Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
WhoChillDay
•
ติดตาม
26 ก.ค. 2020 เวลา 13:39
“ลุงชวน ชูจันทร์” ผู้ก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐ ปักหมุดชุมชน ดันเศรษฐกิจฐานราก
ลุงชวน ชูจันทร์
ลมหายใจมอบให้ชุมชนเสมอต้นเสมอปลาย วันใดชาวบ้านทุกชุมชน
อยู่ดีมีกิน
วิถีชีวิตเศรษฐกิจฐานรากก็ค่อย ๆ หมุนเวียน เป็นแรงเหวี่ยงให้เศรษฐกิจ
ของประเทศมีชีวิตชีวา ไม่พึ่งพาดัชนีชี้วัดตัวเลขทางเศรษฐกิจ
นั้นคือหมุดหมายที่ต้องการสานฝันเดินไปให้ถึง เครือข่ายฐานรากซึมซับ
สารพันปัญหา
การสร้างชุมชนพึ่งพาตัวเองได้ เป็นโจทย์ยากที่ต้องใช้แรงผลักที่ไม่ธรรมดา!!
“เอาปัญหาในชุมชน ชาวบ้านยากจนจากสาเหตุอะไร ทำไมถูกเอาเปรียบ”
เป็นตัวตั้ง ก่อนคลี่ทีละปม..ชุมชนถึงงอกงามตามความต้องการของคนในพื้นที่
หากต้องการทำให้ชุมชนเข้มแข็งทั่วประเทศ จำเป็นต้องผลักดัน กระทุ้ง
บดขยี้เชิงนโยบาย เอาปัญหาของชาวบ้านไปให้ถึงมือรัฐบาลเร็วที่สุด
เพื่อให้พัฒนาเร็วขึ้น
เป็นเหตุผลหลักที่ “ลุงชวน ชูจันทร์” ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว
เชิงเกษตรตลาดน้ำคลองลัดมะยม..ตัดสินใจไปอยู่ปีกการเมือง
เพื่อสานฝันตั้งแต่..ก่อนคว้าปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ และ
ปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ่วงด้วยตำแหน่งรางวัลศิษย์ดีเด่นของคณะฯ
ครั้งแรกพลาดท่าสอบตก ส.ส. ลำปาง พรรคพลังธรรม
คราวนี้เป็นผู้ก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐ
บันใดขั้นแรกสมใจ..รับผิดชอบให้ดูแลชุมชนฐานราก
เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน
ตรงตามปณิธาน และประสบการณ์จัดการชุมชนตลาดน้ำคลองลัดมะยม
ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ใส่ชุดผ้าม่อฮ่อมจนติดตาผู้พบเห็น หวดหญ้า ตัดต้นไม้
อยู่กับธรรมชาติ คลุกคลีกับชาวบ้าน ผูกพันกับชุมชน
เป็นสุขตามวิถี “ลุงชวน ชูจันทร์” ผู้บุกเบิกตลาดน้ำคลองลัดมะยม
คิด “ต่าง..เคียงข้างประชาชน”!?
“การฟื้นชุมชน น้ำ สิ่งแวดล้อม สร้างสินค้ามูลค่าเพิ่มในชุมชน
ตลาดเป็นพื้นที่เศรษฐกิจของชุมชน มีสินค้าผลิตได้ ขายคนกินโดยตรง
เกษตรกรรู้ว่าต้องปลูกอะไร มันเป็นต้นแบบขายสินค้าชุมชนทั่วประเทศ
ที่ต้องนำตลาดชาวบ้านกลับมา ยิ่งช่วงโควิดรู้เลยตลาดชาวบ้านมีความสำคัญ”
16 ปี ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ตลาดชุมชนบรรยากาศบ้าน ๆ บนพื้นที่กว่า
10 ไร่ ละแวกตลิ่งชันในกรุงเทพฯ
จุดเช็คอินสายชิมช้อปต้องมา!
สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านคลองลัดมะยม โดยดึงศักยภาพของคนในชุมชน
ออกมาสร้างมูลค่าบนพื้นที่ของชุมชน ต่างฝ่ายต่างช่วยกันดูแลตลาด
และสภาพแวดล้อมร่วมกัน
ตั้งแต่พ่อค้าแม่ขายรุ่นใหญ่มืออาชีพไปถึงรุ่นเล็กมือสมัครเล่น
เหล่าศิลปินวาดสะพัดพู่กันปั้นคลึง สานขึ้นรูป รังสรรค์ผลงาน
เจ้าของพื้นที่จอดรถและเรือนำเที่ยวต่าง ๆ เตรียมพร้อมบริการอย่างดี
กว่าตลาดน้ำคลองลัดมะยมจะมาถึงจุดนี้ชาวบ้านร่วมต่อสู้ ลองผิดลอง
ถูกล้มลุกคลุกคลานกันมาไม่น้อย
พลิกวิกฤตจนเป็นโอกาส!?
จากนโยบายเศรษฐกิจเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้าในกลุ่มประเทศ
อินโดจีน (2531) สมัยรัฐบาล “น้าชาติ - พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ”
ดันเศรษฐกิจไทยเฟื่องฟูถึงขีดสุดขยายถนนหนทาง ขยายเมืองออกไป
กลับกระทบต่อวิถีชุมชน..ชาวบ้านทยอยขายที่ดินทางการเกษตร
เทือกสวน ไร่ นา ย้ายออกไปอยู่ที่อื่น แม่น้ำลำคลองเริ่มเน่า
กุ้งหอยปูปลาลดปริมาณลงตลาดน้ำชุมชนเลือนหายไป
“รักมันนะ..เห็นแล้วทนไม่ได้ ผมช่วยปู่ย่าตายายพ่อแม่ทำสวนไร่นา
เลี้ยงควาย เกี่ยวข้าว และทำเกษตรผสมผสานไม่ใช้สารเคมี
แถบคลองลัดมะยมมาแต่เด็กจนเรียนนิติฯธรรมศาสตร์ เช่าที่เขาทำกิน”
“ชีวิตใช้เรือมาตลอดส่งเห็ด นั่งไปเรียน เห็นแม่น้ำลำคลองสะอาด
งมกุ้งหาหอยปูปลากินกัน”
บ้านลุงชวน ชูจันทร์ ตลาดน้ำคลองลัดมะยม
ปล่อยไปแบบนี้ไม่ได้..หาวิธีดึงคนกลับชุมชน คือ การฟื้นชีวิตให้แก่
ตลาดน้ำเล็ก ๆ ริมคลองลัดมะยม ให้คนกลับมาใช้น้ำ ใช้เรือ
ช่วยกันรักษาคลอง และนำความรู้ด้านโครงสร้างผลิตทางการเกษตร
ที่เคยเรียนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1 ปี มาใช้ในชีวิตจริง
ช่วงแรก..ยังไม่มีใครเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ ตัดสินใจลุยเดี่ยว!
บุกเบิกตลาดน้ำคลองลัดมะยมอีกครั้ง ในปี 2547 ด้วยทุนส่วนตัว
ถมดินทำที่จอดรถ ให้ชาวบ้านมาขายของ ขนมครก ข้าวต้มมัด
ผักบุ้ง หัวปลี ใบเตย ผัก ผลไม้
ซื้อขายกินกันเอง ขายไม่หมดก็เอาแลกของ มีเงินหมุนเวียนอยู่
ในชุมชน ชาวบ้านกินอยู่ อิ่มท้อง
“เมื่อใดน้ำไหลออกน้อย เท่ากับน้ำมีโอกาสเต็มตุ่มมากเท่านั้น”
ตามแนวทฤษฎีผู้วางรากฐานเศรษฐกิจไทย
“อาจารย์ป๋วย– ศ.ดร.ป๋วยอึ๊งภากรณ์”
อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และบุคคลสำคัญของโลก (2558)
ที่ได้รับยกย่องจากองค์กรสหประชาชาติ (UNESCO)
เมื่อความเปลี่ยนแปลงปรากฏเด่นชัด ชาวบ้านสมัครใจเข้าร่วมเพิ่มขึ้น
จาก 20 คนค่อย ๆ ขยายตัวออกไป
ล้มลุกคลุกคลานอยู่ 3 ปี เริ่มมีผู้คนเดินทางมาจับจ่ายซื้อของเยอะขึ้น
พร้อมกับปัญหาที่ชาวบ้านต้องเรียนรู้แก้ไข และจัดการชุมชนร่วมกันทำงาน
ในทุกมิติ
โดยใช้ธรรมชาติในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์แบบสมดุล การทำตลาด ร้านค้า
กิจกรรมท่องเที่ยว ระบบการเงินโปร่งใสการจัดการขยะ และความสะอาด
ของแม่น้ำลำคลอง
เข้าตากรรมการ..คว้ารางวัลชมเชยการบริหารจัดการน้ำ(2557)
จากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กระทรวงวิทยาศาสตร์
ในปีเดียวกัน “ลุงชวน” ได้รับรางวัลอิลก้า(ILGA) จากประเทศเกาหลีใต้
ที่มอบให้กับบุคคลพัฒนาท้องถิ่น นับเป็นคนที่ 2 ของไทย
ต่อจากพลตรีจำลอง ศรีเมือง
“ผมเป็นเพียงคนเริ่มต้น นึกถึงตาหมากรุก ผมแค่ตาหนึ่งในกระดาน
ชาวบ้านพันกว่าคนเอาพื้นที่ตัวเองเข้ามาร่วม วิธีการทำตลาดทำได้
หลายวิธี อยู่ที่เริ่มอย่างไรให้ชาวบ้านเรียนรู้ ค่อย ๆ ปรับไปเรื่อย ๆ
แล้วค่อย ๆ โต เจาะเป็นพื้นที่ ๆ ไป ”
รักษ์น้ำช่วยกัน
ทุกวันนี้ “ลุงชวน ชูจันทร์” เดินหน้าศึกษาวิถีชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ
พูดคุยกับชาวบ้าน ส่งเสริมความมีร่วมในการจัดตั้งและการจัดการ
“รัฐวิสาหกิจชุมชน ตลาดของชุมชน โดยชุมชน”
พัฒนาไปสู่ “การสร้างเครือข่ายร้านโซห่วยชุมชน” (โชห่วยModel Network)
สร้างดุลอำนาจการต่อรองกับผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่
ในร้านมีของกิน ของใช้แบรนด์ชุมชน สบู่ น้ำยาล้างจาน ข้าวสารผัก ผลไม้
น้ำตาล เกลือ ไข่ไก่
ส่งเสริมการตลาดภายในชุมชนและระหว่างชุมชน เช่น บริการจัดส่งของ
ถึงบ้าน ใบสะสมคะแนน ฯลฯ
การพัฒนาชุมชนต้องทำทุกอย่างให้เป็นรูปธรรม!!
“ถ้าจะฟื้นชุมชน ก็ไม่พ้นเรื่องการผลิต น้ำในชุมชน การพึ่งพาตนเอง
และวัดความสำเร็จจากความสะอาด ความรัก ความสงบ ทุกคนมีรายได้
จากการร่วมแรงร่วมใจทำงานในทุกมิติ”
ติดตามลุ้นเครือข่ายสร้างชุมชนเข้มแข็ง และ “ลุงชวน ชูจันทร์” ว่าครั้งนี้
จะพลิกวิกฤตเป็นโอกาส สานเศรษฐกิจฐานรากต่อไปอย่างไร
“โดยรัฐทำได้เพียงออกปากชมว่าดี ๆ ๆ ไม่สนับสนุบด้านงบประมาณตาม
ความต้องของชุมชน..เมื่อชาวบ้านไม่พึ่งรัฐ คำถามคือมีรัฐไว้ทำไม”!?
^_^^_^
Behind The Scene..เที่ยวตลาดน้ำคลองลัดมะยมในวิถี New Normal..
เสร็จงานแล้วเที่ยวได้!!..มีพัน หมดพัน อิ่มท้องไปหลายวัน ^_^^_^
น้ำสะอาด ไร้ขยะ
พื้นที่จอดรถ คันละ 20 บาท
จุดคัดกรองกระจายอยู่ทุกมุม เด็ก ๆ ชุมชนช่วยกันทำงาน
กั้นแผ่นพลาสติกระหว่างโต๊ะ
คนไทยชอบกินกล้วย..รอคิวกันยาว
แป้งกรอบบาง..หวานอร่อย
สด ๆ จากสวนของคุณพี่สุดหล่อ
ข้าวหมาก..หมดไวมาก..อดตามระเบียบ
ไอติมกะทิ หอมอร่อย คลายร้อนได้ใจ ..จัดไป 2 เลย
กินเพลิน..ยิ่งร้อน ๆ อร่อยมาก
สายชีส..ยืด ๆ
ไส้กรอกอีสาน..อร่อยถูกใจ..แต่เสียดายซื้อกลับบ้านมาแค่ชุดเดียว..ไม่หนำใจ ๆ !!
เตาถ่านเผา..เดินผ่านหอมเตะจมูก..ดั้งเกือบหัก
จัดแหนมหมูมา 1 พวง..เข้าไมโครเวฟ 2 ขีดกำลังดี
ขายดีมาก..เหลืออยู่แค่นี้ ..แต่ไม่ได้ซื้อเงินหมด..กระเป๋าเบาหวิว
ผักราคามิตรภาพ
เอามาต้มดื่มหอมชื่นใจ และแบ่งปั่นพอกหน้า..ใสเด้ง 100 เมตร
เพื่อความสบายใจของลูกค้า
กำลังปั้นหน้าลูกค้า..นั่งเป็นนางแบบอยู่ข้าง ๆ
ปั้นได้เหมือนมาก
ปั้นไว้หลาย ๆ ตัว ค่อยเผาทีเดียว..เตาเผาอยู่ด้านหลัง
สวยทุกต้น..ข้าง ๆ มีแบบตัดเรียง ๆ ไว้ ซื้อไปปักแจกันและไหว้พระ
มีให้เลือกหลายแบบ..เย็บค่อนข้างดี..แข็งแรงใช้ได้
รับประกันคุณภาพ
คุณลุงเจ้าของร้าน..อารมณ์ศิลปิน
จักรยานคันนี้..ยังไม่พบเจ้าของที่แท้จริง...ตั้งมานานพอดู
บางโซนยังเงียบเหงา
คุณลุงส่องพระ สลับกับส่องโทรศัพท์..เซียนพระแวะมาชวนคุณลุงคุยบ้าง
หาที่นั่งพักเหนื่อย..บรรยากาศสบาย ๆ
คุณลุงเรียกลูกค้า..เสียงใสแจ๋ว พอ ๆ กับน้ำ
แวะทักทายน้องแกะ ก่อนกลับบ้าน
ว่าง ๆ ไปช่วยอุดหนุนชาวบ้านกัน และได้ออกกำลังกายไปในตัว...
เปียกชุ่มทั้งตัว เผาผลาญไปหลายแคลอรี่เลย
และสำหรับสาว ๆ ไม่ต้องกังวลเรื่องห้องน้ำ..สะอาด มีบริการหลายจุด..
เสร็จธุระก็หยอดเงินใส่กล่องตามความพึงพอใจ ^_^ ^_^
อ่านแล้ว!? รู้สึกอย่างไร..บอกเราให้รู้..อย่าเก็บไว้ในใจ
ชอบกด Like
ใช่กด Share
ไม่พลาดแน่ ต้อง Follow เรา
อาทิตย์หน้าพบกับ Who..@ChillDay คนต่อไป
Credit.. ^_^ ^_^
Who..@ChillDay ฉบับที่ 13 "ลุงชวน ชูจันทร์ ผู้ก่อตั้งพรรคพลังประชารัฐ
ปักหมุดชุมชน ดันเศรษฐกิจฐานราก" ประจำวันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ลิขิตอักษรและชักภาพ : หลานยายสัมฤทธิ์ ศิษย์ตาสาคร ฮรี่ ๆ ๆ
บันทึก
10
4
7
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ฅ. การเมือง มุมสบาย ๆ
10
4
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย