23 ก.ค. 2020 เวลา 12:53 • การตลาด
สร้าง Brands ให้ดีได้ด้วยการรู้จัก Jung’s Archetypes
การรู้จัก Brands ก็เหมือนการรู้จักอุปนิสัยของคน ยังไงน้ะ ?
คือจริงๆแล้วการสร้างแบรนด์ ก็ต้องเริ่มจากการรู้จักเค้าให้ดีซะก่อน คล้ายๆ กับอุปนิสัยของคนเรา ซึ่งในทีนี้ ให้เพื่อนๆคิดภาพว่าเป็นนิสัยของแบรนด์ประเภทนั้นๆละกันเน้อะ
แล้วมันเกี่ยวกับ Jung’s Archetypes ยังไง อ้ะ ไปดูกัน !
งั้นก่อนอื่นเลย มารู้จักกับ Jung’s Archetypes กันก่อน
Jung คือใคร ?
- เค้าคนนี้คือ Carl Jung
- และเค้าคนนี้เป็นนักจิตวิทยา ผู้สร้างต้นแบบของอุปนิสัยพื้นฐานที่แตกต่างกันของคน
- **ขอแก้ไขเพิ่มเติมที่ได้รับคอมเม้นมาจาก คุณ สิรภพ พงศ์ทรัพย์ธาดา
ใจความว่าคาร์ล ยุง ตอนอายุ 30 ทำงานเป็นอินเทิร์น (แพทย์อาสา) อยู่ที่ Phychiatric University Hospital Zurich เวลานั้นเขาได้อ่านงานวิจัยของซิกมันด์ ฟรอยด์ซึ่งเป็นแนวคิดตั้งต้นที่คาร์ล ยุงได้นำมาพัฒนางานวิจัยของตนเองและส่งไปให้ซิกมันด์ ฟรอยด์ที่เวียนนาในปี 1906 ผลงานของยุงค่อนข้างเข้าตาฟรอยด์มาก หลังจากนั้นจึงติดต่อกันเรื่อยมา ตอนที่คาร์ลทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกก็มีซิกมันด์ฟรอยด์เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
Carl Jung
Archetypes คือ แม่แบบ หรือต้นแบบ หรือ pattern เน้อะ
พอ 1 ชื่อ กับ 1 คำมารวมกัน (แต่จริงๆเค้าเรียกว่า Jungian Archetypesนะ)
ก็ทำให้เกิดทฤษฏีแรงขับแบบพื้นฐาน (ซึ่งใช้อธิบายกับคนเป็นหลักนะ) ซึ่งแน่นอนว่า เกิดมาจากแรงขับหลักๆของความต้องการของคนที่แตกต่างกันนน
ปล เกร็ดความรู้ ทฤษฏีจิตวิทยาและพฤติกรรมต่างๆที่ Carl Jung คิดขึ้นมาก็ยังเป็นต้นแบบให้กับ 16 types of MBTI และ 9 types of Enneagram ด้วยนะ (ไหนๆ มีเพื่อนๆคนไหนรู้จัก 2 อันนี้บ้างน้า ?)
แล้วเกี่ยวอย่างไรกับ Brands ?
- ก็ด้วยพื้นฐานการเข้าใจแรงขับเคลื่อน และความต้องการของคนเรานี่ละ ที่ทำให้แบรนด์ของเราสามารถสร้าง position ขึ้นมาได้
- โดยจะแบ่งด้วยกันเป็น 12 ประเภท ไปดูกันเลยยยย
Jung’s 12 personality archetypes (from Dominic ensor, seven design)
- ต้องขอบอกก่อนว่า ถ้าเกิดเราไล่ทั้ง 12 อันเนี่ย คิดว่าเพื่อนๆน่าจะปิดบทความทิ้งก่อนแน่เลย เอาเป็นว่าแค่เพื่อนมองปร้าดเดียว ก็น่าจะพอเข้าใจแล้วละว่าเค้าจะสื่อว่าอะไรนะ
เราขอยกตัวอย่างมาสัก 4 อันละกัน
1. The Innocent สื่อถึงความเยาว์วัย ความมีพลัง ความสุข เช่น Pepsi, Coke หรือ บริษัทเกมส์การ์ตูนอย่าง Nintendo, Sario
2. The Magician ในจุดยืนตรงนี้ ก็จะสื่อถึงจินตนาการที่ไม่สิ้นสุด ที่เป็นความจริง อย่าง Apple, Walt Disney
3. The Jester เป็นแนวของความสนุกสนาน ร่าเริง อย่าง M&M
4. The Caregiver แค่อ่านจากชื่อก็รู้แล้วว่า ต้องมาแนวแบบ protective หรือการช่วยเหลือ ในทีนี้ก็มองเป็น แบรนด์ยารักษาอย่าง Johnson & johnson, UNICEF
ความแตกต่างที่ตรงกันข้ามของ Archetypes
- เพื่อนๆสังเกตมุมตรงกันข้ามของวงกลมไหมเอ่ยยย ?
- ตัวอย่างที่ดีคือ Brand position ของสายการบิน Delta vs VIRGIN
- ทั้ง 2 แบรนด์เลือกจุดยืนพื้นฐานของแบรนด์แตกต่างกัน
- Delta อยู่ในแบบของ Caregiver ซึ่งเค้าได้ให้จุดเด่นของตัวเองในมุมของแบรนด์สายการบินที่มีความแคร์ด้านบริการ รวมถึงการช่วยเหลือสังคม ซึ่งก็จะมีความโบราณๆหน่อยๆ
- ในขณะที่ VIRGIN Airline มี position ในส่วนของ Outlaw หรือคือการแหกกฏและข้อบังคับในรูปแบบเดิมๆ (ในที่นี้คือการที่แบรนด์สายการบินมีความสดชื่น สดใส และร้อนแรง ซึ่งโดยปกติ แบรนด์สายการบินจะดูเรียบร้อยเน้อะ)
ทีนี้เพื่อนๆก็จะเห็นความแตกต่างของการเลือก position ของแบรนด์คร่าวๆแล้วเนาะ
งั้นขอสรุปสั้นๆตรงนี้ว่า
1. เพื่อนๆต้องเลือก Archetypes ที่เหมาะกับกลุ่มลูกค้าที่เพื่อนตั้งเป้าหมาย
2. Archetype ควรมีแค่ 1 theme ไม่งั้นเพื่อนๆจะไม่มีจุดยืนพื้นฐานของแบรนด์เลย
3. อย่าลืมสังเกตแบรนด์คู่แข่งในตลาดของเพื่อนๆด้วยละ ว่าน่าจะอยู่มุมไหนเน้อะ เราจะได้วิเคราะห์ถูก
4. ต้องเปนตัวของตัวเอง เพื่อนๆเห็นแล้วเนอะว่า ในด้านตรงข้ามกันของวงกลมเนี่ย ค่อนข้างมีความแตกต่างตรงกันข้ามชัดเจน ถ้าเราเพียงแค่อยากจับกลุ่มตลาดใหญ่ๆ หรือพยายามเป็นลักษณะอื่นๆ ไม่ยั่งงั้นละก็เพื่อนๆอาจจะสูญเสียความเป็นตัวตน
และจะทำให้แบรนด์ไม่มีความชัดเจน
5. มันไม่เกี่ยวหรอกนะว่าเพื่อนๆจะมี Brand Archetypes ที่เหมือนคู่แข่ง ซึ่งในบางธุรกิจเนี่ย ในช่องนั้นๆ อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้แบรนด์นั้นสามารถดึงจุดเด่นมาได้มากที่สุด
แต่มันอยู่ที่การที่เพื่อนๆสามารถเน้นจุดเด่นใน Types นั้นได้ออกมาอย่างดีที่สุด :)
โฆษณา