Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เหล็กไม่เอาถ่าน
•
ติดตาม
12 ก.พ. 2021 เวลา 12:03 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เรื่องราว (สเตนเลส)
ทำไมต้องเช็คราวตากผ้า หากมีนกบินผ่าน และอุจาระใส่??
ทำไมเราต้องล้างราวแขวนผ้าเช็ดตัวในห้องน้ำบ่อย ๆ??
พ่อบ้านใจกล้าบ้านท่านอาจไม่สนใจหาเหตุผล และทำไปเพราะ ผบ.ทบ. สั่ง !!
แต่ที่จริงแล้วรู้ไหมครับว่าที่ ผบ. ทบ. สั่งนั้นล้วนแต่มีเหตุผล
ราวเหล็กกล้าไร้สนิม หรือ ราวสเตนเลสไม่ใช่ว่าซื้อมาแล้วจะอยู่ยั้งยืนยงนะครับ
นั้นเป็นเพราะ
พวกเขาพร้อมจะจากลาเราไป หากเราดูแลเขาไม่ได้
หากเจออะไรมาปนเปื้อนพวกเขา เรารีบเช็ดออกก็ดีครับ
เรื่องนี้มีคำอธิบายทางโลหะวิทยา
หลายท่านอาจจะพอทราบว่า เวลาเหล็กเปียกหรือได้รับความชื้น เหล็กจะถูกกัดกร่อนหรือเกิด Corrosion ได้ง่าย เนื่องจากมีองค์ประกอบของการกัดกร่อนครบ
แต่การกัดกร่อนที่รุนแรงที่สุดในโลหะ ส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดขึ้นในขณะที่เหล็กเปียก (Wet) นะครับ
แต่การกัดกร่อนที่รุนแรงที่สุดจะอยู่ในช่วง Wet to Dry หรือเรียกง่าย ๆ หรือช่วงที่โลหะเปียกกำลังจะแห้ง
ปรากกฎการณนี้เป็นจากการที่ช่วงที่กำลังจะแห้ง ออกซิเจนในบรรยากาศ จะแพร่ผ่านฟิล์มน้ำบาง ๆ ได้ดีกว่าฟิล์มน้ำหนา ๆ ออกซิเจนจึงสามารถเข้ามาทำปฏิกิริยาการกัดกร่อนกับเหล็กได้ดีกว่า
ยิ่งราวตากผ้าที่ปนเปื้อนจากขี้นกที่อาจมีทั้งซัลเฟอร์และคลอไรด์ หรือ ราวแขวนผ้าในห้องน้ำที่เพิ่งสัมผัสกับไอกรดไฮโดรคลอริก และมีการตกค้างของคลอไรด์อิออน (Cl-) จากน้ำยาล้างห้องน้ำ
การกัดกร่อนจะเกิดขึ้นได้รุนแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากในระหว่างการแห้งของราวเหล่านี้จะส่งผลให้ความเข้มข้นของคลอไรด์ หรือ ซัลเฟอร์ อิออน ที่มีฤทธิ์ส่งเสริมการกัดกร่อนให้สูงขึ้น
หากเราทิ้งไว้และไม่รีบทำความสะอาด ก็จะทำให้ให้เกิดการกัดกร่อนลุกลามขึ้นมาได้
1
และหากราวเป็นสนิมขึ้นมา ไม่พ้นเราก็ต้องขัดออก หรือ ไม่ต้องเสียงงบประมาณซื้อใหม่
เรื่องราวในบ้าน เชื่อเถ๊อะครับ เชื่อผู้นำในบ้าน แล้วเราจะปลอดภัย
สุขสันต์วันตรุษจีน และ ทักทายในโอกาสใกล้วันแห่งความรักครับ
#เหล็กไม่เอาถ่าน
#วิทยาศาสตร์มีคำตอบ
Ref.
Ke Gong, etc., Comparative study on corrosion behaviour of rusted X100 steel in dry/wet cycle and immersion environments, Construction and Building Materials Volume 235, 28 February 2020, 117440.
https://www.canada.ca/en/conservation-institute/services/workshops-conferences/regional-workshops-conservation/understanding-flash-rusting.html
CHIN PAO HUANG and GREGORY LAVENBURG, Impacts of Bird Droppings and Deicing
Salts on Highway Structures: Monitoring, Diagnosis, Delaware Center for Transportation
University of Delaware, 2011.
บันทึก
1
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
บรรลัยวิทยา
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย