21 ก.ค. 2020 เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
ดำแล้วดี! 'ย้อมฟันดำ' ธรรมเนียมความงามของคนยุคก่อน เขาทำกันยังไง และทำเพื่ออะไร
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ค่านิยมทางด้านความงามมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ในช่วงเวลาหนึ่งนั้นถูกมองว่าสวยงามที่สุด แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาจกลายเป็นสิ่งที่แปลกสำหรับคนรุ่นหลังอย่าง “การย้อมฟันดำ”
ประเพณีการย้อมฟันดำพบมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัฒนธรรมโอเชียนิค กลุ่มคนที่พูดภาษาขร้า-ไท และภาษาออสโตรเนเซียน และยังพบในญี่ปุ่นในช่วงยุคเอโดะ อินเดีย บางกลุ่มในอเมริกา ชนเผ่าทางเหนือของเปรูและเอกวาดอร์
การย้อมฟันดำนั้นมักทำกันในช่วงวัยรุ่นโดยในตอนแรกนั้นทำเพื่อรักษาฟันให้อยู่ไปได้นานจนถึงวัยชรา โดยการย้อมฟันดำจะเหมือนกับการเคลือบฟันในปัจจุบัน การย้อมฟันดำนั้นยังเป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่บอกว่าโตเป็นผู้ใหญ่ หมายถึงความสวยงามและการมีอารยธรรมโดยเชื่อว่าการย้อมฟันดำนั้นทำให้มนุษย์ต่างจากสัตว์เพราะสัตว์มีฟันสีขาว
ในประเทศญี่ปุ่นเรียกการย้อมฟันดำว่า “โอฮากุโระ” (お歯黒) โดยการย้อมฟันดำนั้นเป็นมาตรฐานความงามมานานหลายร้อยปีจนกระทั่งมาสิ้นสุดในยุคเมจิ ในสมัยก่อนที่ต้องทำฟันดำเพราะผู้หญิงญี่ปุ่นนิยมการทาหน้าให้ขาวมากจนเมื่อยิ้มฟันจะดูมีสีเหลืองจึงต้องมีการย้อมสีฟัน การทำฟันดำของสาวญี่ปุ่นจะใช้ผงตะไบเหล็กผสมน้ำส้มสายชูและสีดำที่สกัดจากพืช โดยจะอยู่ได้ราว 3 วัน ไม่เพียงแต่สาวๆ เท่านั้นซามูไรหรือผู้ที่ต้องการปกปิดฟันผุก็ย้อมฟันดำเช่นกัน
ในสมัยอยุธยา รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ชาวสยามจะนิยมการย้อมสีฟัน โดยมีความเชื่อว่าปีศาจนั้นมีฟันสีขาวและฟันที่ขาวนั้นก็เหมือนฟันของสัตว์ โดยใช้การเคี้ยวหมากเพื่อทำให้ฟันเป็นสีดำหรือใช้น้ำยาขัดฟันแล้วใช้ผงจากกะลามะพร้าวเผามาขัดให้เป็นสีดำ
วัฒนธรรมการย้อมฟันดำของหลายประเทศในโลกได้รับความนิยมน้อยลงเรื่อยๆ จนแทบจะสูญหายไปตามการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและจากการเข้ามาของวัฒนธรรมตะวัน ในไทยเริ่มจากชนชั้นนำในไทยตั้งแต่รัชสมัยของพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนมีจุดเปลี่ยนอีกครั้งในยุคจอมพล ป. ที่ออกประกาศให้เลิกกินหมากในปี พ.ศ. 2482
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา