24 มิ.ย. 2020 เวลา 11:00 • ปรัชญา
“การให้อภัยเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่” และที่สำคัญ
“ควรรู้จักให้อภัยคนอื่นบ้าง อย่าให้อภัยตัวเองเพียงอย่างเดียว”
 
บทความนี้ผู้เขียนได้ทำการรีวิวหนังสือพึ่งสุดท้าย ในตอนตามรอยพ่อ เขียนไว้โดยคุณศิริพงษ์ จันทน์หอม ซึ่งได้ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านตัวละครเกี่ยวกับพ่อคนหนึ่งที่สมัยวัยรุ่นเคยมีนิสัยใจร้อน วู่วามมาก่อน จนกระทั่งในวันนี้เมื่อได้มีครอบครัวและมีลูกชายที่ถอดแบบมาจากตนเมื่อครั้งก่อน
 
เรื่องราวดังต่อไปนี้มีความใกล้เคียงกับสังคมในปัจจุบันเกี่ยวกับความเลือดร้อนของกลุ่มเยาวชน แต่ทว่าผล
ที่เกิดขึ้นไม่เพียงแค่เจ็บตัว แต่มีเหตุรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต หัวอกคนเป็นพ่อเป็นแม่ คงทำใจยอมรับได้ยาก
ไม่ว่าลูกของตนจะเป็นผู้เสียชีวิตหรือเป็นฆาตกร
ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุสะเทือนใจทั้งสิ้น
จากเรื่องราวของตัวละครในหนังสือได้เล่าถึงความร้อนใจของผู้เป็นพ่อ ด้วยเหตุที่ลูกชายเป็นฆาตกร จึงได้มีความเป็นกังวล หากลูกของตนจะต้องติดคุกติดตาราง และด้วยความเป็นห่วงนั้นจึงได้คิดหาวิธีการในการจบปัญหา โดยการจ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้กับทางครอบครัวของผู้เสียชีวิต ความผิดพลาดของผู้เป็นพ่อ
คือ มัวแต่หาทางไม่ให้ลูกของตนติดคุก จนไม่ได้คิดถึงจิตใจของผู้อื่น ลืมคิดไปว่าทางพ่อแม่ของอีกฝ่ายจะเสียอกเสียใจแค่ใหนกับการสูญเลียลูกไปทั้งที่อายุยังน้อย
อีกทั้งเมื่อมองถึงสาเหตุที่แท้จริงของเรื่องนี้ ผู้เป็นพ่อมีส่วนผิดเช่นกันคือ ในวันที่ลูกได้กลับมาปรึกษามีปัญหานั้น พ่อมิได้กล่าวห้ามปรามหรือเตือนสติแต่อย่างใด
แต่กลับบอกให้ลูกนำปืนของตนไปเพื่อใช้ป้องกันตัว การที่เยาวชนยกพวกตีกันจนทำให้เกิดการเสียชีวิตนั้น จะโทษว่าเป็นความผิดของใครเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ หากผู้เป็นพ่อให้อภัยตนเองได้ในความผิดพลาดของการให้อาวุธปืน ก็ควรสามารถให้อภัยกับคู่กรณี หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องได้เช่นกัน
ครอบครัวมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการลดโอกาสในการเกิดความรุนแรงในสังคม การเติบโตมาภายใต้พื้นฐานของความรักความอบอุ่น การดูแลเอาใจใส่กัน พูดคุยสื่อสารกัน อาจสามารถช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้
 
และหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือ “หากลูกกระทำผิด ต้องให้เขายอมรับโทษตามความผิดนั้น”
👉”เพราะหากในวันนี้เราเลือกแก้ปัญหาผิดวิธี ...
มันก็ไม่สามารถที่จะนำไปสู่ปลายทางที่ถูกต้องได้”👈
อ้างอิงจาก หนังสือที่พึ่งสุดท้าย - ศิริพงษ์ จันทน์หอม
เครดิตรูปภาพจาก pixabay

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา