Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Learning Visual Diary
•
ติดตาม
18 ก.ค. 2020 เวลา 12:38 • ปรัชญา
LVD#70: Self Awareness (2/3) เรียนรู้ตนเองจากภายใน
สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันต่อกับหนังสือ Self Awareness ในซีรีย์ Emotional Intelligence จาก Harvard Business Review หลังจากตอนที่แล้ว เราได้คุยกันเกี่ยวกับความหมายของ Self Awarenessไปแล้ว วันนี้เราจะมาคุยกันถึงขั้นตอนการสร้าง Internal Self Awareness ลองตามมาดูครับ
คือมันอย่างนี้ครับ...
ลองมาทวนอีกทีนะครับ Internal Self Awareness คือ ความสามารถในการเข้าใจตัวเองจากมุมมองของตนเอง เรามักเข้าใจว่าเรารู้จักตัวเองดี แต่ในความเป็นจริง เราอาจจะไม่ได้รู้จักตัวเราดีขนาดนั้นครับ หลายครั้ง เรายังถามตัวเองว่าทำไมต้องโกรธ (ได้ถามตัวเอง ก็ยังดีกว่าไม่ถามเลยนะครับ) และหลายๆครั้ง เราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าทำอะไร และมันกระทบอะไรบ้าง ซึ่ง Internal Self Awareness เป็นกระบวนการลดอาการ 'อารมณ์ชั่ววูบ' และเป็น Skill ที่สร้างได้ครับ โดยสรุป เรามี 3 ขั้นตอน ตามนี้ครับ
1. Know your Passion
2. Recognize your Emotion Pattern
3. Self Reflection
เรามาคุยกันทีละเรื่องครับ
Know Your Passion
ถ้าจำกันได้ในตอนที่ผมเล่าเรื่อง Grit เราคุยกันว่า Passion มันคือ เข็มทิศที่บอกเราว่าเราจะเดินไปทางไหน และต้องเป็นสิ่งที่เราต้องการจริงๆในระยะยาว มันเชื่อมโยงกับความรู้สึกไม่ใช่แค่สมองหรือความเชี่ยวชาญของเรา เราทุกคนรู้อยู่แล้วว่า ถ้าจะทำอะไรให้ได้ดี ก็ควรทำตาม Passion แต่ปัญหาคือ เราส่วนใหญ่กลับไม่ทำแบบนั้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศหรือกลุ่มมืออาชีพทั้งหลาย
เหตุผลหลักเป็นเพราะ เราไม่ได้คิดจริงๆจังๆถึงความแตกต่างระหว่าง สิ่งที่คุณทำกับสิ่งที่คุณอยากทำ อาจเป็นเพราะ เรามีต้นทุนที่ผูกติดกับ 'อาชีพ' ของเรามากๆ ตอนที่เราเริ่มทำอะไรซักอย่าง เราก็คงคิดว่ามันต้องดี เราคงชอบ แต่เวลาผ่านไป มันอาจไม่เป็นอย่างที่เราคิดตอนแรก หรือแม้แต่สิ่งที่เราคิดว่าดีหรือคิดว่าเราชอบ ก็อาจจะเปลี่ยนไปก็ได้ ดังนั้น สิ่งที่เราต้องคำนึงเสมอคือ ตัวแปรต่างๆที่เราควบคุมไม่ได้มันเยอะเกินไป เราต้องรู้เป้าหมายหรือเข็มทิศตัวเอง สภาพแวดล้อมคือเรื่องปลีกย่อย แต่ต้องรู้ว่าเราเดินถูกทิศครับ
2
หนังสือได้พูดถึงวิธีการฝึกเพื่อรู้จัก Passion ตัวเอง โดยพยายามจินตนาการหา 'Your Best Self' ดังนี้
1. เลือกเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้ว ที่คุณทำได้ยอดเยี่ยมและคุณก็รู้สึกดีกับมันมากๆ
2. เขียนรายละเอียดของเหตุการณ์นั้นๆออกมาให้มากที่สุด มันคืองานอะไร คุณทำมันยังไง อะไรคือองค์ประกอบสำคัญของสิ่งแวดล้อม เช่นทำที่ไหน ทำกับใคร หัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานเป็นใคร หรือทำคนเดียว เป้าหมายคืออะไร เขียนออกมาให้มากที่สุด
3. หลังจากเขียน คุณจะเริ่มจินตนาการถึงมันได้ง่ายขึ้นมาก หลังจากนั้น เริ่มเขียนความคิดของตัวเอง ว่าอะไรจากเหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้สึกดี อะไรคือปัจจัยที่ทำให้คุณรู้สึกยอดเยี่ยม
1
เขียนแบบนี้บ่อยๆ จะช่วยฝึกฝนให้เราจับความคิดและเห็นจุดร่วมของปัจจัยที่สร้างความรู้สึกที่ดีของเราได้ อย่าลืมนะครับว่าเราควรเขียนออกมาจริงๆ ทำไมต้องเขียนน่ะหรอ ก็เพราะการเขียนมันคือการที่เราแปลงความคิดออกมาเป็นคำพูดในหัวก่อนเขียน การที่เราพูดออกมา (ในหัว) ก็เท่ากับเราเข้าใจมันแล้ว
Recognize your Emotion Pattern
เมื่อเราจับเข็มทิศของตัวเราได้ ต่อมาเราก็จะลงละเอียดในการรู้จักตัวเองในส่วนที่ย่อยลงไปอีก ลองคิดดูนะครับ ตามสถิติ พบว่าคนเราในแต่วันพูดคำพูดออกมามากกว่า 16,000 คำ แล้วเราเจอกับคนรอบตัวเรามากมายแค่ไหน และยังมี Social Media อีก ปัญหา คือ สิ่งที่เราทำเพื่อให้เราสามารถพูดได้มากถึง 16,000 คำในแต่ละวัน คือ การตีความ
เราทุกคนพยายามทำให้เราเรื่องรอบตัวมัน make sense จึงต้องตีความและแปลเป็นความเข้าใจก่อนจะอธิบายเป็นคำพูด ปัญหาหลัก คือ ส่วนมากสิ่งที่เราส่งสารหรือรับสาร มันไม่ใช่ Fact ส่วนมากหรือแทบจะทั้งหมด มันคือความคิดเห็นผ่านกรอบประสบการณ์ภายในตัวบุคคลทั้งสิ้น แต่เราไปตีความว่ามันเป็นความจริง นั่นคือเราติดกับความคิดตัวเองซะแล้ว สิ่งที่หนังสือแนะนำ คือมี 4 ขั้นตอนที่จะช่วยให้เรารู้จักอารมณ์ตนเอง เราเรียกว่าการสร้าง Emotiona Agility
1. ฝึกจับสัญญาณทางอารมณ์ (recognize your pattern) ก่อนอื่นเราต้องฝึกจับรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ บางทีอาจจะเป็นทางกายภาพ หรือ บางครั้งอาจจะเป็นภายในความคิด เช่น เวลาโกรธมือเราจะเย็น หรือเริ่มคำพูดอะไรที่ทำให้เรารู้สึกลบ เป็นต้น
2. เข้าใจอารมณ์นั้นๆ (Labeling your emotion) ระบุให้ได้ว่าคุณกำลังรู้สึกอะไร จะโกรธ เศร้า ดีใจ เสียใจ ระบุออกมา
3. ยอมรับอารมณ์นั้นๆ (Accept them) ยอมรับว่าอารมณ์ไม่ว่าบวกหรือลบก็เป็นส่วนหนึ่งของเรา สังเกตุสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราภายใต้อารมณ์นั้น
4. เดินทางสู่คุณค่าของเรา (Act on your value) หลังจากทราบอารมณ์ตัวเองแล้ว ถามตัวเองว่า มาทางเลือกอะไรไหม ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายของเรา
Self Reflection
ขั้นตอนที่สาม ถือเป็นขั้นตอนที่คนส่วนใหญ่มักจะลืม คือการสะท้อนกลับความคิดของเราเอง การสะท้อนความคิดตัวเองช่วยให้สมองมีโอกาสได้หยุดเพื่อพิจารณาความคิดหรืออารมณ์ที่ผ่านมา ว่าอะไรกระทบเราและกระทบยังไง วิธีการทำก็ไม่มีอะไรมากเลยครับ
1. ต้องกำหนดตารางในการทำ Self Reflection จริง
2. เริ่มจากเล็กก่อนก็ได้ อาจจะเริ่มจากใช้เวลาแค่ 5 นาทีก่อน
3. ทำเลย list คำถามสำคัญออกมา แล้วลองพิจารณาคำตอบของเรา คำถามอะไรก็ได้ครับ เช่น เรากำลังกลัวอะไรอยู่ เราช่วยทีมให้สำเร็จยังไง และเรารู้สึกยังไง เราจะประชุมให้มีประสิทธิภาพมากกว่ายังไง
ด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่ๆนี้ คือ
1. รู้จัก Passion คือ มีเข็มทิศส่วนตัว
2. รับและเรียนรู้อารมณ์ตัวเอง
3. กลับมาทบทวนความคิด
ถ้าฝึกบ่อยๆและวน loop ไปเรื่อยๆ จะช่วยให้เรารู้จักตัวเองผ่านมุมมองส่วนตัวได้มากเลยครับ ตอนนี้คงขอจบเท่านี้ก่อน ตอนหน้าเราจะมาคุยเรื่อว External Self Awareness กันต่อ โปรดติดตามครับ
Happy Learning
ขอบคุณครับ
ชัชฤทธิ์
46 บันทึก
34
4
28
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Self Awareness (HBR)
46
34
4
28
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย