24 ก.ค. 2020 เวลา 07:03 • หุ้น & เศรษฐกิจ
แนวรับและแนวต้าน ตอนที่ 3 - พลังของกรอบราคาสามารถเป็นแนวรับและแนวต้านได้
1 ใน 8 สิ่งที่ใช้เป็นแนวรับและแนวต้าน
ในบทนี้ จะหยิบยกการใช้กรอบราคามาใช้เป็นแนวรับและแนวต้าน ซึ่งสามารถใช้ได้ดี นอกจากนี้ถ้าย้อนกลับไปอ่านเรื่อง Wyckoff cycle จะพบว่าการใช้ระยะสะสมและระยะกระจายมาดู จะพบพฤติกรรมการสร้างกรอบราคาเพื่อไปต่อหรือหมดรอบนั่นเอง
ซึ่งกรอบราคาที่กล่าวมานี้ จริงๆแล้วคือกรอบราคาที่มีจุดต่ำสุดหรือจุดสูงสุดที่ราคาเดิมๆเป็นระยะเวลาหนึ่ง ให้ลองนึกตามนะครับ
สมมติหุ้นตัวหนึ่ง ราคาวิ่งอยู่ระหว่าง 20-30 บาทมาเป็นเวลาหลายเดือน เราจะเห็นว่าถ้าราคาลงมาแถวๆ 20 บาททีไร ราคาจะเด้งกลับมาทุกครั้ง และเมื่อราคาเด้งถึงราคา 30 บาททีไร ก็จะกลับตัวลงมาทุกครั้งด้วยนั่นเอง ทำให้เราเห็นเป็นกรอบการเคลื่อนที่ราคาระหว่าง 20-30 บาท จนกว่าราคาจะเลือกทางว่าสุดท้ายจะขึ้นเหนือ 30 บาทหรือจะลงต่ำกว่า 20 บาท เป็นต้น
สรุป ถ้าเราเห็นการเคลื่อนที่ของราคาอยู่กรอบไม่ไปไหน ให้เราลองตีเส้นกรอบล่างและกรอบบนไว้ครับ จะเหมือนว่าราคาอยู่กรอบสี่เหลี่ยม นั่นคืออยู่ในแนวรับและแนวต้านที่เราสามารถใช้ได้นั่นเอง
ลองมาดูตัวอย่างดังภาพข้างครับ
ภาพที่ 1
จากภาพที่ 1 เป็นหุ้นในกลุ่มสื่อสิ่งพิมพ์ทำป้ายโฆษณา จะพบว่าใน Time frame week ราคาเคลื่อนตัวอยู่กรอบสี่เหลี่ยมราคา 5.3-7.5 บาทโดยประมาณ เป็นเวลาหลายเดือนไม่ไปไหน จนเดือนมิ.ย 2019 ราคาเลือกที่จะทะลุกรอบบนซึ่งก็คือแนวต้านขึ้นมานั่นเอง
ภาพที่ 2
จากภาพที่ 2 เป็นหุ้นในกลุ่มโรงแรมก่อนที่จะเกิดวิกฤติ covid-19 ใน Time week จะพบว่าราคาเคลื่อนที่ในกรอบราคา 32-43 บาทโดยประมาณก่อนที่ราคาจะเลือกทะลุลงกรอบล่างซึ่งก็คือแนวรับนั่นเอง ราคาจึงทิ้งตัวลงมาซึ่งเป็นช่วง covid-19
จากภาพที่ 3 เป็นหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี ใน Time frame day จะพบว่าราคาลงมาทำกรอบ 3.8-4.5 บาทโดยประมาณ ก่อนที่ราคาจะเลือกทะลุกรอบบนนั่นคือทะลุแนวต้านนั่นเอง
สรุปแล้ว การใช้กรอบราคาสามารถนำมาใช้เป็นแนวรับและแนวต้านได้ครับ และถ้านำมาเชื่อมโยงกับ Wyckoff cycle ด้วยจะทำให้เรารู้ว่ากรอบราคานี้อยู่ระยะสะสมหรือระยะกระจายนั่นเอง
สามารถอ่านบทความอื่นๆเกี่ยวกับกลยุทธ์ Run trend ได้ที่นี่ครับ
โฆษณา