17 มิ.ย. 2020 เวลา 14:37 • ไลฟ์สไตล์
การฝึกหายใจเบื้องต้น เพื่อความประสานกันของร่างกายและจิตใจ
.
ในบทความก่อน ผมได้เล่าให้ฟังถึงเรื่องราวในเชิงปรัชญา ของลมหายใจกันมาบ้างพอสมควร วันนี้ผมจะมาแนะนำการฝึกฝนเบื้องต้น เพื่อให้การหายใจของเราเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและจิตใจกันครับ
เพื่อนๆท่านไหนที่เป็นชาวพุทธ คงจะรู้ถึงวิธีการทำสมาธิที่เรียกว่าอาณาปานสติ กันอยู่ใช่มั้ยครับ ผมคิดว่าการทำอาณาปานสติ เป็นวิธีการที่ดีทีเดียวในการที่เราจะฝึกสังเกต และ ควบคุมลมหายใจ
.
และโดยความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าเรื่องของการทำสมาธิเนี้ย เป็นเรื่องสากลที่ไม่จำกัดเฉพาะศาสนาใดศาสนาหนึ่งนะครับ เพราะเป็นวิธีที่ช่วยให้จิตใจได้เข้าถึงพื้นที่แห่งความสงบนิ่ง และเมื่อจิตถึงความนิ่ง ย่อมก่อให้เกิดพลัง อันอาจนำไปใช้เพื่อเข้าถึงมรรคาของแต่ละศาสนาได้
1
ภาพประกอบจาก,pixabay.com
หลักการฝึกปฎิบัติเบื้องต้น
.
สังเกตุ
.
ใช่ครับ แค่สังเกตุ ยังไม่ต้องมีการไปบังคับอะไรอย่างไร แต่แค่สังเกตุลมหายใจเข้า-ออก สังเกตุและก็กำหนดจิตรู้ ว่าหายใจเข้า ตื้นหรือลึก แค่ไหน , ผ่อนเร็ว-ช้า แค่ไหน และอาจค่อยๆ สังเกตุอาการของร่างกาย , ว่ารู้สึกอย่างไร ปวดเมื่อยตรงไหน เกร็งตรงไหน ส่วนไหนที่รู้สึกตึง หรือเกร็งก็ค่อยๆ กำหนดจิตไป ณ บริวาณนั้น และจินตนาการว่ากำลังผ่อนคลายๆ ทีละน้อยๆ
.
นี้ก็เป็นวิธีการผ่อนคลายวิธีหนึ่ง และก็เป็นลักษณะพื้นฐานของการทำสมาธิอีกด้วย
การหายใจอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า "การหายใจแบบย้อนศร"
.
ในรูปแบบแรก คือเราพิจารณากันที่ลมหายใจเข้า-ออก ใช่มั้ยครับ
แต่วิธีนี้เราจะทำตรงกันข้าม คือ เราจะไม่สนใจลมหายใจเข้า แต่ตั้งต้นกันที่ ลมหายใจออกเลยทีเดียว ให้เราถือว่าการหายใจออกเป็นจุดเริ่มต้นของการหายใจ โดยการฝึกใช้กล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงในการบังคับลมหายใจออกให้หมด
.
กล้ามเนื้อในบริเวณดังกล่าวเรียกว่า intercostal muscles ซึ่ง เมื่อจะทำงานได้แข็งแรงกว่าตอนที่เราหายใจเข้าครับ และเมื่อเราหายใจออกอย่างหมดจด เราย่อมหายใจเข้าได้เต็มปอดไปโดยปริยาย
.
หลายคนที่ใช้วิธีนี้พบว่า เมื่อโฟกัสที่การหายใจออก รู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ควบคุมการหายใจ ไม่ใช่เพียงแค่ปล่อยให้ร่างกายหายใจไปเอง
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา