Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Simple Journey
•
ติดตาม
3 ก.ค. 2020 เวลา 12:00 • ธุรกิจ
Resilience as a Company Level เป็นอย่างไร ?
ในมุมมองของบริษัทแล้วสำคัญมากแค่ไหนน้ะ ? มีบทบาทยังไงบ้าง?
หลังจากที่เราเขียนเรื่อง Resilience ในเชิงของตัวเอง หรือ แบบ Individual ไปแล้วในบทความก่อนหน้านี้
เพื่อนๆสามารถตามไปอ่านได้ข้างล่างนี้เบย
blockdit.com
Simple Journey
Resilience คืออะไร ? แล้วเราจะนำมาปรับใช้ได้ยังไง ? คิดว่าถ้าเขียนเรื่องนี้ในเวลานี้น่าจะเหมาะสมที่สุด เพราะว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของ ธุรกิจ ของ การทำงานในบริษัทเองก็ค่อนข้างจากหน้ามือเป็นหลังมือ
คราวนี้เราจะมาลงลึกไปอีกระดับนึงของ Resilience ที่เป็นรูปแบบ Company น้ะ
อ่านเพลินได้ความรู้ พร้อมแล้ว ไปกันเลยยย !
ทำไม Resilience ในระดับบริษัทถึงสำคัญกับพนักงาน ?
- คือต้องบอกว่าบริษัทส่วนใหญ่ในตอนนี้เค้ามองเรื่อง Resilience เป็นสิ่งสำคัญน้ะ อะแต่ว่า บางทีพวกเค้าอาจมองในมุมว่าเรืองนี้จะทำได้ ต้องเป็นการฝึกจาก individual person
- แต่การที่จะทำให้พนักงานเข้าใจบทบาทของตัวเอง รวมถึงองค์กร ว่าพวกเค้าจะสามารถพัฒนาความ Resilience ยังไงให้สอดคล้องกับองค์กรเนี่ย มันก็ต้องเริ่มจากบริษัทเองที่สร้างไกด์ขึ้นมาให้พวกเค้า (นอกจากพวก เทรนนิ่งออนไลน์ หรือหาแหล่งความรู้ออนไลน์)
- สิ่งที่จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดคือ องค์กรสามารถคลายความเครียดในตัวพนักงานได้ดีขึ้น รวมถึงการฟื้นฟูประสิทธิภาพการทำงานในแผนกที่สำคัญ (Critical function)
- สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ช่วยให้บุคลากรเนี่ย ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาที่วิกฤตถาโถมได้ดีที่สุด (ไหนจะ Covid, Cold war, Economic disrupted, Global Supply chain stop, Inequalities เรื่องการเหยียดและความไม่เท่าเทียม โอยย เยอะไปหมดเลยหนาาา)
ความท้าทาย หรือุปสรรคของ Company Resilience อยู่ที่ไหนบ้าง ?
- ถ้าบริษัทของเพื่อนๆยังบริหารด้วยวิธีแบบเก่า Traditional management ละก็เจออุปสรรคแน่นอน
- ถ้าบริษัทของเพื่อนๆยังคงมองแต่ กำไรของ Shareholder หรือแม้แต่ราคาหุ้นของบริษัท และวัดผลแค่ตัวเลขละก็.....อึ๋ยยย
- การที่บริษัท focus แค่เพียง Short-term goal
- ระบบทุนนิยมแบบบริษัท (Corporate Capitalism) คือการที่อำนาจรวมถึงเงินทั้งหมดถือครองโดยผู้ถือหุ้นใหญ่เพียงไม่กี่ราย แบบนี้จะทำให้การเดินหน้าเรื่อง Resilience นั้น ห่างไกลมากๆๆ เพราะแบบนี้เค้าไม่ได้มองว่า employee เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การสร้าง Enterprise Resilience ควรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ?
1. Redundancy หรือความฟุ่มเฟือย
- ความฟุ่มเฟือยในที่นี้คือ การที่ใช้จ่ายในทรัพยากรที่ไม่จำเป็น หรือ เป็นสิ่งที่ให้ผลคล้ายกัน มันก็จะกลายเป็นว่า 1+1=1 (เอ งงไม๊งะ 555)
- เพราะงั้นถ้าบริษัทมองเห็นจุดนี้ได้ แล้วสามารถลดความฟุ่มเฟือย และนำไปใช้สำหรับเป้าหมายระยะยาวได้ ก็เจ๋งงเลยยย
2. Diversity หรือความหลากหลาย
- เน้นความหลากหลายทางผู้คนในองค์กร
- สายงานเช่น การตลาด ไม่จำเป็นต้องมองแค่คนที่จบการตลาดอย่างเดียว เพื่อสร้าง differentiate idea ให้กว้างขึ้น และแน่นอนว่า Resilience ก็จะเกิดได้ในหลากหลายรูปแบบเลยละ
3. Modularity
- คือการที่เราเข้าใจและยอมรับ หากมีพนักงานเกิดความผิดพลาด (fail) ขึ้นมา
- เข้าใจว่าหลายๆบริษัทมีการบริหารแบบ Micro-management (ซึ่งไม่ชอบเลยย) แต่ ควรจะ micro ในมุมที่เข้าใจพนักงาน และช่วยเหลือเวลาเค้าผิดพลาดในช่วงเวลาแบบนี้
4. Adaptability
- ซึ่งไม่ใช่แค่ Trial and error แต่คือ flexibility หรือความยืดหยุ่นที่มากที่สุดนั้นเอ
- จริงๆแล้ว การที่มีการวางแผน แล้ว experiment แล้ว feedback ในช่วงเวลานี้ คือการเตรียมตัวรับมือได้ดีที่สุด และแน่นอน Resilience ก็จะสร้างได้ไม่ยากก
5. Contingency
- ต่อจากข้อ 4 เลย คือ เราต้องเตรียมพร้อม มี contingency plan หรือ plan B ไว้ตลอดเวลา
- ลองคิดสถานการณ์ขึ้นมา อาจจะคล้ายๆ Covid โดยการเริ่มจาก scenario planning และ monitoring early warning signals หรือเตรียมพร้อมรับมือจากสัญญานเริ่มต้นของความไม่มั่นคง
6. Embeddedness หรือ การเชื่อมโยง
- การเชื่อมโยงใน company ก็เช่น ระบบ และงานของบริษัทต่างๆ Supply chain, ecosystem, economies, society, natural system เอาตรงๆทุกอย่างเชื่อมถึงกันหมดเลย สิ่งที่เกิดขึ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะกระทบกับอีกสิ่งหนึ่ง
- และด้วยที่พูดมาเหล่านี้ นี้คือ Lonf-term strategy ทั้งนั้นเลย คือ เราไม่ได้มอง short profit นะ แต่การวางแผนสิ่งเหล่านี้ ทำให้เราได้ long-term profit นี้เอง
Benefits ละ มีอะไรบ้างน้ะ ?
คือประโยชน์ของการ apply company Resilience คือการที่บริษัทจะสามารถรับรู้ได้ว่าตอนนี้ พนักงานรู้สึกอย่างไร อยู่ในขั้นไหนกัน ? และนี้สามารถทำให้เราช่วยให้พวกเค้าเกิด Resilience ได้ง่ายขึ้นเลยละ
เราขอใช้ภาพข้างล่างในการช่วยให้เพื่อนๆมองเห็นได้ด้วยนะ ไปดูกันเลยกับ 4 steps
1. Anticipation หรือเราจะเรียกว่า ระยะแห่งความคาดหวังที่สูง
- โดยระยะนี้ทำให้เราสามารถรับรู้ได้ถึงความคาดหวังของพนักงาน ต่อเหตุการณ์ที่เป็นวิกฤตเกิดขึ้น เช่น Covid
- ในระยะนี้ บุคลากรหลายๆคนอาจยังไม่ยอมรับความจริงด้วยซ้ำว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้น
2. Impact Gap
- หรือเราจะชอบเรียกช่วงนี้ว่า Shock periods นั้นเอง และช่วงกราฟที่ตกไปอยู่จุดที่ต่ำที่สุดของ performance เองนี้ละ ที่ต้องการภาวะ Resilience เข้ามาทำให้ผ่านไปได้ดีขึ้น
- ในภาวะนี้ พนักงานต้องเข้าใจและค่อยๆยอมรับเจ้าความเปลี่ยนแปลง หรือเหตุการณ์แย่ๆต่างมา โดยถ้าบริษัทให้การช่วยเหลือด้วยนี่ จะดีมากๆเลย
3. Recovery Gap
- ระยะนี้คือระยะฟื้นฟู หรือ การ rebound กลับมานั้นเองงง
- ถ้าในช่วงนี้ (กรกฏาคม ณ เวลาที่เขียนอยู่) ความรู้สึกของพนักงานกลับมาอยู่ช่วงนี้ได้นี้คือ ดีมากๆเลย
- ในเวลานี้คือเวลาที่เราจะสามารถดึง performance และ mental ของพนักงานกลับมาได้
4. Outcome
- หรือ Post shock period นั้นเองจ้า
- คือตอนนี้ทีมของเราอาจจะมีค่าพลัง Fit เพียงพอ และสามารถมีความ Resilience ได้อย่างดีเยี่ยม จนบางทีทำให้พวกเค้าปรับตัวได้เร็วจน performance อาจดีกว่า ระยะที่1 อีกนะ
สุดท้าย พูดถึงบริษัทองค์กร จะทำให้ Resilience Culture มันเกิดขึ้นได้ ทำยังไงบ้าง ?
สรุปสั้นๆในแบบของเรา คือ Resilience as a Company
- Mental model of business ตอนนี้บริษัทไม่ควรแค่ focus เรื่องของวัตถุนิยมหรือทุนนิยม ต้องหันมามองสภาพจิตใจกันด้วย
- การแก้ปัญหาเรื่อง Risk from human ได้ดีที่สุดก็คือ การที่ช่วยให้ทุกคนมีภาวะ Resilience ที่พร้อมนั้นเอง
- การสร้าง Business ecosystems ที่ดี เช่น collaboration หรือ team player เนี่ย จะทำให้การฝึก Resilience ในบริษัทเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Long-term goal เป็นเรื่องสำคัญมากๆ
- Flexibility และ Adaptation ที่เป็นหัวใจของการพัฒนา Individual Resilience ก็ยังคงเป็นหัวใจของรูปแบบบริษัทด้วยเช่นกัน
- จากกราฟ ต่อให้ทีมของเพื่อนๆเนี่ย พัฒนาจนถึงระยะที่ 4 แล้ว แต่อย่าลืมว่าพวกเค้ามีสิทธิที่จะกลับลงแอ่งกะทะ ในระยะที่ 2 ใหม่ได้ทุกเมื่อนะ ของแบบนี้มันต้องฝึกอย่างต่อเนื่อง :)
References:
https://hbr.org/2020/07/a-guide-to-building-a-more-resilient-business
https://hbr.org/2011/07/adaptability-the-new-competitive-advantage
https://www.bcg.com/publications/2020/resilience-more-important-than-efficiency.aspx
https://bcghendersoninstitute.com/fractal-strategy-2ce6898e9f13
https://www.bcg.com/publications/2017/globalization-strategy-reeves-levin-building-resilient-business-inspired-biology.aspx
https://www.bcg.com/en-us/publications/2020/8-ways-companies-can-shape-reality-post-covid-19.aspx
10 บันทึก
14
6
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
All About a Marketing World - มาเรียนรู้เกี่ยวกับการตลาดในทุกๆมุมมองกัน !
10
14
6
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย