25 ก.ค. 2020 เวลา 16:11 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
งานวิจัยใหม่เผย ดาวศุกร์ยังคงมีภูเขาไฟคุกรุ่นอยู่มากมาย และมีอย่างน้อย 37 ลูกยังคงคุกรุ่นอยู่ในทุกวันนี้ 😲🌋
ภาพจำลอง 3 มิติของผิวดาวศุกร์
ก่อนหน้านี้ผลการสำรวจดาวศุกร์ทำให้นักวิทยาศาสตร์คิดว่าดาวศุกร์นั้นเป็นดาวเคราะห์ที่ตายไปแล้ว นั่นคือไม่มีกิจกรรมทางธรณีวิทยาแบบบนโลกที่มีการขยับของแผ่นเปลือกดาวรวมถึงภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่น
แต่ก็ยังคงมีหลักฐานแสดงให้รู้ว่าผิวเปลือกของดาวศุกร์นั้นมีอายุน้อยและน่าจะยังมีกิจกรรมด้านธรณีวิทยามากกว่าของดาวพุธและดาวอังคาร ที่แกนดาวเริ่มเย็นจนแทบจะไร้ซึ่งกิจกรรมทางธรณีวิทยาภายในดาว
หมู่เกาะฮาวายนั้นเกิดจากพวยหินหลอมเหลว (แมกม่า) ที่พุ่งขึ้นทะลุแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทรแปซิฟิค
หลักฐานที่ว่าก็คือรูปแบบของ coronae หรือวงแหวนโดนัทที่เกิดขึ้นบนผิวดาว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับรูปแบบการเกิดหมู่เกาะฮาวายบนโลกเรานั่นเอง
โดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Maryland และสถาบันธรณีวิทยา ETH ที่ Zurich สวิสเซอร์แลนด์ ได้นำเสนองานผลการวิจัยนี้ใน Nature Geoscience เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
ดำแหน่งของ coronae บนผิวดาวศุกร์
ด้วยการศึกษาลักษณะและตำแหน่งของ coronae ที่กระจายอยู่บนพื้นผิวของดาวศุกร์ ประกอบกับแบบจำลองในคอมพิวเตอร์ที่ให้ผลสอดคล้องว่าลักษณะของหลุม coronae และตำแหน่งนั้นที่สังเกตได้นั้นเกิดจากการปะทุของพวยหินหลอมเหลวที่มาจากภายในดาวปะทุออกมายังผิวดาว
ขั้นตอนการปะทุของมวลแมกม่าที่พุ่งขึ้นมายังผิวดาว
โดยก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์คิดว่าร่องรอยของ coronae ที่ปรากฏบนผิวดาวศุกร์นี้เป็นร่องรอยของภูเขาไฟที่ระเบิดมานานมากแล้ว
แบบจำลองแสดงให้เห็นลักษณะของหลุม coronae ที่เปลี่ยนไปตามมเวลา (บนสีส้มคือเพิ่งปะทุ ส่วนด้านล่างคือดับและเย็นตัวเหลือร่องรอยเป็นวงแหวนโดนัท
แต่ผลการวิจัยใหม่นี้แสดงให้เห็นว่ามีหลายลูกที่ยังอยู่ในระหว่างกระบวนการปะทุของพวยแมกม่าออกสู่ผิวดาว
ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เรารู้ว่ายังมีภูเขาไฟที่ยังปะทุอยู่บนดาวศุกร์ แต่เมื่อศึกษาถึงลักษณะกระบวนการปะทุแล้วทีมนักวิจัยยังสามารถติดตามช่วงเวลาการปะทุของ coronae แต่ละลูกได้
ภาพเปรียบเทียบหลุม coronae ที่สังเกตได้กับจากแบบจำลองในคอมพิวเตอร์
เมื่อนำผลที่ได้มาประกอบกับลักษณะตำแหน่งการเรียงตัวของปล่องที่เกิดจากการปะทุนี้ก็ทำให้ทราบได้ว่ายังมีแผ่นเปลือกของดาวศุกร์ในบางพื้นที่นั้นยังมีการเคลื่อนตัวอยู่ นั่นหมายความว่าดาวศุกร์ยังคงมีกิจกรรมด้านธรณีวิทยาภายใต้เปลือกดาวอยู่
ซึ่งจะทำให้สามารถระบุตำแหน่งที่ยานสำรวจพร้อมอุปกรณ์ตรวจวัดทางธรณีวิทยาลงไปทำการสำรวจและเก็บข้อมูลการสำรวจดาวศุกร์ในอนาคต
ดาวศุกร์นั้นยังคงมีชีวิตชีวากว่าที่เราเคยคิดกันนะเนี่ย รอดูผลการสำรวจและศึกษากันต่อไป 😉

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา