23 ก.ค. 2020 เวลา 12:00 • สุขภาพ
"เลซิติน" (Lecithin) คืออะไร?
เลซิติน คือ สารธรรมชาติที่ช่วยดักจับไขมัน และคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด
เกิดจากการรวมตัวของกลีเซอรอล กรดไขมัน และกรดฟอสฟอริก
เลซิติน เป็นหน่วยพื้นฐานในทุก ๆ เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
2
เลซิติน จัดเป็นสารสำคัญที่มีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายหลายระบบ และดีต่อ “สมองและระบบประสาท” เป็นอย่างมาก
ประโยชน์ของ "เลซิติน"
1. ช่วยป้องกันและสลายคอเลสเตอรอล หรือไขมันที่อุดตันในหลอดเลือด จึงนิยมในกันมากในผู้ที่มีปัญหาไขมันอุดตันในหลอดเลือด
1
2. ฟอสฟาทิดิลโคลีน (Phosphaticylcholine) ซึ่งให้สารโคลีน เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประเภท "อะเซททิลโคลีน" จะช่วยให้ความจำ และความสามารถในการเรียนรู้ดีขึ้น
3. ให้สารอิโนซิทอล (Inositol) ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยบำรุงเซลล์ประสาท ทำให้การทำงานของระบบประสาทดีขึ้น
4. ป้องกัน และรักษาโรคความจำเสื่อม (Alzheimer’s disease) (ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา)
5. รักษาภาวะซึมเศร้าบางประเภท (Depression) ภาวะวิตกกังวล (Anxiety)
6. ลดการอุดตันของถุงน้ำดี (Gall Stones)
7. รักษา ท่อน้ำนมอุดตัน
8. ช่วยให้การทำงานของตับมีประสิทธิภาพมากขึ้น
9. ช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ ดี อี และเค ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"รับ 'เลซิติน' ในปริมาณที่เหมาะสม"
1
ปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการกินผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเลซิติน คือ
1,200 – 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน
ซึ่งเป็นปริมาณที่พอดีกับการรับประทานเพื่อบำรุงสมอง
2
#สาระจี๊ดจี๊ด
นอกจากนี้...
หากต้องการรับประทานเพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลก็สามารถรับประทานได้ในปริมาณ 2,400 – 3,600 มิลลิกรัมต่อวัน
1
"ผลข้างเคียงของ เลซิติน"
(เมื่อได้รับในปริมาณมากเกินไป)
1. อาจจะมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน
2. อาจจะมีปัญหาบ้างเกี่ยวกับความอึดอัดในช่องท้อง
"แหล่งกำเนิดของเลซิติน"
4
มี 2 แหล่ง คือ...
1. แหล่งธรรมชาติ
พบได้ทั้งในพืชและสัตว์ โดยจะพบมากในไข่แดง สมอง หัวใจ ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง จมูกข้าวสาลี เป็นต้น ส่วนใหญ่อาหารเหล่านี้มักจะให้คอเลสเตอรอลสูงด้วย
3
2. ร่างกายมนุษย์
สามารถผลิตเลซิตินขึ้นได้เองโดย “ตับ” สารตั้งต้นที่ร่างกายใช้ผลิตเลซิติน เช่น กรดไขมันจำเป็น วิตามินบี และสารอาหารสำคัญอื่น ๆ หากร่างกายได้รับสารอาหารต่าง ๆ เหล่านี้ไม่เพียงพอจะส่งผลให้ร่างกายสร้างเลซิตินได้ไม่เพียงพอ ซึ่งมีโอกาสเกิดโรคภัยต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น โรคเส้นเลือดหัวใจแข็งตัว โรคนิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น
"เลซิติน กับ สมอง"
1
เยื่อบุผิวของเซลล์สมองและประสาท รวมทั้งสารสื่อนำกระแสประสาท (neurotransmitter) ชื่อ “อะเซททิลโคลีน”
ล้วนแล้วแต่มีเลซิตินเป็นองค์ประกอบทั้งสิ้น
สาร "โคลีน" ในเลซิตินจัดเป็นส่วนประกอบของสารสื่อนำกระแสประสาท
ทำให้เกิด...
การถ่ายทอดความรู้สึกหรือข้อความต่าง ๆ ผ่านเข้าไปในระบบประสาท
โดยอาศัยการเชื่อมกันระหว่างเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์ หรือจากเซลล์ประสาทสู่กล้ามเนื้อ เกิดเป็นการถ่ายทอดด้านอารมณ์ ความจำ ความรู้สึก การพูด การเคลื่อนไหว
1
นอกจากนี้...
เลซิติน ยังทำให้มีการเรียนรู้ดีขึ้นและมีความจำที่ดี
รวมทั้งเป็นแหล่งพลังงานสำหรับผู้ที่มี "ความเครียดสูง"
เนื่องจากสามารถเข้าสู่สมองได้โดยตรงทางกระแสเลือด ทำให้เกิดการดึงเอาเลซิตินไปใช้ในขณะที่มีความเครียดสูงได้ทันที
#สาระจี๊ดจี๊ด
"เลซิตินเหมาะมากสำหรับผู้ที่มีความเครียดสูง"
เลซิติน ที่ทำจากถั่วเหลืองนั้นนับเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
พบได้ทั่วไปในท้องตลาด
เรียบเรียง : Wasabi ความรู้ขึ้นสมอง!
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
พิสูจน์อักษรโดย วาลีพ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา