Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องของลุง..ทัฟฟี่
•
ติดตาม
11 ก.ค. 2020 เวลา 06:22 • ไลฟ์สไตล์
#ช่วงนึงของ...ชีวิตใน"ผ้าเหลือง"...ep.2
"กิน นอน สวดมนต์...."
เมื่อวานเล่าเรื่อง การแต่งตัวของพระไปแล้ว วันนี้ก็จะเล่าต่อเรื่องของ การกิน นอน และก็การสวดมนต์นะ
กิน....แต่พอเป็นพระ จะใช้คำว่า "ฉัน"
.
.
'ฉัน'... บ่ ใด๋หมายถึง ไอ ( i ) ,หรือสรรพนามเรียกตัวเองนะ แต่เป็นศัพท์ที่ใช้กับพระภิกษุ
พระบวชใหม่ ๆ จะต้องทำความเข้าใจกับศัพท์ของพระ กันหลายคำเลยทีเดียว เช่น....
- ส่งของให้พระ ใช้ว่า ประเคน
- อาหาร ใช้ว่า ภัตตาหาร
- จดหมาย ใช้ว่า ลิขิต
- กิน ใช้ว่า ฉัน
- นอน ใช้ว่า จำวัด
- อาบน้ำ ใช้ว่า สรงน้ำ
- สวดมนต์ ใช้ว่า เจริญพระพุทธมนต์
- เงิน ใช้ว่า ปัจจัย
- ที่อยู่ ใช้ว่า กุฏิ
- ที่นั่ง ใช้ว่า อาสนะ
- ป่วย ใช้ว่า อาพาธ
- ตาย ใช้ว่า มรณภาพ
วันนี้มาว่ากันเรื่อง "ฉัน"
ศีลข้อ 6 "วิกาลโภชนา เวรมณี"
คือเว้น จากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือตั้งแต่เที่ยง แล้วไปจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่
เรื่องการฉันอาหาร อย่างที่รู้อ่ะนะ ว่าพระฉันเพียงแค่ 2 มื้อ ในสมัยพุทธกาลมีการฉันเพียงแค่มื้อเดียวด้วยซ้ำ สิ่งนี้คือการป้องกันทางพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ชัดเจนในพระสูตร ว่าทรงเห็นผลดีของการฉันน้อยที่ทำให้สุขภาพดี ไม่อึดอัดร่างกาย สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติ
บางคนสงสัย ทำไมต้องห้าม แล้วพระจะไม่หิวหรอ ทำไมต้องทรมารทนหิว กินน้อย ๆ ร่างกาย จะอ่อนแอไหม ???
จากที่สอบถามและอ่าน ศึกษามา ได้ใจความ สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ คือ....
พระภิกษุ ไม่สามารถปรุงอาหาร หรือ ทำอาหารกินเองได้ (ตั้งเตาผัดกะเพรา ทอดไข่ไม่ได้นะจ้ะ)
พระภิกษุ หาเลี้ยงชีพโดยการขออาหารจากชาวบ้านเพื่อดำรงค์ชีวิต การกินอาหารมื้อเดียว หรือ สองมื้อ ก็เพียงพอต่อการดำรงค์ชีวิตแล้ว การงดมื้อเย็นเพื่อไม่ให้ต้องเป็นที่รบกวนชาวบ้านให้มากจนเกินไป ที่จะต้องแสวงหาอาหารมาถวายพระ
อีกทั้งข้อปฏิบัตินี้ ยังช่วยคลายความยึดติดในเรื่องอาหาร ซึ่งถ้าเราทำได้ก็จะเป็นผลดีต่อการปฏิบัติธรรม เช่น กินน้อยทำให้ไม่ง่วง กินง่ายอยู่ง่าย ไม่ถูกกระตุ้นด้วยรสชาติของอาหาร เรียกว่ากินเพียงเพื่อดำรงค์ชีพนั้นเอง
ทำไมพระหลายรูปอ้วน ???
.
โยมถาม : เออ...หลวงพี่ฉันมื้อเดียวแต่ทำไม อ้วนอ่ะ ????
หลวงพี่ตอบ : เอิ่มมม....ที่หลวงพี่อ้วนเพราะโยมนั้นแหระ โยมมาถวายอาหารกันเยอะแยะ หลวงพี่เลยฉันเยอะ ก็เพราะกลัวโยมๆ จะเสียน้ำใจน่ะ.....
55555 เจอแบบนี้บอกเลยข้ออ้างหลวงพี่
‘พระไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธในอาหารที่บิณฑบาต แต่พระมีสิทธิ์ในการควบคุมปริมาณในการฉันให้พอเหมาะพอดี’ ....เข้าใจนะจ๊ะ
มีอีกอย่างที่คนสงสัยกันเยอะว่า เลยเที่ยงแล้วเนี้ย หมายถึงพระห้ามกินเลยหรอ พอดีเกิดรถติดไปถึงวัดช้า เลยถวายสะ 11โมงกว่า ถ้าเกิดกำลังฉัน ยังไม่อิ่ม จะเลยเที่ยงแล้วทำไง พระต้องเลิกเลยหรือป่าว ?
55555 ไม่ถึงขนาดน้านนน ฉันได้ พระฉันอยู่ยังไม่อิ่ม เลยเที่ยงแล้วก็ยังฉันต่อจนอิ่มได้ แต่ถ้าอิ่มหรือลุกแล้ว จะมีโยมมาถวายอีก จะกลับมาฉันอีกไม่ได้แล้วนะ ถือว่าหมดมื้อไปแล้ว รับงานฉันเพลบ้านนี้ ฉันเสร็จยังไม่เที่ยงจะ ไปฉันต่ออีกงาน(กะรับซองเบิ้ล) ก็ไม่ได้นะ ผิดๆ
เรื่องฉันเพล 2 บ้านเนี๊ย เคยมีเหตุทะเลาะกันแล้วในสมัยพุทธกาล (ไว้มีโอกาสจะเล่าให้ฟัง)
เรื่องน้ำปานะอีกเรื่อง อะไรกินได้ กินไม่ได้
เถียงกันเยอะ อันนี้แล้วแต่วัด แล้วแต่สำนักก็แล้วกัน เคร่งมาก เคร่งน้อย
อีกเรื่องนึงที่ที่เกี่ยวกับการฉันคือ"ช้อน"
เวลาฉันรวม เค้าจะแจกช้อนให้รูปละ 2 คันนะ เป็นช้อนสั้น หรือช้อนตักแกงอ่ะ ไม่มีหรอกช้อนกับส้อม อ้าววว ให้มาทำไมตั้ง 2คัน
.
พระใหม่ ก้อ งง เด้ !!!!!
สาเหตุคือ เวลาฉัน ญาติโยมจะเอาอาหารมาถวายเยอะไง บิณฑบาตมาวันนึงก็ 20-30อย่าง
ยิ่งวันพระเนี้ย ญาติโยมจะมาถวายที่วัด
ยิ่งเยอะ บางวันเกือบร้อยอย่าง
เลยต้องใช้ ช้อน สองคัน
คันนึงก็เลยมีไว้ตักอาหารแทนช้อนกลาง แล้วก็พ่วงตำแหน่ง ช้อนซ้อมไปในตัว
อีกคันก็เอาไว้ตักเข้าปากตามปกติ
แรก ๆ ก็ งง ๆ อยู่เหมือนกันนะ สลับกันมั่ว เอาช้อนตักเข้าปากไปตักแกง ก็โดนพระเก่าเค้าเหล่เอาตามระเบียบ
เวลาฉันเช้า เป็นมื้อที่อบอุ่นมากกก
ฉันมื้อแรก ๆ เนี้ย พระใหม่ฉันแบบสำรวมมาก เนิบ ๆ ค่อย ๆ ตัก ค่อย ๆ เคี๊ยว กลัวโดนดุว่าไม่สำรวม
.
ที่ไหนด๊ายยย !!!!
โห้ววว...พวกหลวงลุง หลวงตาเนี้ย ฉันกันเร็วมาก เรากินไปได้ 5-6 คำ กำลังพิจารณาอาหารเพลิน ๆ เงยหน้ามา ท่าน ๆ หมดจานแล๊ววว พระใหม่ก็ต้องรีบจ้วงให้ทันอ่ะสิ
เขียนเรื่องกินเรื่องเดียวล่อไปยาวเหยียด
งั้นเรื่องนอน กับสวดมนต์ เอาไว้ต่อบทความหน้าแล้วกันนะ เด่วมันจะยาวเกิ้นนน
'โภชเน มตฺตญฺญุตา’
ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ คือ หลักในการฉันของพระ
1 บันทึก
39
40
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
#ช่วงนึงของ...ชีวิตใน"ผ้าเหลือง"
1
39
40
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย