24 ก.ค. 2020 เวลา 16:07 • หุ้น & เศรษฐกิจ
แนวรับและแนวต้าน ตอนที่ 4 - เส้นค่าเฉลี่ย EMA รับและต้านราคาหุ้น
1 ใน 8 สิ่งที่ใช้เป็นแนวรับและแนวต้าน
มาถึงเครื่องมือต่อไปที่ใช้เป็นแนวรับ-แนวต้านครับ นั่นคือเส้นค่าเฉลี่ย EMA ซึ่งเส้นค่าเฉลี่ยนี้มีค่าแตกต่างกันไปแล้วแต่คนจะใช้กัน และเส้นค่าเฉลี่ย EMA จะเหมาะกับหุ้นแต่ละตัวที่แตกต่างกันด้วย แต่โดยปกติแล้วเรามักจะใช้เส้นค่าเฉลี่ยกับหุ้นทั้งหมดที่เราดู
เส้นค่าเฉลี่ย EMA จะมีค่าแตกต่างกันตามจำนวนของแท่งเทียน เช่น EMA 15 จะหมายถึงเส้นค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของราคาแท่งเทียน 15 วันที่ผ่านมา เป็นต้น
คำถามคือเราจะใช้เส้นค่าเฉลี่ย EMA กี่เส้นและใช้ค่าเท่าไหร่บ้างในการใช้เป็นแนวรับและแนวต้าน
คำตอบคือไม่มีสูตรตายตัวชัดเจนว่าเราจะใช้กี่เส้นและกี่ค่า แต่เท่าที่นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้รวมถึงอาจารย์ต่างๆที่ชำนาญการเทรดหุ้นจะใช้ชุดเส้นค่าเฉลี่ย EMA 5 15 35 89 200 วันเป็นชุดแนวรับและแนวต้านของราคา หรืออาจจะใช้ชุดเส้นค่าเฉลี่ย EMA 20 50 200 วันเป็นอีกชุดหนึ่งก็ได้ครับ แล้วแต่การกำหนดของนักลงทุนว่าจะชื่นชอบชุดไหนและใช้กี่เส้น เป็นต้น
ส่วนตัวผมเองไม่ได้ใช้เส้นค่าเฉลี่ย EMA เป็นแนวรับหรือแนวต้านครับ แต่ผมจะใช้เส้นค่าเฉลี่ยเป็นตัวบอกแนวโน้มว่าตอนนี้หุ้นมีแนวโน้มขาขึ้น (uptrend), sideway หรือขาลง (downtrend)
การจะใช้เส้น EMA เป็นแนวรับได้นั้น หุ้นควรจะมีแนวโน้มเป็นขาขึ้นก่อน แล้วพอราคาลงมาที่เส้น EMA เราสามารถเข้าซื้อได้ตามสัดส่วนเงินที่เราวางไว้ แต่ต้องมีจุดตัดขาดทุนที่ชัดเจนเมื่อหลุดเส้น EMA เส้นสุดท้าย
เช่น เราใช้เส้นค่าเฉลี่ย EMA 20 และ 50 เป็นแนวรับของหุ้นขาขึ้นตัวหนึ่ง ปรากฏว่าพอราคาหุ้นย่อตัวลงมาถึงเส้นค่าเฉลี่ย EMA 20 เราก็อาจเข้าซื้อส่วนหนึ่งเมื่อราคาลงมาแล้วไม่หลุดเส้นนี้ ซึ่งราคาอาจจะมีการเด้งกลับตัวขึ้นไปตามแนวโน้มเดิม คราวนี้ถ้าราคาดันลงมาที่เส้น EMA 50 เราก็อาจจะซื้อถัวเพิ่มขึ้นได้โดยต้องมีวินัยว่า ถ้าราคาหลุดเส้น EMA 50 ลงมาต้องขายตัดขาดทุนทั้งหมด แต่ถ้าราคาลงมาแล้วเด้งกลับ แสดงว่าเส้น EMA สามารถรับอยู่
ตรงกันข้าม ถ้าเราใช้เส้นค่าเฉลี่ย EMA 20 และ 50 เป็นแนวต้านของหุ้นขาลงตัวหนึ่ง ซึ่งถ้าหุ้นยังเป็นขาลงอยู่ เวลาที่ราคาเคลื่อนมาที่เส้น EMA 20 อาจจะมีการกลับตัวชนแล้วลงมา หรือถ้าราคาผ่านเส้นค่าเฉลี่ย EMA 20 วันขึ้นไปได้อาจจะชนเส้น EMA 50 แล้วกลับตัวลงมาเป็นแนวโน้มขาลงอยู่นั่นเอง
1
โดยสรุป การใช้เส้น EMA เป็นแนวรับจะใช้กับหุ้นขาขึ้น ซึ่งใช้เป็นจุดเข้าซื้อเมื่อราคาลงมาที่เส้น EMA ที่เราใช้พร้อมทั้งมีจุดจัดขาดทุนชัดเจนเมื่อราคาลงมาที่เส้น EMA เส้นสุดท้ายแล้วทะลุผ่านลงไป
1
ส่วนการใช้เส้น EMA เป็นแนวต้านจะใช้กับหุ้นขาลง ซึ่งใช้เป็นตัวบอกว่าถ้าราคาหุ้นเด้งขึ้นมาถึงเส้นนี้อาจจะเด้งลงต่อได้ จึงไม่ใช้เป็นจุดเข้าซื้อเพราะควรจะลงทุนหรือเทรดหุ้นแนวโน้มขาขึ้นครับ
ตัวอย่างประกอบการใช้เส้น EMA เป็นแนวรับและแนวต้านครับ โดยเส้นสีน้ำเงิน คือ เส้นค่าเฉลี่ย EMA 20 วันและเส้นสีส้ม คือ เส้นค่าเฉลี่ย EMA 50
ภาพที่ 1
จากภาพที่ 1 จะสังเกตว่าหุ้นเป็นแนวโน้มขาขึ้นโดยมีเส้นค่าเฉลี่ย EMA 20 อยู่เหนือเส้นค่าเฉลี่ย EMA 50 วัน เมื่อราคาย่อตัวลงมาที่เส้นสีน้ำเงินจะพบว่ารับราคาอยู่หลายครั้ง เด้งกลับขึ้นไป และมีบางครั้งที่ราคาลงมาที่เส้นส้มก็สามารถรับราคาได้อยู่เช่นกัน
พอราคาหลุดเส้นส้มลงมา จะพบว่าไม่สามารถรับอยู่ จึงมีโอกาสเปลี่ยนแนวโน้มจากขาขึ้นไปเป็นออกข้างหรือขาลงครับ ซึ่งพอราคาหลุดเส้นสีส้มแล้วควรจะขายออกมาครับ
ภาพที่ 2
คราวนี้มาดูฝั่งที่เป็นหุ้นขาลงบ้างครับ
ภาพที่ 3
จะพบว่าพอราคาเด้งมาที่เส้นน้ำเงินและเส้นส้ม ราคาจะกลับตัวลงมาตามแนวโน้มเดิมจนกว่าราคาจะข้ามเส้นน้ำเงินและเส้นส้มได้โดยไม่ถอยหลุดลงมาเส้นดังกล่าวอีก จึงเปลี่ยนแนวโน้มจากหุ้นขาลงเป็นออกข้างหรือขาขึ้นครับ
ภาพที่ 4
สามารถอ่านบทความอื่นๆเกี่ยวกับกลยุทธ์ Run trend ได้ที่นี่ครับ
โฆษณา