22 ก.ค. 2020 เวลา 15:06 • การศึกษา
ถูกเลิกจ้าง!! ทำอย่างไรดี ((ลูกจ้างควรได้ “สิทธิ” อะไรบ้าง))
รูปภาพจาก pixabay.com
ในโพสต์นี้ เราจะมาพูดถึงกรณี ที่ถูกนายจ้างให้ออกจากงานกันครับ
เป็นควรสิ่งต้องรู้เมื่อถูกเลิกจ้าง
เพื่อให้ทราบถึง “สิทธิ” ตามกฎหมายที่ตนเองควรได้รับ
เมื่อถูกนายจ้าง ให้ออกจากงาน หรือ เลิกจ้าง
เลิกจ้าง คือการกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป และไม่จ่ายค่าจ้างให้..
ฉะนั้นเมื่อลูกจ้างถูกนายจ้าง "เลิกจ้าง"
ลูกจ้าง มีสิทธิ ตามกฎหมายแรงงาน ดังต่อไปนี้
1. ค่าจ้าง ,ค่าล่วงเวลา ,ค่าทำงานในวันหยุด ,ค่าล่วงเวลาในวันหยุด
ที่นายจ้างยังค้างจ่าย ซึ่งนายจ้างต้องจ่ายภายใน 3 วัน นับแต่วันเลิกจ้าง
2. ค่าวันหยุดพักผ่อนประจำปี (หากยังเหลือวัน)
3. สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือ ค่าตกใจ
หากเป็นกรณีที่เป็นสัญญาจ้างที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ หรือ ทดลองงาน
หากนายจ้างเลิกจ้าง ต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป
หากไม่แจ้งล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
โดนนายจ้างต้องจ่ายในวันที่เลิกจ้าง
4. ค่าชดเชย (ตามระยะเวลาที่ทำงาน)
นายจ้างต้องจ่ายในวันที่เลิกจ้าง
5. ค่าทดแทนกรณีเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม (ต้องเรียกร้องทางศาล)
เป็นต้น
ในบางบริษัทเมื่อมีการเลิกจ้างก็จะเตรียมจ่ายเงินค่าจ้าง ค่าชดเชยต่างๆ
ไว้ให้พร้อมอยู่แล้ว ซึ่งกรณีนี้มักจะไม่มีปัญหาเพราะจบกันด้วยดี
แต่ก็ยังมีบางบริษัทที่ มักจะใช้กลวิธี หลายๆอย่างเช่น กดดัน บีบให้ลาออก
หรือ ย้ายที่ทำงานลูกจ้าง ฯลฯ
หรือแม้แต่ใช้กลวิธี เช่น บางกรณีนายจ้างออกใบเตือนให้แก่ลูกจ้าง
โดยอ้างว่าลูกจ้างขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาเนื่องจากเรื่องทำยอดขาย
ไม่ได้ตามเป้าที่กำหนด และเรื่องอื่นๆ ซึ่งทำให้คิดว่าลูกจ้างมีความผิด
ตามกฎหมาย เช่น เป็นการขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา หรือ ผิดซ้ำคำเตือน เป็นต้น
จุดประสงค์ก็เพื่อนายจ้างจะได้ไม่ต้องจ่ายเงิน เช่น
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และ ค่าชดเชย ฯลฯ เป็นต้น
ซึ่งในกรณีหากลูกจ้างไม่พอใจ ก็สามารถยื่นเรื่องต่อ
1. พนักงานตรวจแรงงาน ณ สํานักงานคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่
ที่บริษัทตั้งอยู่
2. ฟ้องร้องต่อศาลแรงงาน ก็ได้
**หมายเหตุ*** กรณีที่ลูกจ้าง ยินยอม "ลาออก" เอง หรือ
ไปลงชื่อในใบ "ลาออก"
จะทำให้ลูกจ้าง "ไม่ได้มีสิทธิได้รับเงินตามกฎหมาย
ที่กล่าวไว้ข้างต้น เช่น
ค่าชดเชย
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือ
ค่าทดแทนกรณีเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เป็นต้น
เพราะถือว่า เหตุที่ออกจากงานไม่ได้เป็น "การเลิกจ้าง"
แต่เป็นการ ลาออก
หากกรณีมีปัญหาเกิดขึ้น นายจ้างจะให้ลงชื่อในเอกสารอะไร
โปรดอ่านข้อความให้ถี่ถ้วน ก่อนลงชื่อในเอกสาร
เพราะเมื่อลงชื่อก็จะมีผลผูกพันตามข้อความในเอกสารนั้น
นอกจากเรื่องกฎหมายแรงงานแล้วนั้น
ลูกจ้างยังสามารถไปขึ้นประกันสังคม เรียกเงินค่าทดแทนกรณี "ว่างงาน" ได้
โดยไปติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา