Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สาระกฎหมาย by LawyerTon
•
ติดตาม
23 ก.ค. 2020 เวลา 06:04 • การศึกษา
อายุความในการฟ้องร้อง "หนี้เงิน" นั้นมีเท่าไรกันบ้าง เรามาดูกันครับ..
รูปภาพจาก pixabay
อายุความ คือ ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้ใช้สิทธิเรียกร้อง
ในหนี้สินหรือสิทธิใดๆ ในการฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดนั้น
เรามาดู "อายุความ" ใน "หนี้เงิน" กันครับ (อธิบายแบบภาษาบ้านๆนะครับ)
1. อายุความ 2 ปี : เช่น หนี้บัตรเครดิต , หนี้บัตรกดเงินสด เป็นต้น
**มีลักษณะเป็นการทดรองจ่าย
**หนี้บัตรกดเงินสดบางประเภทมีอายุความ 5 ปี หากมีลักษณะ
ที่ผ่อนชำระทุนคืน "เป็นงวดๆ (ให้ดูที่ลักษณะของสัญญาเป็นหลัก)
2. อายุความ 5 ปี : ที่มีลักษณะ ผ่อนชำระทุนคืน "เป็นงวดๆ" เช่น
>>> 2.1 สินเชื่อส่วนบุคคล
>>> 2.2 หนี้บัตรกดเงินสด(บางประเภท)
เป็นต้น
3. อายุความ 10 ปี : กรณีหนี้ที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ เช่น
>>> 3.1 สัญญากู้ยืม ที่มีการกำหนดชำระทุนคืนทั้งหมด "ในครั้งเดียว"
(ไม่ใช่แบบผ่อนชำระเป็นงวดๆ)
>>> 3.2 บัญชีเดินสะพัด เบิกเงินเกินบัญชี
เป็นต้น
*หมายเหตุ*
หากเจ้าหนี้ไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
หนี้นั้นจะกลายเป็น “หนี้ที่ขาดอายุความ”
ซึ่งมีผลทำให้ลูกหนี้มีสิทธิที่จะ "ปฏิเสธการชำระหนี้" แก่เจ้าหนี้ได้
ตามป.พ.พ. มาตรา 193/9 และมาตรา 193/10
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อหนี้ดังกล่าวเป็น “หนี้ที่ขาดอายุความ”แล้ว
เจ้าหนี้จะไม่มีสิทธิที่จะฟ้องร้องคดีต่อศาล เพราะว่า..
เจ้าหนี้ยัง "มีอำนาจ" ที่จะฟ้องร้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้
เพียงแต่ลูกหนี้ "มีสิทธิ" ที่จะ "ปฏิเสธการชำระหนี้" แก่เจ้าหนี้ได้ตามกฎหมาย
ซึ่งการที่ลูกหนี้จะได้รับประโยชน์จาก "หนี้ที่ขาดอายุความ" ได้นั้น
ลูกหนี้จะต้อง "ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้" เท่านั้น
เพราะหากลูกหนี้ มิได้ยกอายุความขึ้นข้อต่อสู้แล้ว
ศาลจะยกฟ้องโจทก์(เจ้าหนี้) ด้วยเหตุที่ว่าหนี้ขาดอายุความแล้ว "ไม่ได้"
ตามป.พ.พ. มาตรา 193/29
บันทึก
1
1
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายทั่วๆไป
1
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย