Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
WhoChillDay
•
ติดตาม
11 ส.ค. 2020 เวลา 07:34 • การเมือง
“สุรเกียรติ์ เสถียรไทย” บนถนนนิวนอร์มอล
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ มีการหยั่งเชิง
ปล่อยกระแสข่าวตั้งรัฐบาลแห่งชาติเป็นระยะ ๆ เพื่อสร้างความปรองดอง
และปฏิรูปประเทศ
“ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย” เป็นหนึ่งในรายชื่อ
ที่ถูกโยนออกมาว่ามีโอกาสก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง...นายกรัฐมนตรี!!
เพราะมีพื้นฐานความรู้แน่นหนึบ!?
คว้าเกียรตินิยมเหรียญทอง ปริญญาตรี นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต่อยอดปริญญาโทพ่วงปริญญาเอก นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ไม่เบา ได้ปริญญาโทมากอดให้ชื่นใจอีก
เมื่อผ่านด่านมหาวิทยาลัยทัฟส์ สหรัฐอเมริกา
(The Fletcher School of Law and Diplomacy, Tufts University)
ดีกรีด้านการเมืองและด้านวิชาการที่ไม่ธรรมดา!?
ผ่านงานประธานกรรมการบริหารบริษัทเอกชนชั้นนำ
คณบดีนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวง ไม่ว่าจะเป็นรองนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
เมื่อเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19
เข้าใจธรรมชาติได้ลึกซึ้งมากขึ้น ค้นพบความไม่แน่นอนคือความแน่นอน
ทำใจอยู่กับปัจจุบัน ปรับวิถีชีวิตเข้ากับการเปลี่ยนแปลงแบบนิวนอร์มอล
(New Normal)
มีความชำนาญและความคล่องแคล่วในใช้เทคโนโลยีทำงานเพิ่มขึ้น
ไม่กระทบต่อ “การสวมหมวกหลายใบ” ต้องหยุดชะงัก!
ผสานวิถีชีวิต “ออนไลน์กับออฟไลน์” กลายเป็นความปกติใหม่อย่างลงตัว
ซื้อสินค้าออนไลน์ ประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์
(VDO Conference) ร่วมกับองค์กรต่างประเทศทั่วโลกทุกสัปดาห์
ในฐานะประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเชีย
(APRC) และกรรมการกลุ่มผู้นำสันติภาพ (Leaders for Peace) ฯลฯ
ชีวิตเปลี่ยนไป..มีเวลาทำงานเพิ่มขึ้น ประหยัดค่าเดินทาง
ใส่สูทน้อยลง ใส่เสื้อแขนสั้นมากขึ้น
“เริ่มคุ้นชินกับวิถีชีวิตใหม่.. ผสมผสานออนไลน์ออฟไลน์
ครึ่งหนึ่งเป็นของใหม่ อีก 30-40 เปอร์เซ็นต์เป็นของเก่า"
"ยังกลับไปกินก๋วยเตี๋ยวเหมือนเดิม ใส่หน้ากากด้วย
ประชุมกับเมมเบอร์กลุ่มต่าง ๆ ทั่วโลกตามเวลาของเขา
ก็ประมาณสองทุ่ม สี่ทุ่มครึ่งบ้านเรา”
กลับสู่เวทีการปาฐกถา บรรยายพิเศษ ในงานเสวนา และหลักสูตรต่าง ๆ
ของหน่วยงานองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน
ในประเด็นโลกหลังโควิด – 19 มิติทางการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย สังคม
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
ขณะเดียวกัน “ดร.สุรเกียรติ์” ในฐานะรองประธานกรรมการที่ปรึกษา
และประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก
สภากาชาดไทย
ในองค์อุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา
นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
เดินหน้าผนึกกำลังทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ
ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม บูรณาการความร่วมมือ
ดำเนินโครงการต่าง ๆ ของมูลนิธิฯ อย่างต่อเนื่อง อาทิ
โครงการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติ เพื่อตรวจวัดข้อมูลภูมิอากาศ
ปริมาณน้ำฝน และระดับน้ำในพื้นที่ป่าต้นน้ำ
เพื่อช่วยเตือนภัยบรรเทาความสูญเสียแก่ชีวิต และทรัพย์สินของ
ประชาชน ฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และการเสริมสร้างอาชีพให้แก่
ราษฎรผู้ประสบภัยอย่างยั่งยืน
ถึงมีภารกิจล้นมือก็มีความอิ่มเอมใจที่ได้ทำ
สามารถจัดสรรเวลาได้ลงตัวเป๊ะ!
และยังมีจังหวะอยู่กับของสะสมที่ชื่นชอบ..ในเวลาที่ใช่เสมอ
“รถยนต์ – รถโบราณ” เป็นความชอบที่ซึมซับมาโดยไม่รู้ตัว
วัยเด็กของเล่นส่วนใหญ่เป็นรถประเภทต่าง ๆ คุณพ่อมักพาไป
ดูรถยนต์ ทำให้ชอบเปิดดู เปิดอ่านหนังสือเกี่ยวกับรถยนต์ และ
สมัยเรียนแข่งออกแบบรถยนต์กับเพื่อน
สิ่งเหล่านี้ คือ จุดเริ่มต้นความสนใจและศึกษารถโบราณอย่างจริงจัง
โดยคุณค่าของรถโบราณจัดเป็นวัตถุพยานเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์
ของอุตสาหกรรมยานยนต์ในแต่ละยุคสมัย
สะท้อน “วิธีคิดและความประณีตของผู้ผลิต” ทำไมต้องผลิตแบบนี้
บริบททางสังคม เศรษฐกิจเป็นอย่างไร การทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ
สติปัญญาทั้งหมดลงไปในทุกขั้นตอนการผลิตเป็นอย่างไร
รถโบราณในพิพิธภัณฑ์ส่วนตัว ใช้งานได้จริง
เพราะทุกคันสะสมมาจากความรัก ความสนใจอย่างแท้จริง
ห้องสมุดภายในบ้าน
“ห้องสมุด” เป็นอีกพื้นที่หนึ่งภายในบ้านที่ชอบมาก
แวดล้อมไปด้วยหนังสือที่น่าหยิบมาอ่าน สลับกับ “เครื่องลายคราม
เครื่องเบญจรงค์” สมัยต่าง ๆ สร้างบรรยากาศการทำงาน และ
ผ่อนคลายอารมณ์ได้อย่างลงตัว
ทั้งห้องมีหนังสือกว่าพันเล่ม แน่นอนมีหนังสือกฎหมายความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ
หนังสือเก่าบางเล่ม มีอายุกว่า 100 ปี
อาทิ หนังสือของวอลแตร์ (Voltaire – Francois Marie Arouet)
ปรัชญาเมธีชาวฝรั่งเศส ผู้ปลุกความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์แก่ชาวฝรั่งเศส
บนฐานคิดเสรีภาพพลเมือง
หนังสือพิมพ์ของฝรั่งเศส ฉบับวันที่ 10 มิ.ย. 2436
หนังสือพิมพ์ของฝรั่งเศส “Le Petit Journal”
ฉบับวันที่ 10 มิถุนายน 1893 (พ.ศ. 2436)
มีพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 และพระบรมราชินีนาถ ตีพิมพ์เป็นภาพสี
พระบรมรูปรัชกาลที่ 5 และพระบรมราชินีนาถ
สำหรับการจัดเรียงหนังสือบนชั้นทั้งหมด ไม่ได้แบ่งหมวดหมู่
แบบบรรณารักษ์ แต่จัดเป็นกลุ่มหนังสือตามการใช้งานของตนเองเป็นหลัก
“เดิมเป็นห้องเล็ก ๆ เมื่อ 10 ปีที่แล้วทำบ้านเลยทำห้องสมุดอย่างที่ต้องการ
จัดเรียงหนังสือแบบเล่มไหนควรอยู่กับเล่มไหนก็เอาไว้ด้วยกัน
ผมจะหยิบของผมถูก ถ้าบรรณารักษ์มาจัดก็จะหาไม่เจอ ฮา ฮา ฮา”
สมกับมีขุมทรัพย์อันล้ำค่าอยู่ใจกลางบ้าน
พลิกเปิดอ่านได้ตามหัวใจปรารถนา.. ^_^ ^_^
อ่านแล้ว!? รู้สึกอย่างไร..ส่งกำลังใจบอกให้เรารู้ด้วยนะคะ
Comment กับเรา
ชอบกด Like
ใช่กด Share
ไม่พลาดแน่ กด Follow เรา
อาทิตย์หน้าพบกับ #WhoChillDay คนต่อไป
Credit.. ^_^ ^_^
WhoChillDay ฉบับที่ 14 “สุรเกียรติ์ เสถียรไทย บนถนนนิวนอร์มอล”
ประจำวันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2563
ลิขิตอักษรและชักภาพ : หลานยายสัมฤทธิ์ ศิษย์ตาสาคร ฮรี่ ๆ ๆ
#สุรเกียรติ์เสถียรไทย #การเมือง #มุมสบายสบาย #WhoChillDay #Blockdit
2 บันทึก
8
8
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ฅ. การเมือง มุมสบาย ๆ
2
8
8
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย