26 ก.ค. 2020 เวลา 04:18 • ปรัชญา
LVD#71 : Self Awareness (3/3) เรียนรู้ตัวตนจากมุมองคนอื่น
สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้เราจะมาคุยกันต่อกับ Self Awareness ตอนที่ 3 ที่ผมอ้างอิงจากหนังสือ Self Awareness ของ Harvard Business Review ซึ่งตอนนี้จะเป็นตอนสุดท้ายของซีรี่ส์แล้ว จากตอนแรกที่เราคุยถึงความหมายของคำว่า Self Awareness และตอนที่สองคือ Internal Self Awareness ซึ่งเป็นมุมมองต่อตัวตนของเราจากมุมมองของเราเอง และในตอนนี้เราจะพูดถึง External Self Awarenessกัน มันคืออะไร สำคัญยังไง ลองตามมาดูกันครับ
คือมันอย่างนี้ครับ...
External Self Awareness คืออะไร
External Self Awareness คือ ความสามารถของตัวเราในการเข้าใจว่าผู้อื่นมองตัวเรายังไง
แค่เข้าใจว่าตัวเองจากมุมมองตัวเองก็ว่ายากแล้ว การเข้าใจว่าคนอื่นมองตัวเรายังไงยิ่งยากกว่า แต่มันก็สำคัญมาก โดยเฉพาะในโลกการทำงาน คืดดูว่าคุณกำลังจะได้เลื่อนตำแหน่ง แต่ปรากฏว่าคุณพลาดโอกาสนั้น เพราะมี feedback ที่ไม่ดีเกี่ยวกับตัวคุณจากคนรอบข้าง เช่น คุณเป็นคนขี้โมโห ไม่ให้เกียรติ แน่นอนว่าคุณคิดเสมอเลยว่า คุณเป็นคนที่วิเคราะห์ได้ดี พูดตรงไปตรงมา แต่ทำไมคนอื่นไม่เข้าใจแบบนั้น
เหตุการณ์แบบนี้นักจิตวิทยาเรียกว่า Transparency Illusion มันคือความเชื่อของตัวเราที่เชื่อว่า คนอื่นเข้าใจตัวเราในสิ่งที่ตัวเราอยากจะให้ผู้อื่นเข้าใจ
เราพูดตรง เพราะคิดว่านี่คือ จริงใจ แต่คนอื่นบอกว่าหยาบคาย
เราวิเคราะห์วิจารณ์ เพราะคิดว่านี่คือ รอบคอบ แต่คนอื่นบอกว่าจู้จี้จุกจิก
นี่ไม่ใช่เหตุการณ์ใหม่ และมันเกิดขึ้นทุกวันใช่ไหมครับ ระยะห่างระหว่างความตั้งใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง มันต่างกันมาก สิ่งที่เกิดขึ้นจริงเป็นผลรวมของเหตุการณ์และความรู้สึกรอบตัวเรา และสิ่งที่เกิดแบบไม่ได้อยากให้เกิดย่อมถูกแชร์ออกไป ทำให้เรื่องนี้กลายเป็นสิ่งกำหนดตัวเราในสายตาสังคม รู้ตัวอีกทีคุณก็ถูก label แล้วครับ
มาหา External Self Awareness กันดีกว่า
วิธีการสร้าง External Self Awareness ที่หนังสือแนะนำนั้นแสนจะตรงไปตรงมาครับ คือ ถามคนรอบๆตัวคุณแบบตรงๆนั้นแหละครับ
ขั้นตอนที่ 1 เลือกคนมา 5 คน ควรเป็นคนที่รู้จักเราดี ยิ่งรู้จักเราในหลายๆบทบาทยิ่งดี
ขั้นตอนที่ 2 นัดพบแบบต่อหน้า จะได้สังเกตุภาษากายด้วยครับ และอย่าลืมย้ำกฎเบื้องต้นในการคุยให้ชัด เช่น การรักษาความลับ หรือเป็นการคุยสบายๆ เราพร้อมรับฟังทุกเรื่อง ไม่โกรธ
ขั้นตอนที่ 3 ถาม 2 คำถาม คือ (1) คุณรู้สึกยังไงกับตัวฉัน (2) และฉันควรจะทำอะไรที่สามารถพัฒนาตัวฉันให้ดีขึ้น แน่นอนว่าคำตอบที่ได้อาจจะชัดเจนมากๆ หรือไม่ก็คลุมเครือมากๆ ก็ไม่เป็นไรครับ และนั่นคือสิ่งที่คนอื่นมองคุณ
ขั้นตอนที่ 4 ระวังภาษากาย เวลารับ feedback คุณอาจจะสงสัย และต่อให้ไม่พูด คุณก็อาจจะส่งภาษากายแบบปิดๆออกไป เปิดใจให้กว้าง ใช้ภาษากายที่พร้อมเปิดรับครับ อย่าลืมว่าเป้าหมายคือ การรับฟังไม่ใช่ defend หรือหาคนถูกผิด
ก่อนที่จะเริ่มขั้นตอน เราต้องปรับ mindset เพื่อเปิดรับความคิดคนอื่นที่มาวิจารณ์เรา เมื่อฟังจบก็ลองทบทวนว่าสิ่งที่ได้ตรงกับที่เราคิดหรืออยากเป็นไหม คนอื่นมองเราอย่างที่เราเป็นหรือไม่ ถ้าใช่ก็ดี ถ้าไม่ใช่ คุณก็เริ่มรู้แล้วว่าต้องเปลี่ยนมัน
Negative Feedback คือหัวใจการพัฒนา
2
เราทุกคนอาจจะรู้สึกตะขิดตะขวงใจในการรับหรือให้ Negative Feedback แต่เชื่อเถอะครับว่าถ้ามัน negative feedback ออกมาด้วยเจตนาที่ดี มันจะกลายเป็น Constructive Negative ซึ่งจำเป็นต่อการเรียนรู้ของคนเรามาก เราจำเป็นต้องพูดกันตรงๆแบบสร้างสรรค์ แต่ปัญหาโดยเฉพาะในสังคมไทยคือ เราไม่ค่อยกล้าให้ Negative Feedback กันและกัน ต่อให้เราอยากใด้ Negative Feedback จากคู่สนทนา แต่ก็ยังถูกกั้นด้วยความเกรงใจอยู่ดี
1
ดังนั้น แม้ว่าคู่สนทนาเราจะไม่ชอบให้ Negative Feedback เราก็ต้องเรียนรู้ในการขอสิ่งนี้แทนแล้วละครับ เคล็ดลับที่ช่วยให้เราได้ Negative Feedback คือการเปลี่ยนความรู้สึกของผู้ให้ Negative Feedback ให้เป็นบวกเสีย เช่น
1. ให้ Negative feedback ตัวเองก่อนเลย
"ผมรู้ตัวนะว่าผมทำงานไม่ค่อยรอบคอบ คุณพอจะช่วยให้ความเห็นเพื่อแก้ปัญหานี้ได้ไหมครับ"
ประโยคแบบนี้จะเปลี่ยนความคิดคู่สนทนาที่คิดว่า negative feedback มันทำร้ายจิตใจเป็นช่วยเหลือแทน
1
2. บอกความตั้งใจต่อเป้าหมาย
"ผมอยากจะพัฒนาการทำ Presentation ให้ดีขึ้น พี่พอจะช่วยแนะนำได้ไหมครับ"
แบบนี้ จะเปลี่ยนคำติเรื่องที่เราทำได้ไม่ดี เป็นข้อแนะนำที่ช่วยให้เราสู่เป้าหมายแทน
3. ทำให้เป็นเรื่องเล็ก
"ถ้าผมจะเปลี่ยนอะไรเล็กๆซักเรื่องหนึ่งที่ทำได้เลย พี่แนะนำผมหน่อยครับ"
แบบนี้ก็ทำให้คนที่เราขอคำแนะนำ รู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ และมีแนวโน้มจะได้ข้อแนะนำที่สร้าง quick win ได้ดีด้วยครับ
สำหรับข้อแนะนำการหา External Self Awareness ก็จบเท่านี้ครับ หัวใจของมันคือการหมั่นขอ Feedback จากผู้อื่น เปิดใจรับฟัง และให้ความสำคัญกับ Feedback อย่างไม่ปิดกั้น
ถ้าใครยังไม่แน่ใจหรือจำไม่ได้ว่า Self Awareness คืออะไรสำคัญยังไง สามารถไปทบทวนได้ใน LVD ตอนที่ 69 และตอนที่ 70 ที่ผมพูดถึง Intetnal Self Awareness ผมจะวาง link ให้ท้ายบทความครับ ขอบคุณที่ติดตามและขอบคุณเนื้อหาจาก HBR เช่นกันครับ หวังว่าท่านผู้อ่านจะได้ประโยชน์บ้างนะครับ
Happy Learning
ขอบคุณครับ
ชัชฤทธิ์
Link สำหรับท่านที่อยากกลับไปอ่านตอนที่ 1 และ 2 ครับ
Self Awareness (2/3) เรียนรู้ตัวตนจากภายใน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา