11 ก.ค. 2020 เวลา 11:00 • ประวัติศาสตร์
“สิ่งมหัศจรรย์ทั้ง 7 แห่งโลกยุคโบราณ (Seven Wonders of the Ancient World) สิ่งมหัศจรรย์ในหน้าประวัติศาสตร์โลก” ตอนที่ 1
มหาพีระมิดแห่งกีซา (Great Pyramid of Giza)
เมื่อพูดถึง 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก หลายคนย่อมรู้จักดีและเคยไปเยือน
แต่สำหรับ “สิ่งมหัศจรรย์ทั้ง 7 แห่งโลกยุคโบราณ (Seven Wonders of the Ancient World)” กลับไม่ค่อยมีคนพูดถึงนัก และปัจจุบันนี้ ก็หลงเหลืออยู่เพียงแค่แห่งเดียว
เราไปทำความรู้จักกับสิ่งมหัศจรรย์ทั้ง 7 นี้ดีกว่าครับ
ที่แรกที่ผมอยากจะแนะนำคือ “มหาพีระมิดแห่งกีซา (Great Pyramid of Giza”
1
มหาพีระมิดแห่งกีซา (Great Pyramid of Giza)
พีระมิดแห่งกีซามีมนต์สเน่ห์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเยือนและศึกษา เนื่องจากเป็นพีระมิดที่มีขนาดใหญ่มาก และเรื่องราวความเป็นมารวมทั้งการสร้างพีระมิดแห่งนี้ ก็เป็นที่น่าสนใจ
1
พีระมิดแห่งกีซาถูกสร้างขึ้นเมื่อระหว่าง 2,550-2,530 ปีก่อนคริสตกาล
ในเวลานั้น อียิปต์ก็เป็นชาติที่มีอารยธรรมเจริญรุ่งเรือง สามารถสร้างพีระมิดที่มีความสูงเท่ากับตึกระฟ้าในปัจจุบัน
1
ชาวอียิปต์โบราณ
พีระมิดแห่งกีซาครองสถิติสิ่งก่อสร้างด้วยมือมนุษย์ที่สูงที่สุดในโลก โดยพีระมิดแห่งนี้ครองสถิตินี้เป็นเวลานานกว่า 3,800 ปี และพีระมิดแห่งกีซาก็เป็นหนึ่งใน 7 สิ่งมหัศจรรย์แห่งโลกยุคโบราณที่ยังคงหลงเหลืออยู่
3
พีระมิดแห่งนี้ตั้งอยู่นอกเมืองไคโร บริเวณแม่น้ำไนล์ และใช้หินปูนและหินแกรนิตกว่าสองล้านก้อนในการก่อสร้าง
หินและอิฐบางก้อนนั้นมีขนาดใหญ่มากจนนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันก็ยังไม่แน่ใจว่าคนในยุคนั้นขนหินเหล่านี้ไปวางไว้ในบางจุดได้อย่างไร
หินเหล่านี้ถูกจัดเรียงกันอย่างพอดีโดยไม่ใช้ปูน และอยู่ยืนยงมากว่า 4,500 ปี
2
พีระมิดแห่งกีซานี้ คาดว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นสุสานของฟาโรห์ พระนามว่า “คูฟู (Khufu)”
ฟาโรห์คูฟูนั้น นอกจากจะเป็นผู้ปกครองดินแดนแล้ว ผู้คนยังเชื่อว่าพระองค์เป็นสื่อกลางระหว่างผู้คนและพระเจ้าอีกด้วย
1
มีการจัดพิธีการต่างๆ โดยฟาโรห์จะทำพิธีเพื่อให้แม่น้ำไหลตามปกติ ดวงอาทิตย์ขึ้นลง พืชผลงอกงาม
เมื่อฟาโรห์สวรรคต พระองค์ก็กลายเป็นพระเจ้า ดังนั้น การสร้างสุสานให้พระองค์จึงต้องยิ่งใหญ่
ฟาโรห์คูฟู (Khufu)
สำหรับการก่อสร้างพีระมิดนั้น แต่ก่อน เชื่อกันว่าแรงงานทาสเป็นผู้ก่อสร้าง ซึ่งไม่เป็นเรื่องจริง ถึงแม้ในเวลานั้น จะมีทาสอยู่ทั่วไปในอียิปต์ แต่แรงงานในการก่อสร้างพีระมิดแห่งกีซาล้วนแต่เป็นคนงานที่ฟาโรห์คูฟูจ้างมาทั้งสิ้น
แรงงานเหล่านี้ส่วนมากเป็นชาวนา ซึ่งเมื่อแม่น้ำไนล์ท่วมที่นา ทำให้ทำการเกษตรไม่ได้ ชาวนาส่วนมากจึงว่างและมาเป็นแรงงานก่อสร้าง
เชื่อกันว่าแรงงานในการก่อสร้างมีมากถึง 20,000-30,000 คนเลยทีเดียว
สำหรับวิธีการก่อสร้างนั้น ก็เป็นการยากที่จะหาคำตอบที่ชัดเจน
หินก้อนใหญ่น่าจะถูกตัดที่เหมืองใกล้กับแม่น้ำไนล์ ก่อนจะขนส่งมายังจุดก่อสร้างทางเรือ
มีทฤษฎีหนึ่งอ้างว่ามีการสร้างทางลาดที่ทำมาจากไม้ เพื่อให้การขนหินขึ้นไปยังชั้นบนนั้นทำได้สะดวก ซึ่งก็เป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้แน่ชัด
1
นักประวัติศาสตร์กล่าวว่า การก่อสร้างพีระมิดนี้ใช้เวลากว่า 30 ปี
1
10 ปีแรกเป็นการเตรียมการก่อสร้าง ทั้งปรับพื้นที่ สร้างถนนและบ้านพักให้คนงาน และทำการเตรียมหินที่ใช้ก่อสร้าง
คนงานใช้อุปกรณ์ที่ทำจากทองแดงและสัมฤทธิ์ในการก่อสร้าง เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีอุปกรณ์ที่ทำมาจากเหล็ก รวมทั้งเทคโนโลยีการก่อสร้างก็ยังไม่ก้าวหน้าดังเช่นปัจจุบัน
ซึ่งนี่ยิ่งทำให้พีระมิดแห่งกีซาน่าทึ่งและน่าศึกษา
ภายในพีระมิดนั้นมีห้องที่ค้นพบแล้วสามห้อง โดยห้องของกษัตริย์และราชินีอยู่ชั้นบน ส่วนห้องที่อยู่ล่างสุดนั้นสร้างไม่เสร็จ
1
ผนังแต่ละห้องทำมาจากหินแกรนิต
ด้านข้างของพีระมิดแห่งกีซานั้นคืออารามจำนวนสองแห่ง และมีถนนที่เชื่อมเข้าด้วยกัน (รายละเอียด หาอ่านได้ในซีรีส์พีระมิดที่ผมเคยเขียนไว้ครับ)
พีระมิดแห่งกีซายิ่งใหญ่มาเป็นเวลานับพันปี จนกระทั่ง “พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)” เข้ายึดครองอียิปต์ใน 332 ปีก่อนคริสตกาล และได้สร้างเมือง “อเล็กซานเดรีย (Alexandria)” พีระมิดแห่งกีซาก็เริ่มจะเสื่อมโทรม
1
พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)
ได้มีการสำรวจ ขุดเจาะพีระมิดแห่งกีซาเป็นครั้งแรกในช่วงระหว่างปีค.ศ.1880-1882 (พ.ศ.2423-2425)
“ฟลินเดอรส์ เพตรี (Sir William Matthew Flinders Petrie)” นักโบราณคดีชาวอังกฤษต้องการที่จะตรวจสอบทุกซอกทุกมุมของพีระมิดแห่งกีซา แต่เขาก็ไม่ต้องการให้เกิดความเสียหาย
ฟลินเดอรส์ เพตรี (Sir William Matthew Flinders Petrie)
ดังนั้น พีระมิดแห่งกีซาจึงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจแก่นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ
ตอนต่อไป จะเป็นตอนของ “สวนลอยแห่งบาบิโลน (Hanging Gardens of Babylon)” จะมาในวันจันทร์
1
สวนลอยแห่งบาบิโลน (Hanging Gardens of Babylon)
ฝากติดตามด้วยนะครับ
4
โฆษณา