Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เล่า
•
ติดตาม
11 ก.ค. 2020 เวลา 14:21 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจทำงานเหมือนเครื่องจักรธรรมดาๆ
แต่หลายๆ คนไม่เข้าใจ หรือไม่เชื่อว่าทำงานเหมือนเครื่องจักร
และนี่เป็นสาเหตุที่นำไปสู่ "หายนะทางเศรษฐกิจ" ในหลายๆ ครั้ง
นักศึกษา: พี่ครับ ช่วงนี้ผมเห็นข่าวหุ้นขึ้นลง ผันผวนมาก จนผมเริ่มสงสัยขึ้นแล้วว่า ระบบเศรษฐกิจนี้มันทำงานยังไงหรอครับ
นักเศรษฐศาสตร์: น่าสนใจมากครับ อยากที่เราเห็นในข่าวเช่น ตลาดหุ้นขึ้นลง ผันผวนไปมา จนอาจทำให้เรารู้สึกว่าการทำงานของเศรษฐกิจมันอาจดูซับซ้อน เข้าใจยาก
แต่รู้ไหมจริงๆ แล้วมันสามารถอธิบายได้เหมือนกับการทำงานของเครื่องจักรธรรมดาๆ ซึ่งเกิดจากเฟืองขนาดใหญ่ไม่กี่ชิ้น กับการแลกเปลี่ยน (Transactions) จำนวนมาก ที่ทำงานซ้ำๆ เป็นล้านๆครั้ง
นักศึกษา: มันเป็นยังไงหรอครับพี่
นักเศรษฐศาสตร์: เรามาดูรูปด้านล่างนี้กันนะครับ
ในรูปเราจะสังเกตเห็นเฟืองใหญ่ๆ อยู่ 3 เฟือง เมื่อเราซูมดูใกล้ๆ จะเห็นคน 2 คนกำลังทำการแลกเปลี่ยนกัน
แน่นอนการแลกเปลี่ยน (Transactions) นั้นถูกขับเคลื่อนโดยพฤติกรรมธรรมชาติของมนุษย์ (Human Nature)
เหล่าฟันเฟืองนี้จะถูกขับเคลื่อนให้หมุนช้าลง หรือเร็วขึ้นด้วยเครื่องยนต์ที่ประกอบด้วย
เครื่องยนต์ที่ 1: การเติบโตของกำลังการผลิต (Productivity Growth)
เครื่องยนต์ที่ 2: วงจรหนี้สินระยะสั้น (Short-term Debt Cycle)
เครื่องยนต์ที่ 3: วงจรหนี้สินระยะยาว (Long-term Debt Cycle)
ถ้าเราเอาเครื่องยนต์ทั้ง 3 ตัวนี้มาประกอบกัน จะได้ตามรูปด้านล่างนี้
นักศึกษา: เดี๋ยวนะครับ พี่กำลังบอกว่าด้วยพฤติกรรมธรรมชาติของมนุษย์มักมีการแลกเปลี่ยนกันอยู่แล้ว และสิ่งนี้คือจุดกำเนิดของเศรษฐกิจ
แล้วอย่างนี้ การแลกเปลี่ยน ที่เกิดขึ้นมันมีส่วนประกอบอะไรบ้างครับ
นักเศรษฐศาสตร์: เข้าประเด็นได้ดีมากครับ งั้นเรามาเริ่มต้นด้วยส่วนที่เข้าใจง่ายที่สุดในระบบเศรษฐกิจ นั้นก็คือการแลกเปลี่ยน
เศรษฐกิจ คือผลรวมของ การแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นทั้งหมด
การแลกเปลี่ยน เป็นสิ่งที่เข้าใจง่ายมาก เราสร้างการแลกเปลี่ยนตลอดเวลา
ทุกครั้งที่เราซื้อของ เราทำให้เกิด การแลกเปลี่ยน
ในทุกการแลกเปลี่ยน ประกอบไปด้วย
"ผู้ซื้อ (Buyer)" แลกเปลี่ยน "เงินสด" หรือ "เครดิต" กับ "ผู้ขาย (Seller)" ที่แลกเปลี่ยนกลับไปด้วย สินค้า บริการ หรือ สินทรัพย์ทางการเงิน
ดังนั้น การใช้จ่ายด้วยเงินสด + การใช้จ่ายด้วยเครดิต = การใช้จ่ายทั้งหมด
และการใช้จ่ายทั้งหมดนี้แหละ เป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ
นักศึกษา: แล้วอะไรเป็นตัวตั้งราคาละครับ
นักเศรษฐศาสตร์: ถ้าเราหาร การใช้จ่ายทั้งหมด กับ จำนวนขายทั้งหมด = เราจะพบ "ราคา"
ทั้งหมดนี่คือ "การแลกเปลี่ยน" ซึ่งเป็นกลไกพื้นฐานของเครื่องจักรเศรษฐกิจ
นักศึกษา: อ่อ ผมเข้าใจแล้วครับ ว่าในทุกๆ วงจรทางเศรษฐกิจ และเครื่องยนต์ต่างๆ ล้วนถูกขับเคลื่อนมาจาก การแลกเปลี่ยน แบบนี้นี่เอง
นักเศรษฐศาสตร์: ใช่แล้วละ และ "ตลาด" ก็จะประกอบไปด้วย ผู้ซื้อ และ ผู้ขาย จำนวนมากที่แลกเปลี่ยนสินค้าชนิดเดียวกัน เช่น ตลาดหุ้น, ตลาดรถยนต์ หรือเป็นตลาดอื่นๆ
โดยระบบเศรษฐกิจประกอบไปด้วยการแลกเปลี่ยนจากตลาดต่างๆ หากเรานำ "การใช้จ่ายทั้งหมด" หารด้วย "จำนวนการขายทั้งหมด" ของทุกตลาด นั่นคือทั้งหมดที่เราต้องรู้ เพื่อเข้าใจเศรษฐกิจ
นักศึกษา: แล้วข่าวที่เขาประกาศเรื่องการพิมพ์เงินของแต่ละประเทศ และการอุ้มหนี้ต่างๆ นี้มันคืออะไรหรอครับ
นักเศรษฐศาสตร์: เมื่อเราเข้าใจการแลกเปลี่ยนตรงนี้แล้ว เรามาดูผู้เล่นกันบ้าง
ในขณะที่เราจับจ่ายใช้สอยกัน เราจัดเป็นหนึ่งในภาคครัวเรือนเท่านั้น มันยังมีภาคธุรกิจ, ภาคธนาคาร และภาครัฐอีก
ทุกภาคส่วนนี้ก็มีการแลกเปลี่ยนกัน ทั้งเงินสดและเครดิต กับ สินค้า บริการ และสินทรัพย์ทางการเงิน
ดังนั้นเมื่อดูผู้เล่นหลักๆ แล้ว เราจะรู้ว่า "ผู้ซื้อ" และ "ผู้ขาย" ที่ใหญ่ที่สุดคือ "ภาครัฐ" โดยภาครัฐจะประกอบด้วย 2 ผู้เล่นหลัก...
1. รัฐบาล ซึ่งดูแลการจัดเก็บภาษี และการใช้จ่ายภาครัฐ
2. ธนาคารกลาง ซึ่งแตกต่างจากผู้ซื้อ และผู้ขาย เพราะเป็นผู้ควบคุมปริมาณ เงินสดและเครดิต ในระบบเศรษฐกิจ
นักศึกษา: เดี๋ยวนะครับ ธนาคารกลาง เขามีวิธีควบคุมได้ด้วยหรอครับ
นักเศรษฐศาสตร์: ใช่แล้วละ เขาควบคุมปริมาณเงิน โดยการปรับดอกเบี้ย และการพิมพ์เงินใหม่ (ตัวอย่างเช่น พิมพ์เงินใหม่ส่งไปยังกลไกของพันธบัตร) ยังไงละ
อีกอย่างด้วยเครื่องมือสองอย่างนี้ ธนาคารกลางจึงมีบทบาทในวงจรเครดิตด้วยนะ
2
นักศึกษา: ผมสังเกตเห็นพี่บอกเกี่ยวกับ เครดิต หลายครั้งแล้ว จริงๆ แล้วเครดิตที่พี่หมายถึงคืออะไรหรอครับ
3
นักเศรษฐศาสตร์: เครดิต เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของ เศรษฐกิจ อย่างหนึ่งเลยละ และเป็นสิ่งที่น้อยคนจะเข้าใจด้วย
มันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะ มันมี "ปริมาณที่ใหญ่ที่สุด" และ "เปราะบางที่สุด" ในระบบเศรษฐกิจ
ตัวอย่างเช่น การแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจาก ผู้ซื้อ และ ผู้ขาย ที่เข้าไปยังตลาดต่างๆ เพื่อสร้างการแลกเปลี่ยน ซึ่งก็คล้ายกับที่ ผู้ปล่อยกู้ (Lender) กับ ผู้ขอกู้ (Borrower) เขาต้องการทำการแลกเปลี่ยนกัน
โดยที่ ผู้ปล่อยกู้ ต้องการสร้างกำไรเพิ่มเติมจากเงินที่ปล่อยกู้ไป
และผู้ขอกู้ ต้องการซื้อบางอย่างที่พวกเขามีเงินสดไม่พอ เช่น บ้าน รถ หรือลงทุนเปิดกิจการ
1
เครดิต ช่วยให้ทั้ง ผู้ปล่อยกู้ และผู้กู้ ได้รับสิ่งที่ต้องการ
โดยที่ ผู้ขอกู้ จะมีภาระผูกผันในการจ่ายคืนเงินต้น (Principal) + ดอกเบี้ย (Interest)
เมื่อผู้ขอกู้ สัญญาว่าจะคืนเงิน แล้วผู้ปล่อยกู้ยินยอมให้เงินกู้ "เครดิต" ก็จะถูกสร้างขึ้น ฟังเหมือนง่าย แต่ผู้คนอาจสับสน เพราะ เครดิต จะเปลี่ยนชื่อเรียกไปตามสถานะต่างๆ
เมื่อเกิด เครดิตขึ้น (มีการตกลงให้ยืมเงิน) เครดิตจะถูกเปลี่ยนสถานะเป็น "หนี้" (Debt)
นักศึกษา: แล้วทำไมเครดิตถึงสำคัญละครับ
นักเศรษฐศาสตร์: เพราะว่าเมื่อผู้ขอกู้ได้รับเครดิต "เขาจะสามารถใช้จ่ายได้มากขึ้น" และยังจำได้ไหมว่า "การใช้จ่าย ขับเคลื่อน เศรษฐกิจ"
มันเป็นเพราะว่า "การใช้จ่ายของหนึ่งคน คือรายได้ของอีกคน"
จำนวนเงินที่ผู้ซื้อใช้จ่าย คือ จำนวนเงินที่ผู้ขายได้รับ
จำนวนที่เราได้รับ ก็คือ จำนวนเงินที่คนอื่นใช้จ่าย
ดังนั้นเมื่อมีการใช้จ่ายมากขึ้น ก็จะมีรายรับมากขึ้นเช่นกัน
เมื่อผู้ขอกู้ มีรายรับมากขึ้น ผู้ปล่อยกู้ ก็อยากจะปล่อยกู้ให้มากขึ้น
ผู้ขอกู้เกิดความสามารถในการจ่ายเงิน ความสามารถนี้คือการเปลี่ยนจาก หนี้ ให้เป็น รายได้ที่เพิ่มมากขึ้น
และอีกอย่างสามารถสร้างทรัพย์สินขึ้นระหว่างนั้นได้ด้วย ทำให้เกิดหลักค้ำประกัน ที่จะทำให้ผู้ปล่อยกู้วางใจที่จะให้กู้ โอกาสปล่อยกู้ก็ยิ่งสูงขึ้น
ดังนั้น การเติบโตของรายได้ -> ทำให้เกิดการเติบโตของการกู้ยืม -> ซึ่งทำให้เกิดการเติบโตของการใช้จ่าย
และเมื่อ "การใช้จ่ายของหนึ่งคน คือรายได้ของอีกคน" มันจึงนำไปสู่การกู้ยืมที่มากขึ้น และมากขึ้นเรื่อยๆ
รูปแบบนี้จึง สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ และเป็นข้อสังเกตให้เห็นถึง วงจร ทางเศรษฐกิจ
ด้วยวงจรเศรษฐกิจนี้แหละจึงทำให้เราเห็นการผันผวนขึ้นลงของตลาดต่างๆ
ถึงตรงนี้ จึง "เล่า" ให้เกิดคำถามขึ้นว่าปัจจุบันนี้เราอยู่ในช่วงไหนของวงจรเศรษฐกิจ
และตั้งข้อสังเกตว่าตอนนี้มีกิจกรรมใดบ้างที่ก่อให้เกิดการเพิ่มกำลังการผลิตหรือ Productivity เพื่อผลักดันให้ระบบเดินหน้าต่อไปได้
เศรษฐกิจจะฟื้นขึ้นมาได้ด้วยความหวังในรูปแบบใด
ความคิด ทักษะ การเรียนรู้ และความเข้าใจ จะนำพาเราไปสู่เส้นทางที่ปลอดภัย
ข้อมูลบางส่วนจาก:
-
https://youtu.be/PHe0bXAIuk0
20 บันทึก
21
7
20
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อนาคต กับ เรื่อง "เล่า"
20
21
7
20
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย