18 ก.ค. 2020 เวลา 04:02
Future is Now
ความแน่นอน...คือ...ความไม่แน่นอน
หลายคนคงจะมีความรู้สึกแบบเดียวกับผมว่าปีนี้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดหลายเหตุการณ์ส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตของเราทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และรอบๆ ตัวเรา ที่สำคัญจนถึงตอนนี้ก็ยังมีความไม่แน่นอนจนเราไม่สามารถจะคาดเดาอนาคตได้เลย
สิ่งที่เกิดขึ้นในปีนี้ ทำให้โลกการเงินมีการพูดถึง Black Swan Event อีกครั้ง
Black Swan หรือ หงส์ดำ ในโลกการเงินมาจากหนังสือ The Black Swan : The Impact of the Highly Improbable ของ Nicolas Nassim Taleb ที่พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครคาดคิดมาก่อน เหตุการณ์เหล่านี้เป็น "สิ่งที่เราไม่เคยเจอ แต่ ไม่ได้แปลว่าไม่มี" (ใครสนใจเรื่อง Black Swan หาอ่านได้หลายบทความใน BD นะครับ หรืออ่านบทความของลงทุน ตาม link ด้านท้ายบทความครับ)
วิกฤตการระบาดของโควิด-19 เป็น Black Swan ที่ก่อผลกระทบรุนแรงอย่างมาก ทำให้เราต้องคิดว่าเรามีโอกาสจะเจอกับ Black Swan อื่นๆ ได้ในอนาคตเช่นกัน จึงน่าจะทบทวนกลยุทธการลงทุนที่เราได้วางไว้ในปัจจุบันอย่างจริงจัง
สองบทความแรกในซีรีย์ Future is Now ผมพูดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างค่อนข้างจะแน่นอนในอนาคต บทความตอนที่สามของซีรีย์นี้ ขอพูดถึงเรื่องความไม่แน่นอนของอนาคตบ้าง
ในดำมีขาว ในขาวมีดำ ทุกสิ่งล้วนมีคู่ตรงข้ามกันตามหลักความสมดุล เมื่อยุคหนึ่งที่คนไม่รู้จักหงส์ดำ ทำให้คนใช้ข้อมูลหงส์ขาวจากอดีตมาอธิบายสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตตามรูปแบบที่เคยเกิดขึ้นแล้ว
1
แม้หลักในการวางแผนการเงินสามารถใช้ได้ตลอด แต่เมื่อเราได้พบว่าโลกไม่ได้มีเฉพาะหงส์ขาวเท่านั้น เราจึงต้องกลับมาทบทวนกลยุทธการเงินการลงทุนที่เราได้เคยวางไว้ และอาจต้องเพิ่มตัวแปรบางอย่างเข้าไปด้วยตามระดับความสำคัญและระยะเวลาของแผนนั้น
ความไม่แน่นอนของอนาคต หมายถึง ความเสี่ยง...ที่จะเกิด หรือ ไม่เกิดในอนาคต หลายคนเข้าใจว่าการกระจายความเสี่ยงด้วยการจัดพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมเพียงพอที่จะช่วยให้เรามีแผนการเงินที่ปลอดภัย แต่เมื่อแผนการเงินการลงทุนนี้ถูกทำด้วยข้อมูลที่มีแต่หงส์ขาวหรือข้อมูลที่เราเคยพบเจอ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นข้อมูลที่ครบถ้วนแล้ว
ความเสี่ยงในการลงทุนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ
ความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk)
เป็นความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อตลาดทั้งระบบ บางคนจึงเรียกอีกว่า Market Risk เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถทำให้ลดลงได้จากการกระจายการลงทุน
หงส์ดำจึงถือเป็นความเสี่ยงที่เป็นระบบ
1
ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ (Unsystematic Risk)
เป็นความเสี่ยงที่เกิดเฉพาะตัว เฉพาะธุรกิจ หรือเฉพาะหลักทรัพย์ ถือเป็นความเสี่ยงที่นักลงทุนส่วนใหญ่คุ้นชิน สามารถลดความเสี่ยงนี้ได้ด้วยการจัดพอร์ตลงทุนห้มีการกระจายการลงทุนที่เหมาะสม และสามารถคาดการณ์แนวโน้มล่วงหน้าได้ไม่มากก็น้อย
1
ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ เปรียบเหมือน หงส์ขาว (White Swan) ที่เรามักบริหารจัดการโดยการนำข้อมูลจากอดีตมาเป็นส่วนหนึ่งในการคาดการณ์เพื่อใช้เพื่อจัดพอร์ตการลงทุนสินทรัพย์ต่างๆ ตามหลักการวางแผนการเงินการลงทุน
1
เรามาปล่อยหงส์ดำสักตัวให้บินลงไปรวมอยู่ในฝูงหงส์ขาวของเรา เพื่อให้แผนการเงินการลงทุนของเราสามารถรองรับเหตุการณ์ในอนาคตดีหรือเปล่าครับ
1
Credit : bnps.co.uk
เรื่องนี้มีบางคนบอกว่าถ้าเราทำหงส์ทุกตัวให้เป็นหงส์เทาก็น่าจะดี เพราะทำให้เราเตรียมการพยากรณ์และรีบเตรียมการรับมือแต่เนิ่นๆ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีนะครับ แต่สีเทามีระดับความเข้มถึง 255 ระดับ เมื่ออยู่รวมกันเราจะมั่นใจว่าสามารถเตรียมการรับมือได้จริงหรือ ผมขอนำแนวคิดนี้ไปเปรียบกับเรื่อง แรดสีเทา Grey Rhino ที่เกิดมาจาก World Economic Forum ในปี 2013
หนังสือต่างๆ บอกเราว่าโลกนี้มี แรดขาว และ แรดดำ แต่ในความเป็นจริงแล้วแรดทั้งหมดดูคล้ายกันเพราะเป็นสีเทา ความต่างของแรดขาวและแรดดำ หากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ก็คงจะแยกได้ลำบาก
ดังนั้นเราจะแยกได้อย่างไรว่าเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงอาการหรือสัญญาณว่าจะมีผลกระทบมากน้อยเพียงใดในเมื่อมีสีเทาเหมือน ๆ กัน กว่าเราจะรู้...สีดำก็อาจกลายเป็นหงส์ดำซึ่งสายเกินกว่าที่จะเตรียมการรับมือ หากในพอร์ตเรามีแต่แรดสีเทา เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพอร์ตเรามีความสมดุล
แทนที่เราจะมองหาแรดสีเทา วิธีที่อาจจะง่ายกว่าคือการเพิ่มหงส์ดำเข้าไปในฝูงหงส์ขาวเลย ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดเจนกว่า และเราน่าจะเตรียมการป้องกันได้ง่ายกว่า เพียงแต่เลือกหงส์ดำให้ดีนะครับ บางธุรกิจไม่ว่าเจอหงส์ดำตัวไหนก็สะดุดหมด องค์การธุรกิจ หงส์ดำแต่ละตัวให้ผลบวกและผลลบต่างกัน
1
กลยุทธการลงทุนระหว่างกลยุทธแบบ Passive และกองยุทธแบบ Active ก็อาจใช้อธิบายเรื่องนี้ได้พอสมควร
กลยุทธการลงทุนแบบ Passive
มักกำหนดให้ได้รับผลตอบแทนที่ใกล้เคียงกับดัชนีมาตรฐานหรือผลตอบแทนตลาด มีหลักคิดว่าในระยะยาวไม่มีใครที่จะสามารถเอาชนะตลาดได้
1
ขณะที่กลยุทธแบบ Active
จะมุ่งเน้นสร้างผลตอบแทนที่เหนือตลาดหรือชนะค่าดัชนีมาตรฐาน ซึ่งต้องมีการเจาะลึกและคัดเลือกตัวหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ที่จะลงทุน และต้องมีการติดตามเพื่อปรับพอร์ตอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีความชำนาญที่มาก จึงมีค่าธรรมเนียมต่างๆ สูงกว่าก็อาจเป็นส่วนหนึ่งในการปรับกลยุทธการลงทุนของเราเช่นกัน
1
มีผลวิจัยทั้งในต่างประเทศและในประเทศที่พอจะสรุปเปรียบเทียบผลระหว่าง Passive และ Active และค่อนข้างเห็นผลว่า
ในตลาดที่มีประสิทธิภาพดี เช่นตลาดหุ้นสหรัฐ กลยุทธการลงทุนแบบ Passive ให้ผลตอบแทนในะระยะยาวได้ดีกว่ากลยุทธแบบ Active
แต่สำหรับตลาดที่ยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพแบบบ้านเรา กลยุทธการลงทุนแบบ Active น่าจะให้ผลตอบแทนในระยะยาวได้ดีกว่ากลยุทธการลงทุนแบบ Passive (หากสนใจลองค้นหาอ่านได้จากอินเตอร์เน็ตครับ)
นอกจากนี้การเลือกสินทรัพย์บางประเภทที่ไม่ด้อยค่า (ในทางตรงข้ามกลับทวีค่า)เมื่อเกิดวิกฤติต่างๆ ก็เป็นอีกความคิดที่ใช้รับมือ Balck Swan Event ได้เช่นกัน
แต่ละคนมีเงื่อนไขในการลงทุนที่ต่างกัน ทั้งความสามารถในการยอมรับความเสี่ยง ระยะเวลาลงทุน เป้าหมายการลงทุน และข้อจำกัดด้านต่างๆ การปล่อยหงส์ดำลงไปในพอร์ตการลงทุนแบบฝูงหงส์ขาวที่มีอยู่ อาจต้องเลือกปล่อยหงส์ดำให้เหมาะสมกับตัวเรา แต่หากเราเลือกปล่อยได้ถูกต้องพอร์ตการลงทุนที่กระจายความเสี่ยงรองรับไว้อย่างสมดุลก็จะช่วยให้เราผ่านเรื่องราวต่างๆ ไปได้อย่างดีที่สุดในสถานการณ์นั้นๆ
เช้าวันหยุดประจำสัปดาห์ขอลงบทความเบาๆ นะครับ ขอบคุณที่อ่านมาถึงตอนท้ายบทความครับ
แหล่งอ้างอิง :
บทความ Black Swan โดยลงทุนแมน
บทความกลยุทธแบบ Active และ Passive
โฆษณา