Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เล่า
•
ติดตาม
30 ส.ค. 2020 เวลา 14:23 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจโลกผันผวน บริษัท และธุรกิจต่างๆ ต่างพากันปรับเปลี่ยนแผนกันแทบทุกสัปดาห์ หรือรายวัน
แล้วอย่างงี้เราควรทำยังไงดี
"เล่า" ชวนย้อนกลับมาพักความคิด และค่อยๆ ทำความเข้าใจกับระบบเศรษฐกิจกันอีกครั้ง
อย่างน้อยให้การทบทวนนี้เป็นตัวช่วยให้เราตัดสินใจอย่างปลอดภัยมากขึ้น
นักศึกษา: พี่ครับผมอยากมาคุยกันต่อในกราฟสุดท้ายที่พี่ทิ้งท้ายไว้
เรา "เล่า" กันถึงที่ว่า ในการแลกเปลี่ยน เราต้องให้บางอย่าง เพื่อได้รับบางอย่าง
ดังนั้น จำนวนที่เราจะได้รับ จะขึ้นอยู่กับจำนวนที่เราผลิตเพียงเท่านั้น
ถ้าเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ความรู้ที่เรามีเพิ่มพูลมากขึ้น ส่งผลให้เราก็มีประสิทธิภาพมากขึ้น สิ่งที่จะตามมาคือความเป็นอยู่ และการดำรงชีวิตของเราดีขึ้น (Productivity Growth)
นักเศรษฐศาสตร์: ใช่แล้วละ คนที่สามารถคิดค้นสิ่งใหม่ๆ (Technology หรือ Innovation) หรือ คนทำงานหนัก (Hard-working) มักจะสามารถเพิ่มกำลังการผลิต และ พัฒนาความเป็นอยู่ได้ไว
แต่ในระยะสั้น มันไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นไปตามนั้นเสมอไป
นักศึกษา: ทำไมละครับ
นักเศรษฐศาสตร์: เพราะว่าสิ่งที่ส่งผลกระทบในระยะสั้น ก็คือการมี เครดิต ส่วนการเติบโตของกำลังการผลิตนั้นมักจะส่งผลกระทบในระยะยาวมากกว่า
เราลองสังเกตดูที่กราฟอีกครั้งนึงนะ เราจะเห็นว่า หนี้สิน (=เครดิต) ทำให้เราใช้จ่ายได้ มากกว่า การผลิต ในตอนที่เราอยากใช้จ่าย
และบังคับให้เราใช้จ่าย น้อยกว่า การผลิต ในตอนที่เราต้องจ่ายหนี้คืน นี้คือวัฏจักรที่ดี ทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้รวดเร็วขึ้น
นักศึกษา: พี่ครับ ในกราฟผมสังเกตเห็นเส้นขึ้นลงไปมา 2 เส้น ตรงนี้หมายถึงอะไรหรอครับ
นักเศรษฐศาสตร์: ในกราฟนี้สื่อถึง วงจรหนี้ ซึ่งจะมีรูปแบบอยู่ 2 วงจรหลักๆ
วงจรแรก: ใช้เวลา 5 - 8 ปี และ
วงจรสอง: ใช้เวลา 75 - 100 ปี
นักศึกษา: ถ้ากราฟเป็นกราฟขึ้นลงแบบนี้จริง ทำไม ผมอ่านข่าวทีไรก็มักเจอว่าตอนนี้หุ้นตัวนี้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว หรือผ่านจุดต่ำสุดแล้วตลอดเลยละครับ
นักเศรษฐศาสตร์: ถ้าเราเริ่มศึกษา หรือสนใจในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เรามักจะไม่สามารถเห็นเป็น วงจร แบบนี้ได้ เนื่องจากให้ความสนใจกับภาพที่เล็กเกินไป เช่น วันต่อวัน อาทิตย์ต่ออาทิตย์
ในตอนนี้เราจะลองย้อนกลับมาดูภาพกว้าง เพื่อทำความเข้าใจกับ 3 เครื่องยนต์ และความเชื่อมโยง กับสิ่งที่เราเห็นในชีวิตจริงกัน
นักศึกษา: ได้ครับพี่
นักเศรษฐศาสตร์: อย่างที่พี่ "เล่า" ไปว่า การขึ้นลงของเศรษฐกิจ บางครั้งไม่ได้เกิดจากความสามารถในการคิดค้นใหม่ หรือความขยันที่เพิ่มขึ้นในการผลิต
การขึ้นลงนี้มักขึ้นอยู่กับ "ปริมาณเครดิต" ที่หมุนอยู่ในเศรษฐกิจ
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เรามาลองนึกภาพระหว่างเศรษฐกิจที่ไม่มีเครดิต กับการมีอยู่ของระบบเครดิตกันดู
ในรูปแบบของเศรษฐกิจที่ไม่มีเครดิต วิธีการเดียวที่จะขยายการใช้จ่ายได้ จำเป็นต้องเพิ่มฐานรายได้
ซึ่งจะเพิ่มฐานรายได้ได้ต่อเมื่อต้องมีการ ขยายกำลังการผลิต (Productivity) หรือ ทำงานมากขึ้น
ดังนั้นก็จะเห็นว่า "การเติบโตของกำลังการผลิต เป็นทางเดียวที่จะทำให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจ"
และเป็นยังไงต่อรู้ไหม
นักศึกษา: ถ้ามีการใช้จ่ายมากขึ้นของหนึ่งคน คือรายได้ของอีกคน ก็แสดงว่า การเติบโตของเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นได้ เมื่อทุกคน สามารถผลิตได้มากขึ้น หรือเปล่าครับ
นักเศรษฐศาสตร์: ใช่แล้วครับ หากเศรษฐกิจสามารถคงการเติบโตของกำลังการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง เราก็เห็นการเติบโตของเศรษฐกิจ เป็นไปตามรูปนี้
แต่ถ้าเรามีการกู้ยืม (เกิดเครดิตขึ้น) เศรษฐกิจเลยเกิดเป็นวงจร หรือวัฏจักรขึ้น
ซึ่งไม่ได้เกิดจากผลทางกฎหมาย หรือนโยบาย แต่อาจเกิดขึ้นได้จาก พฤติกรรมธรรมชาติของมนุษย์ (Human Nature) และกลไกการทำงานของเครดิตเอง
การใช้จ่ายบางอย่างที่ผู้ซื้อจำเป็นต้องจ่ายมากกว่าความสามารถในการผลิตในวันนี้ ผู้ซื้อเลยจำเป็นต้องยืมรายได้ในอนาคตมาใช้ก่อน
พอทำเช่นนั้น ผู้ซื้อก็ได้สร้างข้อผูกมัดในอนาคต ว่าจะใช้จ่ายลดลง เพื่อที่จะจ่ายหนี้ก้อนนั้นคืน
นี้จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เราเห็นภาพง่ายๆ ในการเกิดขึ้นของ วงจรหรือวัฏจักรทางเศรษฐกิจ
นักศึกษา: งั้นโดยสรุปแล้ว เมื่อมีการกู้ยืมเกิดขึ้น วัฏจักรเศรษฐกิจก็มักจะเกิดขึ้นด้วย
นักเศรษฐศาสตร์: จะว่าแบบนั้นก็ได้ครับ และนี่ก็คือเหตุผลว่าทำไม เราจำเป็นต้องเข้าใจคำว่า เครดิต ให้กว้างมากขึ้น
เพราะมันคือองค์ประกอบที่สำคัญของกลไกที่มีรูปแบบเพื่อคาดเดาสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
นักศึกษา: งั้น เครดิต ก็มีความแตกต่างกับ เงินสด อยู่บ้างสินะครับ
นักเศรษฐศาสตร์: ใช่แล้วครับ เงินสด คือสิ่งที่เราใช้ในการชำระ การแลกเปลี่ยน อย่างเช่น
เวลาเราไปซื้อเบียร์จากร้านด้วยเงินสด การแลกเปลี่ยนนั้นจะถูกชำระ โดยทันที (ไม่มีภาระผูกพัน)
แต่ถ้าเราซื้อเบียร์ด้วย เครดิต มันก็เหมือนกับเรา ขอดื่มก่อนค่อยจ่ายทีหลัง
ตอนนี้แหละที่เราพึ่งสร้าง เครดิต ที่เกิดขึ้นจาก อากาศ
นักศึกษา: งั้น เครดิต นี้จะหายไปจนกว่าผมจะจ่ายเงินสดให้กับที่ร้าน
นักเศรษฐศาสตร์: ใช่แล้วละ
เอาละที่นี้เรากลับมาย้อนดูว่า เศรษฐกิจที่ไม่มีเครดิต -> การเติบโตของการใช้จ่าย จะเกิดขึ้นเมื่อมีการผลิตเพิ่มขึ้นเท่านั้น
แต่ในตอนนี้เศรษฐกิจที่มีเครดิต เราสามารถเพิ่มการใช้จ่ายด้วยการกู้ยืมเพิ่มขึ้นได้
ด้วยกลไกนี้ เศรษฐกิจที่มีเครดิต จะสามารถใช้จ่ายได้มากกว่า และขยายรายได้ได้มากกว่ากำลังการผลิตที่แท้จริง ในระยะสั้น
แต่ไม่ใช่ในระยะยาว เพราะจะมีช่วงที่ต้องชำระคืน
นักศึกษา: ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไปก็แย่สิครับ มันก็เหมือนเราไม่ได้ไปไหน
นักเศรษฐศาสตร์: อย่าพึ่งคิดว่าแย่ครับ มันจะแย่หรือน่ากลัว ในกรณีที่มันถูกใช้มากจนเกินไป "จนไม่สามารถจ่ายคืนได้"
ในทางกลับกัน มันจะมีประโยชน์มากๆ หากใช้เพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติม หรือให้มีความสามารถมากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น หากเรายืมเงินมาเพื่อซื้อทีวีแพงๆ มันอาจไม่ได้ช่วยสร้างรายได้ให้มากขึ้นเพื่อจ่ายหนี้ได้ ถ้าเรามีอาชีพเป็นเกษตรกร
ถ้ากลับกันสมมติว่าเหตุผลที่เรายืมเงินมาซื้อครั้งนี้เป็น รถแทรคเตอร์ แล้วนำรถแทรคเตอร์นั้นช่วยให้เราสร้างผลิตผลที่มากขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น และกำไรเพิ่มมากขึ้นด้วย
ด้วยเหตุผลนี้เราก็จะสามารถจ่ายหนี้ได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เพราะเมื่อไม่มีหนี้นี้แล้ว เราจะมีฐานรายได้สูงขึ้น
ดังนั้นในเศรษฐกิจที่มีเครดิต เราต้องติดตามการแลกเปลี่ยน และมีความสามารถในการนำเครดิตไปส่งเสริมการเติบโต
นักศึกษา: งั้นสมมติว่า ผมมีรายได้ 100,000 บาทต่อปี และไม่มีหนี้ จากการทำงานประจำ
ผมไปขอกู้ด้วยการมีรายได้ประจำจากการทำงาน ทีนี้ถ้าผมกู้ได้ 10,000 บาท จากบัตรเครดิต
ผมก็สามารถใช้จ่ายได้ 110,000 บาทในปีนี้
และด้วยวิธีการนี้ ผมใช้จ่ายไป -> มันจะกลายเป็นรายได้ของอีกคน ดังนั้นตอนนี้จะมีใครบางคนที่จะมีรายได้เป็น 110,000 บาท จากผม
นักเศรษฐศาตร์: ใช่แล้วละ ทำนองเดียวกัน ใครบางคนที่เราว่านั้นจะมีรายได้ 110,000 บาท และถ้าเขาไม่มีหนี้ เขาก็อาจจะสามารถขอกู้เพิ่มได้จากฐานรายได้ 110,000 บาท
อาจกลายเป็น กู้ได้ที่ 11,000 บาท ดังนั้นผลรวมที่ได้คือ เขาก็จะสามารถใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้นเป็น 121,000 บาทต่อปี
ลองจิตนาการว่าการใช้จ่ายของหนึ่งคน คือรายได้ของอีกคน เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ เราจะเริ่มเห็นกลไกการทำงาน ในรูปแบบส่งเสริมให้เกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นักศึกษา: และสุดท้าย การกู้ยืมนี้ก็จะทำให้เกิดเป็นวัฏจักรที่ต้องมีการชำระหนี้เกิดขึ้น
นักเศรษฐศาสตร์: ใช่ เมื่อวงจรขาขึ้นเกิดขึ้นด้วยวิธีนี้ สักวันหนึ่ง วงจรขาลงก็จะเกิดขึ้นเช่นกัน
และจะนำเราไปสู่กลไกการควบคุมที่เกิดขึ้นของ ภาครัฐ ที่ไม่ให้เกิดการเพิ่มขึ้นและลดลงอย่างรุนแรงเกินไป
ปัจจุบันด้วยเทคโนยีที่มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นกว่าสมัยก่อน ทำให้การเข้าถึงของผู้คนเชื่อมโยงกันมากขึ้น
ความต้องการของแต่ละคนก็เริ่มแตกต่างกัน และปรากฎชัดเจนมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
บางครั้งธุรกิจที่เน้นการผลิตแบบมากๆ (Mass Production) ก็ไม่อาจตอบสนองต่อความต้องการ และพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ในสมัยนี้
คู่แข่งเราก็มักจะมีข้อมูลใหม่ๆ การวิเคราะห์ หรือสมมติฐานทางธุรกิจมากมายที่อาจเป็นไปได้
จนบางธุรกิจจึงหันไปเน้นที่ความเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มลูกค้า (Segmentation) เพื่อปรับเปลี่ยนบริบทของธุรกิจ และก่อให้เกิดเป็นธุรกิจ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขึ้นมา
"เล่า" นี้แสดงให้เห็นถึงอีกมุมนึงของคำว่า Productivity ที่ไม่ได้มีแค่มุมมองแบบ Mass Production เพียงด้านเดียว โดยเพิ่มมุมมองเป็น
Productivity ที่สร้าง Innovation ที่ตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มลูกค้า (Segmentation) ได้มากเท่าไหร่ สิ่งนั้นก็เป็นหนึ่งในหัวใจของ Productivity ด้วย
หรืออาจมองเป็นมุมมองของการกระจายความเสี่ยงบนธุรกิจ หรือผลิตภัณฑ์ ที่จะทำให้ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นมีความทนทาน และแข็งแรง (Industrial Robustness) ต่อการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น
เรียนรู้ และทำความเข้าใจกับคลื่นการเปลี่ยนแปลง (Wave of Innovations) ทั้งในอดีตและปัจจุบัน อ่านต่อได้เลยที่:
https://www.blockdit.com/articles/5ebfac6084824e0cce9360b9
แม้โลกกำลังจะเปลี่ยนไป ก็ยังมีสิ่งหนึ่งที่ยังคงไม่เปลี่ยนนั้นก็คือ ความต้องการของมนุษย์ เพื่อเข้าใจถึงความต้องการมนุษย์ในด้านต่างๆ มากขึ้น ติดตามต่อได้เลยที่:
https://www.blockdit.com/articles/5ec2811848fec807da33ffff
ข้อมูลบางส่วนจาก:
-
https://youtu.be/PHe0bXAIuk0
4 บันทึก
5
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อนาคต กับ เรื่อง "เล่า"
4
5
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย