21 ก.ค. 2020 เวลา 16:16 • การศึกษา
สวัสดีครับโพสต์นี้ จะเป็นการกล่าวถึงเรื่อง "พินัยกรรม" นะครับ
รูปภาพจาก canva.com
ก่อนอื่นเราเรามาทำความรู้จักกันเรื่องของ พินัยกรรม กันนะครับ
พินัยกรรม คืออะไร ?
พินัยกรรม คือ นิติกรรมหรือคำสั่งสุดท้ายที่บุคคลหนึ่งซึ่งแสดงเจตนาในเรื่องของ
ทรัพย์สินของตนเอง หากว่าตนเองนั้นได้เสียชีวิต
ซึ่งหากเป็นพินัยกรรมที่ถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว ก็จะมีผลทำให้บรรดา
ทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรมนั้นตกสู่บุคคลที่ถูกระบุไว้ในพินัยกรรม
ฉะนั้นหมายความว่า หากผู้ทำพินัยกรรมอยากจะยกทรัพย์สมบัติให้แก่ใคร ก็สามารถยกให้แก่บุคคลนั้นได้ แม้ว่าบุคคลนั้นจะไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดก เช่น
คู่สมรส พ่อแม่ หรือลูกหลาน ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกก็ตาม
พินัยกรรม มีกี่แบบ ?
แบบของพินัยกรรมนั้น ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ มี 5 แบบ
1. พินัยกรรมแบบธรรมดา (ป.พ.พ. มาตรา 1656)
2. พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ (ป.พ.พ. มาตรา 1657)
3. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง (ป.พ.พ. มาตรา 1658)
4. พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ (ป.พ.พ. มาตรา 1660)
5. พินัยกรรมทำด้วยวาจา (ป.พ.พ. มาตรา 1663)
แล้วหากเราอยากจะทำพินัยกรรม ควรจะทำพินัยกรรมแบบไหนดี ?
หากจัดอันดับในแง่ของ น้ำหนักความน่าเชื่อถือและป้องกันการโต้แย้งในพินัยกรรม
ได้ดีที่สุด ก็คงจะยกให้แก่ การทำพินัยกรรมเป็น "เอกสารฝ่ายเมือง" ครับ
เนื่องจากการทำพินัยกรรมเป็น "เอกสารฝ่ายเมือง" เป็นการทำเอกสารต่อหน้า
เจ้าหน้าที่ของรัฐและได้รับการรับรองความถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ซึ่งเป็นคนกลางที่น่าเชื่อถือที่สุดในแง่ของกฎหมาย
ถ้าอยากจะทำ "พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง" จะไปทำที่ไหน ?
หากอยู่ต่างจังหวัด เราสามารถไปทำพินัยกรรมได้ ณ ที่ว่าการอำเภอ
หากอยู่กรุงเทพมหานคร ก็ให้ไปทำที่ ณ สำนักงานเขต
ต้องเตรียมตัว เตรียมเอกสาร อะไรไปบ้าง ?
1. บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง + ทะเบียนบ้านฉบับจริง
พร้อมสำเนา (หากลืมคัดที่อำเภอหรือสำนักงานเขตได้)
2. เอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จะทำพินัยกรรม
3. กรณีผู้ทำพินัยกรรมอายุเกิน 60 ปี หรือป่วย ควรมีใบรับรองแพทย์
(โดยแจ้งแก่แพทย์ว่า จะนำไปเพื่อประกอบการทำพินัยกรรม เพื่อรับรองว่า
"มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนสมบูรณ์)
4. พยานบุคคลอย่างน้อย 2 คน (ต้องไม่มีส่วนได้เสียกับพินัยกรรม)
พร้อมบัตรประชาชน และ ทะเบียนบ้าน
5. หลักฐานอื่นๆ (ถ้ามี)
ค่าธรรมเนียม :
กรณีทำในสำนักงานเขต 50 บาท คู่ฉบับๆ ละ 10 บาท
กรณีทำนอกสำนักงานเขต 100 บาท คู่ฉบับๆ ละ 20 บาท
การทำ "พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง" มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ?
1. ก็ให้บุคคลที่ประสงค์จะทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ยื่นคำร้อง
ตามแบบ "พ.ก.1" ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขต
2. เจ้าหน้าที่รับคำร้องพร้อมตรวจสอบหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3.เจ้าหน้าที่สอบปากคำผู้ร้อง(ผู้ทำพินัยกรรม) และพยาน เพื่อยืนยันว่าขณะทำ
พินัยกรรมผู้ร้อง(ผู้ทำพินัยกรรม)มีสติสัมปชัญญะครบถ้วนสมบูรณ์ดี
4.เจ้าหน้าที่ จัดพิมพ์พินัยกรรม (พ.ก.2) และทำความเห็นเสนอผู้บังคับบัญชา
ตามลำดับชั้นจนถึงผู้มีอำนาจลงนามอนุมัติ/ไม่อนุมัติ
5.ผู้มีอำนาจลงนาม อนุมัติหรือไม่อนุมัติ
กรณี "อนุมัติ" ให้อ่านข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้จดแจ้งไว้นั้น แก่ผู้ทำพินัยกรรม
และพยาน 2 คน ฟังต่อหน้า และ
ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยาน ลงลายมือชื่อต่อหน้าผู้มีอำนาจลงนาม
ผู้มีอำนาจลงนาม อนุมัติในพินัยกรรม(พ.ก.2) พร้อมประทับตราประจำตำแหน่ง
และลงนามในสมุดทะเบียนพินัยกรรม
ออกใบรับพินัยกรรมตามแบบ พ.ก.7 (หากผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะรับพินัยกรรมทันทีไม่ต้องออกใบรับพินัยกรรม)
กรณี "ไม่อนุมัติ" ให้แจ้งผู้ร้อง(ผู้ทำพินัยกรรม) ทราบถึงสาเหตุที่ไม่อนุมัติ
และแจ้งสิทธิแก่ผู้ร้อง(ผู้ทำพินัยกรรม)ในการอุทธรณ์คำสั่งได้ ภายใน 15 วัน
6. เจ้าหน้าที่ส่งมอบ "พินัยกรรม" ให้กับผู้ทำพินัยกรรม
กรณี "ผู้ทำพินัยกรรมจะรับพินัยกรรมทันที" เจ้าหน้าที่ต้องคัดสำเนาพินัยกรรมไว้
แล้วลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราประจำตำแหน่ง แล้วเก็บสำเนาไว้
ที่มา : คู่มือสำหรับประชาชน ตามพรบ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณา
อนุญาตของราชการ พ.ศ. 2558 (ฝ่ายปกครอง เล่ม 4)
จะเห็นได้ว่าการทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนั้น แม้จะมีขั้นตอนหลายขั้นตอนก็จริงอยู่ แต่กระนั้นก็ทำให้พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนี้ มีนำหนักความน่าเชื่อถือสูงที่สุดในบรรดาแบบของพินัยกรรมทั้งหลายนั้นเอง
หากอยากจะทำพินัยกรรมแบบอื่นๆล่ะ ?
ก็มี "พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ" ซึ่งมีขั้นตอนคล้ายๆกับการทำพินัยกรรมแบบ
เอกสารฝ่ายเมือง ต่างกันเพียง
การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ต้องแจ้งข้อความในพินัยกรรม
แก่เจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อให้เจ้าหน้าจัดพิมพ์พินัยกรรม และอ่านข้อความในพินัยกรรม
ให้ฟังต่อหน้าผู้ทำพินัยกรรมและพยาน
ส่วนพินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับนั้น ผู้ทำพินัยกรรมจะทำพินัยกรรมและใส่ซอง
ปิดผนึกมาแล้ว แต่จะนำซองปิดผนึกนี้ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อให้ลงนาม
และประทับตราประจำตำแหน่ง รับทราบว่ามีการทำพินัยกรรมกันจริง
หรืออาจจะทำพินัยกรรมโดยให้ทนายความ เป็นผู้จัดการให้ซึ่งทนายความแต่ละท่านก็อาจจะเลือกแบบพินัยกรรมตามความเหมาะสมให้
สาระน่ารู้ !
รู้หรือไม่ว่า ปริมาณเฉพาะใน "คดีแพ่ง" ที่ขึ้นสู่ศาลชั้นต้นนั้น มีเท่าไร ?
โดยในแต่ละปี มีปริมาณคดีที่ขึ้นสู่ ศาลชั้นต้น มากกว่า 1 ล้านกว่าคดีโดยในปี
2561 มีปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลชั้นต้น 1,883764 คดี
2562 มีปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลชั้นต้น 1,869,316 คดี และในปี
2563 ช่วงมกราคม-เมษยน มีปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลชั้นต้นไปแล้ว 537,258 คดี
ที่มา : สำนักแผนงานและงบประมาณ
Photo: canva

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา