18 ก.ค. 2020 เวลา 17:05 • การตลาด
The Marketing Fallacy คืออะไร ?
เพื่อนๆเคยรู้สึกรำคาญการกับโฆษณาที่ขึ้นมาถี่ๆบ้างไม๊เอ่ย ?
หรือเพื่อนๆเคยรู้สึกเบื่อกับการตลาดที่แทรกขึ้นมาทุกๆครั้งที่เรากำลังตั้งใจอ่านหรือดูอะไร ?
ถ้าเพื่อนๆมีความรู้สึกแบบนี้ละก็ แสดงว่าแบรนด์นั้นทำการตลาดพังไม่เป็นท่าเลยละ T^T
การทำการตลาดจริงอยู่ที่จุดประสงค์คือ generate lead หรือ view เนอะ แต่ที่สำคัญคือการเข้าถึงลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้ามีการ feed up ในสิ่งที่ผู้ชมไม่ชอบ หรือเห็นแล้วรู้สึกว่ารำคาญเนี่ย แบบนี้เราอาจเรียกว่า Marketing Fallacy (อิอิ คุ้นๆไม๊ คล้ายๆ arrival fallacy เน้อะ)
Marketing Fallacy ??
- อธิบายสั้นๆอีกที Fallacy คือ การลวง หรือการเข้าใจผิด
- พอเราบวกกับคำว่า Marketing เข้าไปคือ การตลาดที่ทำให้คนเข้าใจผิดนั้นเองง ก็นะ....แทนที่จะได้ promote visibility ของแบรนด์ กลับกลายเป็นสร้างความน่ารำคาญในการมองเห็นแทนซะงั้น
การทำการตลาดแบบไม่เป็นที่เป็นทาง
- แน่นอนว่าคือการที่เราเนี่ยทำการโปรโมท ทำแอดต่างๆ ในทุกๆแอพ เช่น Tiktok, Snapchat, IG, FB, Blockdit คือทำทุกช่องทาง
- แต่ Product ของเราเนี่ย อาจจะเหมาะกับลูกค้าที่เน้นสวยงามอย่าง Tiktok แต่อาจไม่ได้สัมพันธ์กับสไตล์ของผู้อ่านใน blockdit
- แนะนำเลยก็คือ เพื่อนๆต้องกลับไปดูก่อนว่า ช่องทางไหนคือกลุ่มลูกค้าหลักที่จะใช้บริการสินค้าของเรา (เข้าใจแหละว่าบางทีเรามีงบ marketing เยอะ แต่ต้องเลือกน้า ไม่งั้นกลุ่มคนที่ใช้งานอีก platform อาจมี อคติ กับแบรนด์เราไปเลยย)
Seth Godin ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่อง Marketing Fallacy นี้ว่า
- คนนี้เป็นนักเขียนหนังสือเกี่ยวกับ Business marketing ชื่อดังในอเมริกา
- Seth เค้าบอกว่า "ทำไมชั้นถึงต้องทำให้คน follow เยอะๆน้ะ ?"
- แล้วชั้นได้อะไรจากการที่คนมาติดตามชั้นเยอะๆ ? แต่ชั้นไม่ได้รับคอมเม้นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ชั้นเขียนเลย
- มากกว่านั้นชั้นได้รับคอมเม้นที่เกี่ยวกับการให้ไป visit page ของคนอื่นที่ชั้นไม่รู้จักในบทความชั้น ?
- นี้ชั้นมาถูกทางแล้วเหรอ ?
ข้อคิดที่ได้คือ
- ในกรณีนี้ คนที่ได้รับความเสียหายกับกลายเป็นพี่ Seth ที่เสียหายจากการตามโฆษณาในคอมเม้น เพื่อ หาลูกค้า เนื่องจากพี่ Seth เค้ามี follower ที่เยอะนั้นเอง
- เอาง่ายๆคือเกาะเค้าดัง แต่ในมุมกลับกัน ดันไปทำร้ายเค้าเสียได้
- เพราะงั้น ควรจะเลือกช่องทางการโปรโมทแบรนด์น้า ไม่ใช่ว่าไปใส่คอมเม้นของเค้าา (ของเราโอเคนะ ถ้าเพื่อนๆอยากฝากผลงานเพจเพื่อนๆในคอมเม้น เราสบายๆมากเบย)
Tim Ferriss ยังได้พบประสบการณ์แนวนี้เช่นกันโดย
- คนนี้เค้าเป็นนักเขียนหนังสือแนวจิตวิทยา และการออกำลังกาย รวมถึงรายการ The Tim Ferriss Experiment, Fear(less) with Tim Ferriss
- Tim ได้บอกว่า การที่ชั้นมียอดfollow จาก 5 แสน ถึง 2 ล้านได้ใน Twitter ระยะเวลาแค่ 2 เดือน แต่ชั้นไม่เข้าใจว่าทำไมชั้นต้องการ ? ในเมื่อมีเพียงแค่ 1% ที่มาร่วมพูดคุยกับชั้นจริงๆ นอกจากนั้น ชั้นต้อง filter out ออกไป
ข้อคิดที่ได้คือ
- แบบนี้มองได้อีกมุมนะ (ซึ่งอาจจะใช้มองในมุมของพี่ Seth ด้านบนได้นะ)
อีกมุมที่ว่าคือ สิ่งคุณต้องการโปรโมทตัวเอง คุณโปรโมทลง twitter แต่คุณคาดหวังถึงคุณภาพของ การสนทนาหรือ content มันก็อาจจะไม่ใช่ social channel ที่ถูกต้องเท่าไร
- เพราะงั้นเค้าเองก็ต้องมีการมองด้วย ว่าจะโปรโมทตัวเองไปในทิศทางใดเน้อะ (อันนี้ คหสต. เราด้วยน้ะ)
กรณียืนโปรโมทแบรนด์ตัวเอง ผ่านใบปลิว หรือสกรีนลงบนเสื้อยืดแจกคนทั่วไป
- การแจกใบปลิวตามที่สาธารณะบางทีอาจะไม่ใช่ช่องทาง marketing ที่ดีที่สุด ถ้าเพื่อนๆยังไม่พร้อม
- ลองคิดถึงการที่ใบปลิวของเพื่อนๆ ไปอยู่ในถังขยะ หรือหล่นตามพื้น
- หรือแม้กระทั่งการสกรีนแบรนด์ลงบนเสื้อผ้าแล้วสุดท้ายเค้าไม่ใส่ ต้องเอาไปบริจาคละ ?
- เพื่อนๆอาจเข้าใจว่าที่คือการโปรโมทเนอะ แต่อันนี้จริง ไม่ใช่เลย ถ้าแบรนด์ของเพื่อนๆยังไม่พร้อม นี้อาจเป็นกับดักทาง marketing ดีดีนี้เองงงง T^T
จบแล้วจ้า สั้นๆได้ความเน้อะ !
คือ ทุกอย่างมันใช้เวลาหมดนะ และการที่เพื่อนๆเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ และรู้จักเป็นมิตรกับการรอคอยบ้าง
เมื่อเพื่อนๆสามารถหา brand positioning, targeting ได้อย่างดีแล้ว การวิเคราะห์ช่องทางการโปรโมทอย่างมีคุณภาพถึงผู้รับสาร ก็จะเป็นผลดีกับแบรนด์เพื่อนๆมากเท่านั้นน้าาา :):)
References:
- การวิเคราะห์ของผู้เขียนบทความ (เรานี้เองแหละจ้า)
โฆษณา