ซึ่งโมเดลนี้คิดค้นขึ้นมาโดย Michael E. Porter ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย Harvard ในช่วงราวๆปี 1980 เพื่อใช้ในการวิเคราะห์การแข่งขันและความสามารถในการทำกำไรของแต่ละอุตสาหกรรม
โมเดลนี้มีชื่อเสียงเป็นอย่างมากและมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ตัวผมเองในการลงทุนมา 10 กว่าปีนี้ ก็ใช้ Model นี้ในการวิเคราะห์ แม้แต่ในคลาสเรียน MBA ที่ผมเพิ่งจะเรียนจนมา 2 วิชาหลักที่สอนเกี่ยวกับ Strategy ก็เน้นการเรียนการสอนที่ใช้ 5-Forces Analysis ในการวิเคราะห์เป็นหลัก
นี่เป็นเหตุผลที่ใน 5-Forces Analysis เวลาวิเคราะห์อุตสาหกรรมเหล่านี้ จะวิเคราะห์ 2 กลุ่มนี้แยกกันเสมอ ทำให้แบ่งออกเป็น Power of Supplier และ Power of Customer
แล้วธุรกิจแบบไหนละที่ไม่ได้เป็นธุรกิจแบบ Pipeline Business
มันก็คือ Platform Business Model นั่นเอง
แล้วอะไรคือ Platform Business Model ?
ผมขอยกวิธีอธิบายง่ายๆของอาจารย์ Jeff มาอธิบายก็แล้วกัน อาจารย์อธิบายไว้ว่า Platform Business Model คือธุรกิจที่ให้บริการลูกค้า หรือ Customer 2 กลุ่มขึ้นไป โดย Platform จะมีหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้สิ่งที่เรียกว่า Core interaction เกิดขึ้นภายใน Platform โดยที่ Platform เหล่านั้นไม่ได้เป็นเจ้าของสินค้าหรือบริการนั้นๆเอง
จริงๆแล้ว Platform Business Model นั้น มีมานานแล้ว ไม่ได้เพิ่งจะมีมาไม่กี่ปีนี้
ตลาดนัด ห้างเซ็นทรัลในโซนพลาซ่าของ CPN ก็เป็นธุรกิจแบบ Platform Business Model เหมือนกับ Shopee หรือ Lazada เพียงแต่มันอยู่ในรูปของ Physical ไม่ใช่ Digital
ผับบาร์ต่างๆก็กึ่งๆจะเป็นธุรกิจแบบ Platform เพราะ เค้าทำตัวเป็นสถานที่ให้ผู้ชายและผู้หญิงได้เข้ามาเจอกัน นึกออกมั้ยครับว่า ทำไมบางผับต้องจัด Lady night ที่มีเครื่องดื่มฟรีสำหรับผู้หญิง ก็เพราะว่าถ้าผู้หญิงเข้ามาเยอะ ก็จะดึงดูดให้ผู้ชายเข้ามาเยอะด้วยนั่นเอง
1
Dealmaker หรือ เหล่าบรรดา Headhunter ต่างๆก็ทำหน้าที่คอยจับคู่ธุรกิจ หรือคนหางานให้มาเจอกัน พวกนี้ก็ทำหน้าที่คล้ายๆกับเป็น Platform Business Model เหมือนกัน เพราะเค้าก็ต้องดูแลทั้ง 2 ฝ่ายให้พอใจกับดีลต่างๆที่เค้าทำให้เกิดขึ้น
แต่ว่าในปัจจุบัน พอทุกอย่างมันเป็น Digital Economy การเติบโตและการขยายตัวของ Platform Business Model มันจะรุนเเรงเป็นทวีคูณ ทรงพลัง และสร้างแรงคุกคามต่อธุรกิจแบบดั้งเดิมเป็นอย่างมาก