เหตุการณ์ครั้งนี้ถูกตรวจจับได้โดย NASA’s orbital Neil Gehrels Swift Observatory กล้องโทรทัศน์อวกาศที่ทำหน้าที่หลักในการตรวจจับเหตุการณ์การระเบิดปล่อยรังสีแกมมาหรือ gamma-ray burst (GRB)
ซึ่งถือว่าเป็นการตรวจจับการเกิด GRB ที่สามารถติดตามสังเกตแสงหลงเหลือ (After Glow) จากการระเบิดได้ห่างไกลที่สุดเป็นอันดับสองจากที่เคยตรวจจับได้มาก่อน
การระเบิดนี้ได้ปลดปล่อยรังสีแกมมาและแสงวาบอยู่ประมาณ 2 ชั่วโมง โดยหลังจากที่กล้อง Swift ตรวจจับสัญญาณการระเบิดรังสีแกมมานี้ได้ กล้องโทรทัศน์ Gemini ที่ฮาวาย รวมถึงกล้องโทรทัศน์ที่อริโซนาและชิลีก็ได้สังเกตและยืนยันเหตุการณ์การระเบิดนี้
ภาพจากกล้องโทรทัศน์ Gemini และ Keck
โดยทีมนักดาราศาสตร์ค่อนข้างประหลาดใจที่สามารถตรวจพบ GRB ที่อยู่ห่างไกลขนาดนี้ได้ เพราะด้วยระยะห่างไกลขนาดนี้ปกติสัญญาณจะอ่อนมากและโอกาสตรวจพบต่ำมาก ๆ
นับว่าเป็นโชคดีที่สามารถตรวจจับและติดตาม After Glow ของการระเบิดครั้งนี้ได้นานถึง 2 ชั่วโมง เพราะเป็นการระเบิดแบบ Short gamma-ray burst (sGRB) ที่มีเวลาให้สังเกตได้ไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น
Long Gamma Ray Burst เกิดจากการระเบิดของซูเปอร์โนวาเกิดเป็นหลุมดำ แต่ Short Gamma Ray Burst เกิดจากการรวมตัวกันของดาว โดยในกรณีนี้เป็นดาวนิวตรอนคู่