 3
ขยะพิษจาก Solar Cell ที่ปลดระวาง!!! 😥
ภาพจาก PV-tech.org
ในมุมความเป็น"พระเอก"ของ Solar Cell เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงโลกได้
ตลอดอายุการใช้งาน 25 ปีโดยประมาณ..เราได้เห็นล่ะ
เมื่อครบอายุการใช้งาน..ถึงตรงนี้ความเป็น"พระเอก"ของ Solar Cell หมดล่ะครับ..และอาจกลายเป็น "ผู้ร้าย"บ้างล่ะ (หากจัดการไม่ถูกวิธี)
Solar Cell ที่ปลดระวาง หากกำจัดได้ไม่ถูกกระบวนวิธี จะสร้างความเสียหาย ก่อมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมมากครับ ทั้ง คาร์บอนไดออกไซค์ สารไดอะซิน (ในกรณีการเผาที่ไม่ถูกวิธี) และยังมีสารโลหะหนัก อย่างสารตะกั่ว และแคดเมียม ที่อาจเจือปนออกมา (ในกรณีฝังกลบไม่ถูกวิธี)
เมื่อหมดอายุการใช้งาน คำถามคือ “การกำจัด Solar Cell” พร้อมแล้วหรือยังที่จะกำจัดอย่างถูกวิธี..และแผง Solar Cell ที่ปลดระวางที่รอการกำจัดอย่างถูกวิธี...มีมากแค่ไหน?!!
คำตอบ : เท่ากับจำนวนที่ติดตั้งครับ แต่ทยอยปลดระวางตามอายุการใช้งานครับ คาดว่าในอีก 30 ปีหลังจากนี้ ทั่วโลกจะมีแผง Solar cell มากถึง 60 ล้านตัน😅
เราพร้อมจัดการกับสิ่งที่สร้างจาก “เม็ดทราย” เหล่านี้อย่างไร?!!
ภาพจาก inhabitat.com
🇩🇪ในประเทศเยอรมัน มีการจัดการ Solar Cell ที่ปลดระวางแล้วได้ดีแห่งหนึ่งของโลก 👏👏
มีกฎหมายรองรับ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งก่อนหน้านี้ในปี 2550 สหภาพยุโรปได้มีการร่วมกันก่อตั้งองค์กรหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า PV Cycle เพื่อบริหารจัดการ Solar Cell ที่ปลดระวาง ซึ่งจะเป็นการรวบรวม จัดเก็บ ขนส่ง และเข้าสู่กระบวนการกลับมาใช้ใหม่ในพื้นที่ของยุโรป
ชื้นส่วนที่สามารถคัดแยกจาก Solar Cell : ภาพ PVcycle.org
กระบวนการจัดการแผง Solar cell จะถูกถอดแยกชิ้นส่วนเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ตามระเบียบที่กำหนด ได้มีการระบุไว้ว่า..ให้นำวัสดุต้องกลับนำมาใช้ใหม่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
วัสดุที่ถูกคัดแยกจาก Solar Cell เพื่อนำมาใช้ใหม่ : ภาพจาก Reiling Group
ในขณะที่ประเทศไทยตอนนี้ มีติดตั้ง Solar ทั้งแบบ On grid และ Off grid รวมกันเกือบ 3,500 MW รวมๆก้อมีแผง Solar Cell กว่า 18 ล้านแผง และที่จะเกิดขึ้นอีก 10,000MW จนถึงปี 2580 ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าประเทศไทย : PDP2018
ในส่วนของการจัดการ Solar Cell ที่ปลดระวางของประเทศไทยเรานั้น ได้มีการจัดทำ "แผนแม่บทการจัดการซากผลิตภัณฑ์อิเลคทรอนิกส์ : เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ไว้แล้วครับ โดยมีวิธีการอยู่ 2 แนวทางคือ ส่งออกไปจัดการนอกประเทศ และจัดการภายใประเทศ โดยให้เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยโรงงานครับ (การฝังกลบในหลุมฝังกลบของเสียอันตราย หรือเผาทำลายด้วยเตาเผาเฉพาะ)
ในข้อเท็จจริง..ปัจจุบันประเทศไทยเรายังไม่มีเทคโนโลยีในการจัดการ Solar Cell อย่างครบวงจรครับ ทั้งนี้อีก 2 ปี หลังจากนี้ ประเทศไทยเราจะมี Solar Cell ที่ทยอยปลดระวาง จำนวนกว่า 6 -8 แสนตัน
ต้นปีที่ผ่านมา...นับเป็นข่าวดีมากๆครับ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้มีการร่วมกันศึกษาการบริหารจัดการแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่หมดอายุการใช้งาน เพื่อจัดตั้งโรงงานบริหารจัดการซากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ต้นแบบของไทย
ผลจากการศึกษาครั้งนี้นั้น จะสอดรับกับ timeline ของแผนแม่บทการจัดการ Solar Cell ที่มีอยู่ และรองรับการทยอยการมาของ Solar Cell ที่ปลดระวาง
จาก "เม็ดทราย" แปลเป็น "ซิลิคอน" แปลเปลี่ยนเป็น "พลังงาน"
แต่จะไม่แปลเปลี่ยน "ขยะมลพิษ" แต่จะกลับมาหมุนเวียนเป็น "พลังงานแบบสะอาด" ให้โลกใบนี้ต่อไป
ภาพ planetgreenrecycle.com
เรียนรู้..ไปพร้อมๆกันครับ
ให้กำลังใจด้วยการกดไลค์ กดแชร์ คอมเมนท์ หรือแลกเปลี่ยนทัศนะ
เติมเต็มกัน ซึ่งกันและกันครับ😊
อ้างอิง และ เครดิต
2. แผงโซลาร์เซลล์ : ขยะพิษที่ไม่ควรมองข้าม สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
4.แผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย PDP2018
โฆษณา