21 ก.ค. 2020 เวลา 10:31 • ปรัชญา
“สังเกต” นั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
“สังเกต” นั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
สังเกตสังกานั้นสำคัญไฉน
พฤติกรรมที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด การเรียนรู้ต่างๆไม่เคยหลีกหนีพ้นจากจุดเริ่มต้นด้วยการสังเกต
พอเริ่มรู้ประสีประสา บุพการีที่มักปากเปียกปากแฉะกับความเฉยชาของผม “หัดเป็นคนสังเกตสังกาเสียบ้าง”
หรือแม้แต่สมัยที่อยู่ในคาบวิชาวิทยาศาสตร์ตอนประถม ผมมักจะได้ยินประโยคที่ผู้สอนบอกว่า “นักวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดังมักเริ่มมาจากการสังเกตกันทั้งนั้น”
ซึ่งผมก็จำมันอย่างขึ้นใจกับที่มาที่ไปของนักวิทย์และนักคิดคนสำคัญ ล้วนแล้วแต่เป็นคนช่างสังเกต โดยไม่คิดแม้แต่จะตั้งข้อสังเกตเลยด้วยซ้ำ
เวลาก็ผ่านไป ผมเองก็ได้ออกไปเจอกับโลกภายนอกมากยิ่งขึ้น ได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่าง ทั้งศาสตร์และศิลป์
แต่ประโยคเด็ดนั้น ยังคงวนเวียนในหัวอยู่เสมอ นั่นเลยทำให้ผมเองก็เริ่มตั้งคำถามในประโยคที่เหมือนจะเป็นแค่เกร็ดความรู้จากคาบเรียนวิทย์ กับประโยคว่ากล่าวสั่งสอนของบุพการี นั่นเริ่มที่จะต้องนำมันมาเชื่อมโยงกันเพราะพ่อผมนั้นก็ไม่ได้พูดในฐานะของนักวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด เพียงแค่อยากจะให้ลูกชายคนเล็กของเขานั้นหัดสังเกตสิ่งรอบข้างเสียบ้าง
นั่นเลยทำให้ผมครุ่นคิดและพิจารณา ว่าแท้ที่จริงแล้ว “การสังเกต” จำเป็นต้องอยู่ในคุณสมบัติของนักวิทยาศาสตร์อย่างเดียวหรือไม่ ซึ่งเวลาก็ผ่านมาเนิ่นนานเหลือเกิน ร่วมหลายปี ที่คนธรรมดาคนนึงได้ออกไปท่องโลกกว้างและพบเจอผู้คนมากมาย
ผมนั้นก็เลยกล้าพูดได้เต็มปากเลยว่า “ไม่” เพราะการสังเกต คือทักษะที่ทุกคนพึงมี ไม่ต่างอะไรกับสิทธิขั้นพื้นฐาน เพราะแม้สัตว์ป่าในสารคดี ก็จำเป็นต้องมี การสังเกตเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์พวกมัน
“มนุษย์ก็เช่นกัน”
แล้วถ้าเรากลับมาพูดถึง เรื่องของคนล่ะ การสังเกตนั้นวนเวียนอยู่ในชีวิตเสมอ ซึ่งนั่นหมายความว่ามันก็เป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ในเวลาเดียวกันอยู่ตนนั้นจะเลือกใช้มัน ในมุมมองไหนตามแต่สถานการณ์จะพาไป
ชีวิตคนเรานั้นยังคงมีเรื่องราวที่จะต้องใช้
ศาสตร์เพื่อการ. และศิลป์เพื่อการ.
- อธิบาย. - วิภาควิจารณ์
- ทำนาย. -ให้คุณค่า
- ควบคุม. -วิเคราะห์
- บรรยาย\พรรณา. -สร้างสรรค์
เพราะ “ศาสตร์” ที่เรานั้นใช้มาอธิบาย เหตุและผลต่างๆ การทำนายหรือการคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้น การควบคุมดูแลภายใต้กรอบของเหตุผลต่างๆ เพื่อที่จะนำมาบรรยายและพรรณาต่อผู้อื่น ไม่ต่างจากบทความเชิงวิชาการ หรืองานวิจัยไม่ว่าจะเชิงคุณภาพ หรือปริมาณ มันก็เริ่มมาจากการสงสัย ตั้งสมมติฐาน และข้าสังเกตกันทั้งนั้น
“ศิลป์” เองก็ไม่ได้ต่างกัน เพราะศิลป์เองก็มาจากความสร้างสรรค์ โดยการวิเคราะห์มัน เพื่อที่จะให้คุณค่า พร้อมกับวิภาควิจารณ์ ในตัวงานศิลป์แต่ละแขนง ไม่ว่าจะคุณจะสร้างสรรค์มันเองหรือว่าเสพมัน แต่สุดท้ายนั้นมันก็เริ่มต้นมาจากการสังเกตกันทั้งนั้น
เพราะถ้าคุณไม่สังเกต คุณก็จเหม่มีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน แล้วถ้าคุณไม่สังเกต คุณก็จะไม่มีโอกาสได้ วิเคราะห์วิจารณ์และให้คุณค่ากับสิ่งต่างๆที่เพื่อนร่วมโลกนั้นได้สร้างสรรค์มันขึ้นมา
ในระเบียบและวิธีการที่อาจแตกต่างกัน แต่มันก็อาจใช้งานร่วมกันได้ ด้วยพฤติกรรม การใช้ชีวิต
ความงามและความพึงพอใจ มักมีพื้นฐานมาจากสิ่ง ที่เรียกว่า “รสนิยม”
ความสนใจในมุมมองโดยผ่านการ สังเกตการณ์ อย่างมีวิจารณญาณมักสร้างเสริมให้โลกใบนี้นั้นสดใส
ผมเป็นคนช่างสงสัย คุณเองก็เป็นคนช่างสงสัย เราต่างมีเรื่องราวที่น่าสนใจ ที่พร้อมสร้างสรรค์ให้โลกใบใหม่ นั้นหมุนไปอย่างสวยงาม
เพราะสังเกตจึงจดจำ พอจดจำจึงเข้าใจ พอเข้าใจจึงนำมาประยุกต์ใช้ แล้วผลที่ได้ เลยเป็นสิ่งใหม่ ที่บังเกิดแก่ตนเอง และผู้เพื่อนร่วมโลก
มาร่วมกันส่งต่อสิ่งดีๆ
จากเพื่อนมนุษย์ท่านหนึ่ง
ถึงเพื่อนร่วมโลกท่าอื่น

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา