23 ก.ค. 2020 เวลา 11:00 • ประวัติศาสตร์
โศกนาฎกรรมโลกไม่ลืม! เกร็ดสาระน่ารู้ของ 'เหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล' ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน
WIKIPEDIA FAIR USE
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
เป็นเวลาสามสิบกว่าปีมาแล้ว ที่ได้เกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิลระเบิดหากใครที่มีอายุเกินหลักสามไปแล้วก็น่าจะรู้เรื่องราวหายนะครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นบนโลกเป็นอย่างดี แต่ถ้าใครที่ไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อน ย้อนกลับไปในช่วงตีหนึ่งครึ่งของวันที่ 26 เมษายน ค.ศ.1986 เตาปฏิกรณ์หมายเลขสี่ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลมีความร้อนเกินขีดจำกัดและได้ระเบิดขึ้น จนทำให้สารกัมมันตรังสีรั่วไหลออกสู่โลกภายนอก จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และนำมาสู่การอพยพพลเรือนนับแสนคน หายนะครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลต่อชาวโซเวียตในช่วงเวลานั้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบไปถึงหลายประเทศในทวีปยุโรปอีกด้วย
เรามีบทสรุป 10 ข้อ ที่จะทำให้คุณเข้าใจเหตุการณ์โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิลระเบิดได้มากขึ้น
1. แม้เหตุการณ์จะเกิดขึ้นภายในสหภาพโซเวียต แต่ในช่วงเวลานั้น ค.ศ.1986 ยังเป็นช่วงเวลาของสงครามเย็น ทางการสหภาพโซเวียตไม่ได้ประกาศแจ้งเตือนไปยังทวีปยุโรปว่าเกิดอะไรขึ้น เนื่องจากพวกเขาต้องใช้เวลาอีกหลายวันในการแจ้งเตือนประชาชนของตนเองที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลให้รีบอพยพออกไป แต่เป็นประเทศสวีเดน ที่ตรวจจับค่ารังสีที่สูงผิดปกติและแจ้งเตือนไปทั่วทวีปยุโรปว่าโลกกำลังเผชิญหน้ากับหายนะครั้งใหญ่
WIKIPEDIA PD
2. หลังจากเกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด มีผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตและล้มป่วยลงเนื่องจากสัมผัสกับสารกัมมันตรังสี ทางการโซเวียตจึงใช้ไอโอดีน-131 (Iodine-131) แก่ประชาชนเอาไว้กิน โดยไอโอดีน-131 มีคุณสมบัติเป็นเกราะป้องกันร่ายกายในเบื้องต้น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สารกัมมันตรังสีเองก็มีไอโอดีน-131 ปะปนอยู่ หากเรารับไอโอดีน-131 ที่ปนเปื้อนมากับสารกัมมันตรังสีมากเกินไป ก็จะทำให้เกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์และนำไปสู่การเสียชีวิต แต่มันก็ยังมีทางป้องกัน ก็คือเราต้องกินไอโอดีน-131 เข้าไปก่อน ก็เพื่อให้ร่างกายไม่รับสารไอโอดีน-131 เพิ่มเข้าไปอีก เปรียบเสมือนว่าร่างกายของเราเหมือนคลังเก็บสินค้า เมื่อสินค้าเต็มแล้ว สินค้าที่มาล็อตใหม่ก็ไม่มีที่เก็บนั่นเอง
3. สตรอนเทียม-90 (Strontium-90) และ ซีเซียม-137 (Cesium-137) คือสองวายร้ายตัวจริงที่ปนเปื้อนมากับสารกัมมันตรังสี สตรอนเทียม-90 จะถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกายของเด็กเล็ก ที่ดื่มนมหรือบริโภคเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี ส่วนซีเซียม-137 มีคุณสมบัติคล้ายโพแทสเซียม กล่าวคือ มันสามารถปนเปื้อนเข้าไปในเลือดและเนื้อเยื่อของมนุษย์และสัตว์ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมายจนนำไปสู่การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
4. สารกัมมันตรังสีสามารถแผ่ไปได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นวิทยุ ความร้อน แสงสว่าง รวมถึงกระแสของอนุภาคที่เคลื่อนที่เร็ว เช่น รังสีคอสมิก รังสีอัลฟ่า รังสีเบต้า สารกัมมันตรังสีสามารถทำลายเซลล์และดีเอ็นเอของมนุษย์ได้อย่างง่ายดายอีกด้วย
5. ในทางทฤษฎีไม่มีใครอยู่ในโซนอันตรายใกล้โรงงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิลและในเมืองพริฟยาตอีกแล้ว แต่ในความเป็นจริง ยังมีผู้อาศัยหลงเหลืออยู่ในเขตโซนสีแดงอยู่บ้าง ยกตัวอย่างเช่น Ivan Shamyanok คุณปู่วัย 90 ปี ที่ยังอาศัยอยู่ในหมู่บ้านใกล้โรงงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิลกับภรรยาและหลานสาว โดยปฏิเสธคำขอร้องให้อพยพของทางการ
WIKIPEDIA CC CARL MONTGOMERY
6. แม้เวลาจะผ่านไปนานสามสิบกว่าปีนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด แต่ยังมีพื้นที่อันตรายภายในเมืองพริพยาต ที่สามารถตรวจจับปริมาณสารกัมมันตรังสีในปริมาณที่สูงและเป็นอันตรายต่อมนุษย์อยู่ดี
7. จากการที่สารกัมมันตรังสีรั่วไหล จึงทำให้สิ่งมีชีวิตในพื้นที่อันตรายเกิดความเจริญเติบโตผิดปกติ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับมนุษย์ และดูเหมือนการสิ่งมีชีวิตในเชอร์โนบิลแทบไม่ได้รับผลกระทบเท่ากับมนุษย์ จึงทำให้พวกมันสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสงบสุขโดยไม่มีมนุษย์คนไหนไปรบกวนพวกมัน
8. หนังสือวิวรณ์ (Book of Revelations) หนังสือเล่มที่ 27 หรือเล่มสุดท้ายในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ได้เคยมีการพยากรณ์เหตุการณ์บางอย่าง ที่สามารถเชื่อมโยงไปที่เหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิดได้ กล่าวคือ มีดาวขนาดใหญ่ที่ถูกเรียกว่า ‘Wormwood’ ที่นำหายนะวันสิ้นโลกมาสู่มวลมนุษย์ และที่น่าแปลกก็คือ คำว่า เชอร์โนบิล (Chernobyl) ที่ถูกนำมาใช้ตั้งชื่อเมืองและโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็คือคำเรียก Wormwood ในภาษารัสเซียนั่นเอง
WIKIPEDIA PD
9. แม้ถูกประกาศเป็นพื้นที่หวงห้าม แต่ทางการก็อนุญาตให้เราสามารถเข้าไปท่องเที่ยวภายในพื้นที่ประสบภัยได้โดยมีคณะนักวิทยาศาสตร์ติดตามไปเพื่อให้ความรู้และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวระหว่างอยู่ในพื้นที่ประสบภัย
10. แม้ได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่เสี่ยง แต่เชอร์โนบิลก็เปรียบเสมือนห้องทดลองขนาดใหญ่ ที่ทำให้เราได้ศึกษาผลกระทบของสารกัมมันตรังสีที่มีต่อมนุษย์และสัตว์ เพื่อหาทางรับมือและป้องกันเหตุที่ไม่คาดฝันในอนาคตข้างหน้า
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา