17 มิ.ย. 2020 เวลา 04:20 • การศึกษา
CHAPTER 30 : อนุญาโตตุลาการ คือใคร ?
• อนุญาโตตุลาการ (Arbitration) คือ การระงับข้อพิพาททางเลือกนอกศาล เป็นกระบวนการที่คู่พิพาทตกลงกันให้บุคคลที่สามที่มีความเป็นกลางและเป็นอิสระ
• และมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่พิพาทนั้นเป็นผู้ทำการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าว โดยคู่พิพาทจะต้องยอมรับคำวินิจฉัยชี้ขาดและผูกพันที่จะปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้นด้วย
ภาพจาก : The London Maritime Arbitrators Association Arbitration Clause
• การระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการได้นั้น
คู่พิพาทตกลงให้มีได้ในขณะทำสัญญา หรือขณะมีข้อพิพาท
หรือแม้แต่ฟ้องร้องต่อศาล
• แล้วก็ขอให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการในศาลได้อีก
การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการคู่พิพาททั้งสองฝ่ายเป็นผู้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ
ภาพจาก : www.norrismclaughlin.com
💥 การอนุญาโตตุลาการมีประเภทใดบ้าง
• การอนุญาโตตุลากการสามารถทำได้ด้วยรูปแบบในศาลและนอกศาล
ซึ่งรูปแบบของการอนุญาโตตุลาการในศาล คือการได้รับความเห็นชอบจากศาลให้มีการอนุญาโตชี้ขาดข้อพิพาท
• ที่เป็นคดีระหว่างการพิจารณาคดี เมื่อได้รับคำตัดสินชี้ขาด อนุญาโตตุลาการจะต้องเสนอคำชี้ขาดนั้นต่อศาลเพื่อให้ศาลพิพากษาตามคำชี้ขาดนั้น
• แต่ในประเทศไทยคู่พิพาทส่วนใหญ่จะเลือกการอนุญาโตนอกศาล
เพื่อลดขั้นตอนการชี้ขาดโดยไม่ต้องส่งฟ้องศาลเป็นให้คดีความ เนื่องจากหากเรื่องไปถึงศาลก็จะเป็นการยากต่อการตกลงระหว่างกัน
ภาพจาก : สถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม
💥 การอนุญาโตตุลาการนอกศาล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. การอนุญาโตตุลาการที่คู่พิพาทดำเนินการกันเอง หรือเรียกว่าเฉพาะกิจ (Ad Hoc Arbitration) คู่พิพาทดำเนินการระงับข้อพิพาทด้วยตัวเอง
• ตั้งคนกลางผู้ระงับข้อพิพาทด้วยตัวเอง และกำหนดวิธีการพิจารณา มีการชี้ขาดข้อพิพาทของตนเป็นข้อตกลงระหว่างคู่พิพาท โดยวิธีนี้จะไม่ใช้บริการของสำนักอนุญาโตตุลาการแต่จะมีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการเอง เมื่อได้ข้อชี้ขาดคู่พิพาทก็มีหน้าที่ต้องดำเนินการปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น
2. การอนุญาโตตุลาการโดยสถาบันอนุญาโตตุลาการ (Institutional Arbitration) คู่พิพาทอาจตกลงกันใช้บริการของสถาบันอนุญาโตตุลการสถาบันใดสถาบันหนึ่ง
• (สถาบันอนุญาโตตุลาการมีการให้บริการทั้งในประเทศ, ระหว่างประเทศ เหมาะสำหรับข้อพิพาทในหลายๆ ระดับ) ซึ่งสถาบันฯก็จะมีบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ
• มาทำหน้าที่อนุญาโตตุลการได้ การใช้ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันจะทำให้คู่พิพาทได้รับความสะดวกทั้งด้านการอำนวยความสะดวกและการเร่งรัดเรื่องให้มีข้อสรุปที่ชัดเจนได้
ภาพจาก : สถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม
📍 ในปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่ให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการหลายหน่วยงาน เช่น THAC สถาบันอนุญาโตตุลาการ ที่ให้บริการทั้งด้าน ศูนย์อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศที่ใช้มาตรฐานระดับสากล, ศูนย์การประนอมข้อพิพาท
• ให้บริการประนอมข้อพิพาททั้งทางแพ่งและพานิชย์ ใน-ระหว่างประเทศ และสถาบันระงับข้อพิพาททางเลือก ผู้ให้ความรู้ สร้างอนุญาโตตุลาการผู้เชี่ยวชาญในมาตรฐานสากล
• หรือหน่วยงานอื่นๆ เช่น สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม, อนุญาโตตุลาการจากสภาหอการค้าไทย หรือกรมการประกันภัย เป็นต้น
ภาพจาก : www.ecovis.com/global/arbitration
💥 ศาลที่มีเขตอำนาจตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการคือศาลใด ?
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6412/2560
• พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 9 บัญญัติว่า "ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หรือศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาค หรือศาลที่มีการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการอยู่ในเขตศาล หรือศาลที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
• หรือศาลที่มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทซึ่งได้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการนั้น เป็นศาลที่มีเขตอำนาจตามพระราชบัญญัตินี้"
ดังนี้ ศาลใดศาลหนึ่งตามที่กฎหมายบัญญัติจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้
• คดีนี้แม้ขณะทำสัญญาผู้คัดค้านมีภูมิลำเนาอยู่ที่เกาะสมุยซึ่งไม่ได้อยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่ง แต่เมื่อผู้คัดค้านมีสำนักงานแห่งใหญ่อันเป็นภูมิลำเนาตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่ง
• ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ศาลแพ่งจึงเป็นศาลที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลและมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้
ข้อสังเกต 💭
• พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 9 มิได้กำหนดลำดับในการเสนอคดีต่อศาล เพื่อขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทซึ่งได้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการเอาไว้
• ดังเช่นที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งบัญญัติไว้ เช่น กรณีของมาตรา 4 ทวิ หรือ 4 ตรี ที่จะต้องพิจารณาเขตอำนาจของศาลตามมาตราดังกล่าวก่อนซึ่งเป็นบทเฉพาะ หากไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา 4 ทวิ หรือ 4 ตรี จึงค่อยกลับไปพิจารณามาตรา 4 ซึ่งเป็นบททั่วไปของเขตอำนาจของศาลในการรับพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง เป็นต้น
‼️ ดังนั้น เขตอำนาจของศาลพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทซึ่งได้เสนอต่ออนุญาโตตุลาการจึงมิได้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริง มูลคดีที่เกิดขึ้น หรือภูมิลำเนาเป็นหลัก แต่ขึ้นอยู่กับว่า คู่พิพาทได้เสนอคดีต่อศาลตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 หรือไม่เท่านั้น
ภาพจาก : สถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม
💥 ความแตกต่างระหว่างการทำงานของศาลกับอนุญาโตตุลาการ
ภาพจาก : https://www.acerislaw.com/the-concept-of-arbitrability-in-arbitration/
• การระงับข้อพิพาทด้วยการอนุญาโตตุลาการมีวิวัฒนาการมาพร้อมๆ กับด้านกฎหมาย นั่นเพราะทุกข้อพิพาทต้องการการควบคุมไม่ให้เกิดการลุกลาม เพื่อให้คู่กรณีได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันและแก้ไขข้อพิพาทได้ด้วยความประณีประนอม
• กรณีนี้อาจทำให้หลายท่านรู้สึกข้องใจในความแตกต่างระหว่างการดำเนินการของศาลกับอนุญาโตตุลาการ ที่มีหน้าที่แตกต่างกันไปดังนี้
- ศาล เป็นกระบวนการและวิธีการด้านกฏหมายที่ควบคุมและบังคับใช้เพื่อการพิจารณาคดีทั้งหมดตามกฏเกณฑ์อย่างเคร่งครัดด้วยองค์ประกอบต่างๆ อาทิ พยาน, การอุทธรณ์, คำตัดสิน และฏีกา จึงต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน ข้อดีคือมีคำชี้ขาดที่เป็นลายลักษณ์อักษรบังคับใช้ตามกฏหมาย
- อนุญาโตตุลาการ เป็นการชี้ขาดข้อพิพาทในข้อขัดแย้ง ด้วยวิธีการแต่งตั้งและให้อำนาจคนกลางในการตัดสินชี้ขาดด้วยความสมัครใจของคู่พิพาททั้งสองฝ่าย การตัดสินดังกล่าวมีการสืบหลักฐานต่างๆ แต่ก็ให้ความยืดหยุ่นด้วยการรับฟังความต้องการของคู่กรณีให้ได้ชี้แจงและแจ้งความต้องการของตนเองอย่างเป็นธรรม
❗️อย่างไรก็ตาม อนุญาโตตุลาการ ไม่มีอำนาจในการบังคับให้คู่พิพาททำตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ การจะบังคับให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำตามจะต้องได้รับคำตัดสินจากศาลเป็นขั้นตอนต่อไป
ภาพจาก : สถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม
💥 แล้วการอนุญาโตตุลาการจะสำคัญอย่างไรถ้าต้องใช้ศาลบังคับคดี ?
ภาพจาก : google.com
• การใช้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีข้อดีคือศาลจะสามารถนำคำชี้ขาดนี้ไปใช้ในกระบวนการได้ ลดขั้นตอนการตัดสินของศาลลง ซึ่งถือว่าทั้งสองวิธีการนี้เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน
• ช่วยลดขั้นตอนการดำเนินการทางศาลให้กับคู่พิพาท ประหยัดเวลาการดำเนินการทางศาลลง และสามารถดำเนินธุรกิจต่อกันไปได้เร็วขึ้น จึงกลายเป็นวิธีที่นักธุรกิจต่างให้ความเชื่อถือและใช้เพื่อลดการเสียโอกาสทางธุรกิจกันทั่วโลก
ภาพจาก : สถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม
ภาพจาก : สถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม
✅ ตัวอย่างคดีดังที่มีการอนุญาโตตุลาการ ตัดสินคดี " โฮปเวลล์
ขอบคุณข้อมูลจาก 📚
- ที เอช เอ ซี อนุญาโตตุลาการ / อนุญาโตตุลาการ วิกิพีเดีย
- คปภ.การอนุญาโตตุลาการ / กระทรวงยุติธรรม สถาบันอนุญาโตตุลาการ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา