16 มิ.ย. 2020 เวลา 12:27 • ปรัชญา
“ความโกรธ”
คิ้ ว ข ม ว ด เป็นปมจนจะผูก เ ป็ น โ บ ว์
โบว์ลักษณะพิเศษนี้ หากนำไปผูกของขวัญ คงไม่มีใครอยากรับสักเท่าไหร่ เพราะแกะออกยากเสียเหลือเกิน
ขมวดปมใหญ่ราวกับเงื่อนปมไก่ ร้อยหูเต็นท์ไม่ให้
โยกโคลงเคลงไปตามแรงลม และแน่นราวกับเงื่อนตะกรุดเบ็ดผูกต่อม่อในการสร้างสะพาน
ค ว า มโ ก ร ธ ไม่เพียงแผ่รัศมีส่งออกภายนอกแต่กลับแทรกซึมเข้าสู่ทุกอณูเซลล์ร่างกายจนธาตุขันธ์แปรปรวนจิตใจรุ่มร้อนดั่งมีไฟสุมทรวงแผดเผาทุกวินาที หากความโกรธมีรสขมคงไม่อร่อย หอมละมุนละไมเหมือนกาแฟเอสเพรสโซเป็นแน่
ความโกรธน้อยลง ความสุขความสบายใจก็เพิ่มมากขึ้น เราค่อย ๆ คลายปมแกะโบว์นี้ออกกันดีกว่าค่ะ
การรับมือกับความโกรธในรูปแบบการเจริญภาวนา
มี 2 วิธี คือ
🌻 1. วิธีแบบสมถะกรรมฐาน
เป็นการฝึกจิตให้สงบ โดยทำให้ ความโกรธดับไป
โดยการหาอุบายวิธี คือ ความตั้งใจที่จะทำให้ความโกรธมันดับไป หายไป ถ้าดับไปหายไป ก็แสดงว่าเราทำสมถะกรรมฐานสำเร็จ
“สมถะกรรมฐาน คือ งานฝึกจิตให้สงบ”
เช่น
การคิดในเชิงบวก คิดถึงสิ่งดีงาม บอกตัวเองว่า
“ความโกรธไม่ดี”
“ไม่โกรธ ไม่ทุกข์”
“จริง ๆ แล้วเขาก็มีส่วนดีอยู่บ้าง”
“ที่เขาพูดอย่างนี้ เขาไม่ได้ตั้งใจหรอก”
หรือการเพ่งไปที่กายพร้อมบริกรรมว่า
“พุทโธ พุทโธ พุทโธ”
“โกรธหนอ โกรธหนอ โกรธหนอ “
🌻 2. วีธีแบบวิปัสสนากรรมฐาน
เป็นวิธีดับความโกรธ โดยไม่ดับ คือ ไม่ได้ตั้งใจจะดับความโกรธ แค่ “รู้” ว่ามีความโกรธเกิดขึ้น
ขณะที่มีสติเป็นกุศล ขณะที่มีความโกรธเป็นอกุศล
เมื่อโกรธแล้วมีสติรู้เท่าทัน ความโกรธจึงดับไปเอง
เพราะกุศลเกิดขึ้น จิตดวงที่เป็นอกุศลก็ดับไป
วิธีนี้จะทำให้เห็นว่ากิเลสก็เกิดดับ กุศลคือความรู้ตัว
ที่เกิดมาก็ดับ เผลอคิดใหม่ก็โกรธใหม่ มีสติรู้ตัวก็ดับไป รู้ตัวก็ไม่เที่ยง ความโกรธก็ไม่เที่ยง รู้ทีไรความโกรธก็ดับ ตัวรู้ก็ดับไปด้วย
ตอนแค่รู้ว่ามีความโกรธเกิดขึ้น อยู่ในเส้นทางวิปัสนาแล้ว ฉะนั้นฝึกมีสติรู้ตัว รู้ทันอารมณ์บ่อยๆ ก็เป็นการฝึกวิปัสสนากรรมฐานแล้ว
“วิปัสสนากรรมฐาน คือ งานเจริญปัญญา”
การทำสมถกรรมฐานมีการแทรงแซง แก้ไข แต่วิธีของวิปัสสนากรรมฐานไม่แก้ เห็นไปตรง ๆ ว่ามีความโกรธเกิดขึ้น
ทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน
ควรทำทั้ง 2 แบบ อย่าทำเพียงแบบเดียว อย่าพอใจ
ในการหาอุบายอย่างไรที่จะทำให้ความโกรธมันดับไปเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้ติดอยู่แค่สมถะ
การโทษตนเองว่า เ ป็ น เ พ ร า ะ เ ร า
การคิดเช่นนี้ใช้ได้ในแง่ของจริยธรรม คือ ไม่ไปโทษคนอื่น ไม่ไปทำร้ายคนอื่น แต่ถ้าจะพัฒนาถึงขั้นมีปัญญา
พ้นทุกข์ ต้องเห็นว่าเป็นสภาวะธรรม เป็นกระบวนธรรมที่อาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา เกิดดับ เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป ไม่ใช่มองเป็นตัวเป็นตน เป็นคน เป็นเขา เป็นเรา
ธรรมะ คือ ธรรมชาติ
ค่อย ๆ ฝึกไปด้วยกันนะคะ😊😊😊
twitter.com @mucknakabe
ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านนะคะ❤️💚
#กระเรียนน้อย
Reference :
▫️หนังสือ วิถีแห่งขอนไม้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา