16 ก.ค. 2020 เวลา 04:37 • ปรัชญา
เคารพการตัดสินใจ! แตกต่างกับการยอมรับการตัดสินใจ!
การตัดสินใจ เป็นตัวบ่งบอกหนึ่ง ถึงความคิดและลักษณะของผู้ตัดสินใจได้ เพราะทุก ๆ การตัดสินใจ ได้แฝงซึ่งเหตุและผล รวมถึงอารมณ์ลงในนั้นได้อีกด้วย แต่ที่สำคัญมากกว่านั้นคือ ผู้ที่มีผลต่อการตัดสินใจ หลังจากรับทราบแล้ว เขา "เคารพการตัดสินใจ"หรือ "ยอมรับการตัดสินใจ" ลองมาหาคำตอบกันครับ
ขอขอบคุณภาพจาก Link: https://www.pinterest.com/pin/ATgMGnmDMEn8YBNUKQGnow5J0A4azX5Q-nn2qcmjW6JmDB7LwUWOtb0/
ตัวอย่างเรื่องราวในวันนี้ครับ เพื่อความเข้าใจ ผมได้ยกตัวอย่าง ทางเลือกการไปนั่งดื่มสังสรรค์ ของเพื่อนวัยกลางคนกลุ่มหนึ่ง
เพื่อนสนิท 3 คนไม่ได้เจอกันนานมาก ชวนไปนั้งดื่มสังสรรค์กัน โดยเพื่อนสองคนในกลุ่มได้เสนอร้านที่ตัวเองรู้จัก และอยากไปร้านที่ตนเสนอทั้งคู่ จึงมอบอำนาจในการตัดสินใจให้กับ เพื่อนอีกคนในกลุ่มเป็นผู้ตัดสิน
ทางคำตัดสินมีเพียงแค่ 3 ทาง นั้นคือ
1.) ไปตามเพื่อนคนแรก
2.) ไปตามเพื่อนคนที่สอง
3.) โยนการตัดสินใจ (พบบ่อย)
แน่นอน ในการตัดสินใจ ว่าจะไปตามเพื่อนคนไหน หรือไม่ตัดสินใจและโยนการตัดสินใจนั้นทิ้งไป
ขอขอบคุณ Link: https://www.pinterest.com/pin/304696731020225694/
โดยปกติแล้ว ตัวผมไม่ชอบตัดสินใจ ในเวลาอันสั้นและผมก็คิดว่าท่านผู้อ่าน ท่านอื่น ๆ น่าจะคิดคล้าย ๆ กัน ที่ไม่ชอบเป็น เพราะผมไม่ได้มีเวลามากนักในการคิดไตร่ตรองกับผลที่ตามมาจากการตัดสินใจ จึงพยายามเลี่ยงการตัดสินใจนั้นออกไป
ซึ่งถ้าหากในเรื่องเป็นผม ผมอาจจะนำประสบการณ์มาประกอบการตัดสินใจ เช่นเรื่อง แถวนั้นมีด่านเยอะไหม ใกล้บ้านของ(เรา)คนในกลุ่มหรือเปล่า ในการตัดสินใจ หรืออาจหาข้อมูลใหม่จากอินเตอร์เน็ต ร้านหน้านั่งไหม ราคาแพงรึเปล่า เราเรียกส่วนนี้ว่า การตัดสินด้วยเหตุผล คือการนำข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในการตัดสินใจ
อีกแบบหนึ่ง ในระหว่างพูดคุยกัน ถ้าเพื่อนหนึ่งในนั้นทำให้ผมหงุดหงิด จากการตื้อเพื่อให้มาสังสรรค์ ผมอาจตัดสินใจไปร้านของเพื่อนอีกคน เพียงเพราะว่า ผมอยากจะเอาคืนที่เขาทำผมหงุดหงิด เราเรียกส่วนนี้ว่า การตัดสินด้วยอารมณ์ เช่น ชอบ ไม่ชอบ มักถูกมองว่าเป็นการตัดสินแบบขาดคุณภาพ
เนื่องจากถูกมองว่า ไม่ได้มาจากเหตุผลจริง เพราะหากใช้เหตุผลอีกทางเลือก อาจดีกว่าโดยไม่ต้องสงสัย
แต่ก็ไม่ใช่ซะทีเดียว บางครั้งการตัดสินใจด้วยเหตุผลโดยปราศจาก อารมณ์ ก็อาจเป็นการตัดสินใจที่ไรคุณภาพเช่นกัน เพราะนั้นอาจไม่ได้ตอบโจทย์ ความต้องการของเราเลย ทำไปอาจจะไม่มีความสุขก็ได้ เช่น
เรารู้ว่าเราและเพื่อนชอบฟังเพลงแนวสบาย ๆ นั่งชิว ๆ แต่ร้านที่เลือกไปนั่ง เป็นร้านสายโหดแบบ Metal ต่อให้ราคาถูก ใกล้บ้าน ไม่มีด้าน แต่เพราะเรา"ไม่ชอบ" ต่อให้มีเหตุผลที่ดี เราก็คงไม่เลือกมัน
ขอขอบคุณ Link:https://metalicia.com/%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7-heavy-metal/
หลังจากการตัดสินใจเลือกไปกับเพื่อนคนใดคนหนึ่ง สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ จะมีเพื่อนคนหนึ่งสมหวัง และอีกคนหนึ่งผิดหวังแน่ ๆ นอกจากนี้รูปแบบการตอบรับผลการตัดสินใจก็ต่างกัน โดยตัวผมเองแยกเป็น 2 แบบนั้นคือ "ยอมรับการตัดสินใจ"และ"เคารพการตัดสินใจ" ถึงแม้อาจจะดูคล้าย แต่สำหรับผม มันมีความต่างอยู่มากพอควรครับ
การเคารพการตัดสินใจ ในมุมมองของผมมองว่า โอเคแหละเราทำตามเสียงส่วนมาก แต่ไม่อยากทำ ผมเรียกสิ่งนี้ว่า เคารพการตัดสินใจ ถ้าเป็นภาษากีฬา ที่กล่าวว่า รู้แพ้รู้ชนะ! แต่ถ้าเป็นไปได้ ก็ไม่มีใครอยากแพ้หรอก เกิดความ"ไม่เต็มใจ แต่ก็ยอมทำ"
การยอมรับการตัดสินใจ ผมมองว่า เป็นอะไรที่ Positive มากกว่า การเคารพการตัดสินใจ เพราะคือการเข้าใจในเหตุผล และอารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขายอมรับได้ มันจะมีสิ่งที่เรียกว่า "ความเต็มใจ"
ถึงแม้ว่าทั้งสองอย่างจบที่ "ทำตามข้อตัดสินใจ" แตกต่างกันที่ ความเต็มใจ ซึงผมมองว่า "การยอมรับการตัดสินใจ" จะเป็นคำตอบของการติดสินใจแบบไม่มีใคร รู้สึกว่า "แพ้" ครับ
ขอขอบคุณ Link: https://www.pinterest.com/pin/474074298269526404/
ดังนั้นในการตัดสินใจที่ดีควรประกอบทั้ง อารมณ์และเหตุผล ซึ่งทั้งสองอย่างต้องผสมผสานกันอย่างลงตัว จึงจะเป็นการตัดสินใจที่มีคุณภาพและสิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ การทำให้การตัดสินใจเป็นที่ยอมรับของทุกคน
นั้นคือการสอบถามพูดคุย แลกเปลี่ยนเหตุผลและอารมณ์ ของผู้ร่วมตัดสินใจ เพื่อสร้างความเข้าใจ และเพื่อให้เกิดการยอมรับการตัดสินใจ ทำให้ไม่มีผู้แพ้ในทุก ๆ เกมส์ เพราะเราคือทีมเดียวกัน
สำหรับ ท่่านผู้อ่าน ที่ต้องการสนับสนุนเพจนกอ้วนสีน้ำเงิน เพียงแค่ท่าน กด Like กด แชร์ Comment และการกดติดตาม เพื่อไม่ให้พลาดงานเขียนของ เพจนกอ้วนสีน้ำเงิน และทางเพจขอขอบคุณทุก ๆ การสนับสนุน ทุกกำลังใจ เป็นแรงพลักดันให้เพจนกอ้วนสีน้ำเงิน ขอบคุณทุก ๆ ท่านจริงๆ ครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา