23 มิ.ย. 2020 เวลา 14:47 • การศึกษา
[ CHAPTER 32 ] ไม่มีเงินจ้างทนาย " ก็มีทนายได้ "
คงสงสัยใช่ไหมครับว่า ใครที่ไหนจะมาช่วยเป็นทนาย ? ^^
หากเราโดนดำเนินคดี แล้วบังเอิญ !!! ไม่มีตังค์จ้างทนายความ
ผมจะบอกว่าไม่มีก็ไม่ต้องไปจ้าง.. อ้าวแบบนี้ก็ติดคุกหัวโตดิ... 😳
( แต่ต้องไม่มีจริงๆนะ เพราะจะต้องแจ้งข้อมูลตาม " ฐานะ " )
• กฎหมายเค้าให้สิทธิ์ที่จะมีทนายมาช่วยอยู่แล้วทั้งในชั้นสอบสวน
และในชั้นพิจารณาของศาลไม่ต้องไปยืมเงินใครทั้งนั้นครับ...
• ซึ่งในชั้นสอบสวนก่อนที่เจ้าพนักงานจะสอบปากคำให้การเรา
ในฐานะผู้ต้องหา กฎหมายบังคับให้เจ้าพนักงาน
ต้องถามก่อนเลยว่าเรามีทนายหรือไม่ ?
• ถ้าไม่มีและเราบอกต้องการทนายเค้าต้องหาทนายให้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134/1 วรรค2 ยิ่งถ้าทำผิดถึงขั้นมีโทษประหาร ถึงไม่ต้องการทนาย เจ้าพนักงานต้องจัดหาทนายให้ตาม วรรค1
• เพราะถ้าสอบปากคำโดยไม่ดำเนินการตามมาตรา 134/1
ผลคือที่สอบปากคำไปทั้งหมดจะใช้เป็นพยานหลักฐานเอาผิดไม่ได้เลยตามมาตรา 134/4 วรรค 3 ( ยังไงเราก็มีทนายช่วยไม่ต้องกล้ว..... )
• แล้วถ้าส่งฟ้องคดีมาถึงศาลแล้วล่ะ??? ถ้าคดีมาถึงศาลเรายังไม่มีทนายช่วยก่อนศาลจะเริ่มพิจารณาสืบพยาน " ศาลจะถามอีกครั้งว่ามีทนายไหม ? ซึ่งกฏหมายบังคับเลยว่าศาลต้องถามคนที่เป็นจำเลยตามมาตรา 173
• ถ้าไม่มีเงินจ้างทนายแต่อยากได้ทนาย ท่านก็จะจัดหาทนายให้ถ้าศาลไม่จัดหาทนายให้เรา และยังคงพิพากษาโดยไม่มีทนายจำเลย ย่อมเป็นการขัดต่อมาตรา 173 ซึ่งศาลทำไม่ได้ครับ
ว่าง่ายๆ คือไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีทนายช่วย...
ภาพจาก : google.com
📚 คำพิพากษาฎีกาที 6327/2548
- คดีนี้เป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุก จึงเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีทนายความหรือไม่
- ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความ ก็ให้ศาลชั้นต้นตั้งทนายความให้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3
- ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองแก่จำเลยในการพิจารณาคดีของศาล เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ดำเนินการสอบถามจำเลยในเรื่องดังกล่าวในวันสอบสวนให้การของจำเลย
- แม้จำเลยจะแต่งตั้งทนายความเข้ามาในคดีในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาก็ตาม แต่ก็เป็นการแต่งตั้งทนายความหลังจากศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยแล้ว
- จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
- แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณา พิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2), มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3
📚 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 134/1 , 134/4 (วรรคท้าย) , และ 173
Cr พ.ร.บ กองทุนยุติธรรม 2558
สำนักงานกิจการยุติธรรม

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา