16 ก.ค. 2020 เวลา 11:00 • ประวัติศาสตร์
“แบทแมน (Batman) อัศวินแห่งรัตติกาล” ตอนที่ 4
แบทแมนสู่จอแก้วและจอเงิน
ที่ผ่านมา คนที่รู้ตัวตนจริงของแบทแมนนั้น มีเพียงโรบินเพียงผู้เดียว
แต่ในปีค.ศ.1943 (พ.ศ.2486) ในแบทแมนฉบับที่ 16 ก็ได้เปิดตัว “อัลเฟรด เพนนีเวิร์ท (Alfred Pennyworth)”
พ่อของอัลเฟรดนั้นทำงานรับใช้ตระกูลเวย์นมาก่อน และตอนนี้อัลเฟรดก็เข้ามาทำหน้าที่เดียวกัน ก่อนจะเกิดไปรู้ถึงตัวตนจริงของบรู๊ซและดิ๊กโดยบังเอิญ
อัลเฟรด เพนนีเวิร์ท (Alfred Pennyworth) เมื่อแรกเปิดตัว
ในฤดูร้อน ค.ศ.1943 (พ.ศ.2486) แบทแมนและโรบินก็ปรากฎกายสู่จอเงินเป็นครั้งแรกในฐานะหนังสั้นเป็นตอนๆ ออกฉายก่อนภาพยนตร์เรื่องยาว
แบทแมนและโรบินเมื่อแรกสู่จอเงินในปีค.ศ.1943 (พ.ศ.2486)
ในเวลานี้ แบทแมนคือตัวละครฮิต มีการแนะนำตัวละครในซีรีส์ชุดแบทแมนอีกหลายตัว รวมทั้ง “Justice League” อีกด้วย
และในเวลานี้ ก็ถึงเวลาที่จะต้องมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับแบทแมนแล้ว
กลางยุค 60 (พ.ศ.2503-2512) โทรทัศน์ ได้กลายเป็นสิ่งบันเทิงยอดฮิต เข้ามาแทนที่วิทยุ และภายในปีค.ศ.1965 (พ.ศ.2508) เฉลี่ยแล้วบ้านทุกหลังในสหรัฐอเมริกา จะต้องมีโทรทัศน์หนึ่งเครื่อง
เด็กๆ ต่างเลิกอ่านการ์ตูน และหันมาดูรายการและการ์ตูนในโทรทัศน์แทน
ด้วยความนิยมนี้ ทำให้สถานีโทรทัศน์ ABC ตัดสินใจจะให้แบทแมนปรากฎสู่จอโทรทัศน์เป็นครั้งแรก
“Batman” ออกอากาศครั้งแรกในเดือนมกราคม ค.ศ.1966 (พ.ศ.2509) โดยออกอากาศสัปดาห์ละสองวัน
Batman ที่ออกอากาศนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก สองตอนแรกนั้นทำเรตติ้งทะลุเพดานและติด 1 ใน 10 รายการยอดนิยมในสหรัฐอเมริกา
Batman (1966)
ภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่องนี้ มี “อดัม เวสต์ (Adam West)” แสดงเป็นแบทแมน และ “เบิร์ต วอร์ด (Burt ward)” แสดงเป็นโรบิน
ภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่องนี้ดังมากซะจนมีการผลิตเป็นภาพยนตร์ออกฉายในโรงในปีเดียวกัน
แต่เมื่อมาถึงซีซั่นที่สาม Batman กลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร และต้องยกเลิกไปในปีค.ศ.1968 (พ.ศ.2511)
แต่ถึงอย่างนั้น ด้วยความนิยมจากภาพยนตร์โทรทัศน์ ก็ทำให้ยอดขายหนังสือการ์ตูนแบทแมนพุ่งทะลุเพดาน
ค.ศ.1966 (พ.ศ.2509) ดีซีสามารถขายหนังสือการ์ตูนแบทแมนได้เกือบ 900,000 ฉบับต่อการพิมพ์หนึ่งครั้ง ซึ่งมากกว่าปีก่อนเกือบเท่าตัว
ค.ศ.1967 (พ.ศ.2510) แบทแมนกลายเป็นการ์ตูนชุดที่ขายดีที่สุดในสหรัฐอเมริกา
ดูเหมือนมนต์สเน่ห์ของฮีโร่รายนี้จะไม่หยุดเพียงแค่นี้
ตอนต่อไป ฮีโร่ตัวนี้จะสร้างปรากฎการณ์อะไรอีก ติดตามได้ในตอนหน้าครับ
โฆษณา