14 ก.ค. 2020 เวลา 05:37 • อาหาร
ต้มมาม่าในกระติกน้ำร้อนเป็นอะไรมั้ยคะ???
คำถามยอดฮิตของเด็กหอ !!! ที่มักถูกห้ามทำอาหารภายในห้องพัก และมีอุปกรณ์จำกัด
เพียงแต่หม้อต้มน้ำร้อนไฟฟ้า
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเรื่องหม้อ และผ่านการต้มมาม่าด้วยกระติกน้ำร้อนมากกว่า 4 ปี ต้องบอกว่าสามารถทำได้ครับ แต่ต้องทำภายใต้เงื่อนไขที่จำกัดทางด้านวัสดุ
สมัยที่เป็นเด็กหอที่มักโหยหิวเวลาดึกเวลาอ่านหนังสือ กอรป กับสมัยที่ผมยังเรียนอยู่
เซเว่นที่อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยที่สุด ต้องบิดมอร์เตอร์ไซด์ไปถึง 6 กิโลเมตร แถมต้องฝ่าอากาศที่หนาวเย็น ผ่านย่อมเขา ป่าไม้ขนาดย่อมที่กระจายอยู่รอบมหาวิทยาลัย
ต้องบอกว่าชีวิตมันไม่ง่ายเลย+++ เมื่อเราหิวกลางดึก
ด้วยเหตุนี้การต้มมาม่าภายในกระติก ในหอที่ห้ามทำอาหาร มันคือ ทางรอดที่เหมาะสมที่สุด
แม้สมัยนั้นมาม่าคัพจะเริ่มมีแล้ว แต่ราคาที่แพงกว่ามาม่าปกติถึง 4 เท่า แถมด้วยปริมาณอันน้อยนิด มาม่าถ้วยเล็ก ๆ จึงไม่เพียงพอต่อกระเพราะนักศึกษาผู้หิวโหยวัยกำลังกิน
อย่างพวกเรา
ดังนั้นกระติกน้ำร้อนจึงเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของเราแล้ว ไม่ว่าจะเป็นชา กาแฟ โจ๊ก หรือ
มาม่า ทั้งหมดล้วนหลอมรวมอยู่ในกระติกเดียวกัน
จริง ๆ แล้วการใช้กาต้มน้ำร้อนในการต้มมาม่า ก็ไม่มีข้อควรระวังมาก
สิ่งที่ต้องระวังมีอย่างเดียวคือ ใช้เสร็จเมื่อไหร่ ให้รีบล้างก็เท่านั้น
เพราะภายในกระติกน้ำร้อน มันก็เป็นเหล็กกล้าไร้สนิม เกรดส่วนใหญ่ที่ใช้กันจะเป็นกลุ่มตะกูลเฟอริติก 430 เราจึงเห็นภายในกระติกน้ำร้อนของข้างจะเงาวับ
อาจจะมีบ้างที่ใช้เกรดยอดฮิต 304, 303 แต่สมัยนั้นผมก็ไม่ค่อยเห็น
ดังนั้นภายในกระติกน้ำร้อนจึงไม่ทนการกัดกร่อนซักเท่าไหร่ โอเคละใช้ต้มน้ำร้อนได้ สบาย สบาย
แต่การที่เราเอามาม่าที่อุดมไปด้วย โซเดียมคลอไรด์ ทั้งจากเส้นมาม่า และเครื่องปรุง จึงเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยจะเหมาะสม
โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจาก Critical pitting temperature (CPT) หรือ อุณหภูมิวิกฤติที่ทำให้เหล็กกล้าไร้สนิมเกิดการกัดกร่อนแบบรูเข็ม
ขนาดเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 304 สัมผัสกับน้ำที่มีปริมาณคลอไรด์ 0.02% ที่อุณหภูมิประมาณ 40C การกัดกร่อนแบบรูเข็มการสามารถเกิดขึ้นได้แล้ว
การต้มมาม่าให้เสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น จากนั้นรีบนำมาใส่ชาม และรีบเอากระติกไปล้างหรืออย่างน้อยที่สุดก็เติมน้ำเปล่าลงในกระติก เพื่อลดความเข้มข้นของคลอไรด์
จึงเป็นสิ่งที่เราทำในฐานะนักเรียนวัสดุ
ปัจจุบันโชคดีกระติกน้ำหลายรุ่นเริ่มมีการใช้การเคลือบด้วยเทฟลอน หรือชั้นเคลือบเซรามิกกันเยอะแล้ว ดังนั้นอาจจะไม่ต้องระวังมากนักด้านการใช้งาน แต่ต้องระวังเรื่องการขูดขีดในระหว่างการทำสะอาดแทน การใช้กระติกน้ำต้มมาม่าจึงอาจทำได้ง่ายขึ้น
แต่ก็อย่าลืมนะครับ การต้มน้ำใช้ต้มมาม่าได้บางครั้ง และมาม่าไม่ใช่อาหารหลัก
ทำบ่อยๆ ขนาดเหล็กยังถูกกัดกร่อนได้ ร่างกายเราที่รับปริมาณโซเดียมสูง ๆ ก็อาจส่งผลต่อการเป็นโรคไตได้ โรค ไตวายนะครับ ไม่ใช่ โรคไตหาหัวจาม
#เหล็กไม่เอาถ่าน
Ref.
2. S. Bernhardsson, Duplex Stainless Steels’91, Vol 1, Beaune, Les Editions de Physique, 1991, p 137–150.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา