Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
WonderVenture
•
ติดตาม
27 ก.ค. 2020 เวลา 04:30
“ความลับในช่วงเวลา 27 ปี ของเจ้าฟ้ามงกุฎ(รัชกาลที่4) ก่อนขึ้นครองราชย์”
ภายหลังการเสด็จสวรรคตของรัชกาลที่ 2 แม้ว่าเจ้าฟ้ามงกุฎ(รัชกาลที่ 4) จะได้รับพระเกียรติต่างๆ อย่างสูงเหนือโอรสพระองค์อื่น แต่อย่างไรแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็ยังมิได้ทรงแสดงว่าราชสมบัติจะเป็นของผู้ใด รวมถึงการมีอยู่ของตำแหน่งพระราชวังบวรฯอีกด้วยนั่นเอง จึงมีการประชุมกันขึ้นว่าสมควรให้ผู้ใดครองราชสมบัติต่อไปจากนี้
การแก้ไขปัญหานี้ได้เกิดขึ้นในที่ประชุม โดยมีการอัญเชิญกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ขึ้นครองราชย์ โดยไม่มีผู้ใดคัดค้านเลย ในส่วนของประเด็นที่มองว่ารัชกาลที่ 3 แย่งราชสมบัติจากเจ้าฟ้ามงกุฎก็ยังไม่มีหลักฐานที่ปรากฎเป็นทางการ แม้จะมีนักประวัติศาสตร์ในบางส่วน ให้ความเห็นว่าการที่เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จทรงออกผนวชถึง 27 ปีนั้น เป็นการรักษาชีวิตตามธรรมเนียมโบราณ
พระภิกษุวชิรญาณ
แต่ในความเห็นของผมกลับมองว่ามีนัยยะหลายสิ่งแอบแฝงอยู่ ดังเช่น ในครั้งพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกของรัชกาลที่ 3 พราหมณ์ราชครูถวายพระมหามงกุฎแก่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ตามธรรมเนียมโบราณเพื่อขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินอย่างสมบูรณ์ แต่กลับถูกปฎิเสธและกำชับว่า "จงเก็บไว้ให้เขา" นัยยะนี้น่าจะหมายถึงให้เก็บพระมหามงกุฎไว้ให้เจ้าฟ้ามงกุฎแทน
วัดอรุณฯ ในสมัยรัชกาลที่ 4
ส่วนอีกนัยยะหนึ่ง คือ การสร้างพระปรางค์วัดอรุณฯในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อเป็นพระธาตุแห่งพระนคร มีการโปรดเกล้าฯ อัญเชิญพระมหามงกุฎมาประดับไว้ยอดสูงสุด จนผู้คนทั่วไปครั้งนั้นกล่าวขานกันว่า ผู้ครองราชย์ต่อจากนี้ คือ "เจ้าฟ้ามงกุฎ"
1
อย่างไรก็ดีรัชกาลที่ 3 ทรงครองราชย์เป็นเวลาอย่างยาวนานถึง 27 ปี ในขณะที่เจ้าฟ้ามงกุฎทรงดำเนินพระชนม์ชีพในสถานะของพระภิกษุนามว่า "วชิรญาณ"
ผู้คนทั่วไปมักทราบเรื่องราวและข้อมูลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผ่านช่วงเวลาการครองราชสมบัติ
แต่ครั้งนี้ผู้เขียนขอนำความลับของเรื่องราว 27 ปี ของพระองค์ท่านในสถานะภิกษุมาเขียนให้ท่านผู้อ่านทราบถึง 27 ปี แห่งการตรากตรำก่อนครองราชย์ของเจ้าฟ้ามงกุฎ
1
ตรากตรำในที่นี้คือการ ร่ำเรียนศาสตร์แขนงต่างๆ อย่างลึกซึ้ง การเตรียมการต่อบทบาทสำคัญในอนาคตอันยิ่งใหญ่ เพื่อนำพาสยามให้ก้าวข้างหน้า
1
ย้อนไปในช่วงวัยพระเยาว์ ได้มีบันทึกจากงานเขียนของ เอ.บี. กริสโวลด์ (A.B. Griswold) นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเจ้าฟ้ามงกุฎในหน้งสือ The Real King Of Siam ระบุถึงชึวิตในช่วงวัยพระเยาว์
"...เจ้าฟ้ามงกุฎมีศิลปะและความสามารถในการเรือนทุกๆ แผนกอย่างสูงสุด ที่ยังไม่เคยมีผู้ใดได้ยินได้เห็นจากที่ใด..."
ในช่วงวัยเยาว์นั้นเจ้าฟ้ามงกุฎได้ร่ำเรียนกับสตรีในฝ่ายข้างใน ให้ชำนาญการปรุงอาหารอย่างโอชารสเพื่อทำเป็นกับข้าว ปอกผลไม้ไทยและการสลักเป็นลวดลายต่างๆ ให้วิจิตรงดงาม ฝึกให้มีความสามารถในการทอไหมและแพร ทั้งการเย็บปักถักร้อยอย่างฝีมือเอก และการร้อยพวงมาลัยดอกไม้สดหรือการจัดพุ่ม
1
เจ้าฟ้าน้อยยังมีความรอบรู้คล่องแคล่วในเรืองฟ้อนรำและเล่นเครื่องสังคีตต่างๆ เช่น มโหรี ในสมัยกรุงเทพฯก็เหมือนสมัยกรุงเก่า คือสตรีเข้าไปอยู่ในวัง ก็เหมือนได้เข้ามหาวิทยาลัยที่รวมศิลปะต่างๆของสตรีเพศไว้
1
พิธีโสกันต์ของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ และรัชกาลที่ 4 ประทับยืน
เมื่อใกล้เข้าพิธีโสกัณฑ์ เจ้าฟ้ามงกุฎถูกย้ายไปอยู่ในความดูแลของจางวางมหาดเล็กและพระพี่เลี้ยงฝ่ายผู้ชายและเล่าเรียนภาษาไทย แต่ด้วยทรงมีพื้นฐานภาษาไทยเบื้องต้นมาก่อนที่ได้เคยร่ำเรียนกับฝ่ายในหญิง จึงพัฒนาได้สูงขึ้นตามลำดับ และเริ่มศึกษาภาษาบาลีเบื้องต้นควบคู่ไปด้วย
ทรงหัดกระบี่กระบอง ทั้งยังทรงหัดการขี่ม้าและยิงปืน แต่ทว่าในวังขณะนั้นยังไม่มีการศึกษาภาษาฝรั่งแต่อย่างใด และยังไม่มีคนสยามแท้คนใดที่พูดภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศสได้เลย
เมื่อได้รับการศึกษาที่เข้มข้นเช่นนั้น สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎควรจะทรงเติบโตขึ้นเป็นเจ้านายชั้นสูงศักดิ์อย่างที่เคยเป็นกันมา แต่เหตุการณ์กลับเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง
เมื่อทรงออกผนวชเมื่อพระชนม์ 21 พรรษา พระองค์มิได้ทรงลาสิกขาภายหลังสามเดือนตามธรรมเนียม แต่ทรงเลือกที่จะครองผ้าเหลืองต่อไปอีก 27 ปี
ตลอดการบำเพ็ญเป็นพระภิกษุ พระองค์ทรงแน่วแน่เคร่งครัดอยู่ในพระธรรมวินัย รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ได้ร่ำเรียนพระอภิธรรมอย่างละเอียดละออลึกซึ้งเฉกเช่นพระภิกษุทั่วไป และทรงได้รับพระนามทางพระ คือ วชิรญาณ
นอกเหนือจากสิ่งที่ได้รับ วัดนั้นเป็นสถานที่ซึ่งมีความเสมอภาค เพราะพระภิกษุย่อมมาจากบุคคลทั่วๆไป ทุกทุกชนชั้น เมื่อบวชแล้วก็นับว่าเสมอกัน หากจะนับอาวุโสก็จะนับอาวุโสในการบวชแทน
การถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุในยุค รัชกาลที่ 4 ณ พระที่นั่งพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท
เจ้าฟ้ามงกุฎทรงได้คุ้นเคยกับชนชั้นต่างๆ อย่างเสมอภาค เพราะถ้าหากทรงมิได้ออกผนวช คงเป็นแต่เจ้านายใหญ่โต อาจจะไม่มีโอกาสให้ทรงได้พบและสนทนากับสามัญชนทุกๆชั้น ดังที่ A.B. Griswold ได้อธิบายไว้ว่า
"การบวชอยู่นานทำให้พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า พระองค์ก็เป็นปถุชนนี่เอง และข้าแผ่นดินก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน ไม่ใช่ทาสที่จะใช้ได้ตามพระทัย"
ในระหว่างทรงผนวชนั้น ทรงเดินทางธุดงค์เกือบทั่วประเทศ ในทางเป็นจริงเจ้านายพระองค์อื่นมักจะถูกห้ามมิให้ทรงเดินทาง นอกจากจะเสด็จไปราชการสงครามหรือจำเป็นเท่านั้น แต่ภิกษุวชิรญาณปฏิบัติแตกต่าง
พระภิกษุวชิรญาณเสด็จเข้าป่า ขึ้นเขาสูงพบชาวเขาพวกต่างๆ จนมีความชำนาญรอบรู้ความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี จนเข้าใจซาบซึ้งต่อการมีความรับผิดชอบต่อราษฎรประชาชน และทรงถือเป็นหลักสำคัญตลอดพระชนม์ชีพด้วย
ภาพพระภิกษุและบรรดาศิษย์ ในสมัยรัชกาลที่ 4
ในด้านพระพุทธศาสนา ทรงขยายความเข้าใจในบางส่วนของพระอภิธรรมที่ผิดแปลกไปจากพระไตรปิฎกซึ่งเข้าใจกันมาอย่างผิดแปลกและคลาดเคลื่อน เมื่อพระองค์มีข้อสงสัยในข้อความในพระไตรปิฎกจึงทำการศึกษาอย่างลึกซึ้ง ไตร่ตรองและกำชับว่าไม่ให้ผู้คนเชื่อโดยงมงาย จนแน่ใจแล้วค่อยเชื่อ
1
Griswold ได้ให้ข้อคิดเห็นในส่วนนี้ว่า
"เจ้าฟ้ามงกุฎทรงตรึกตรองชั่งข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎก ไม่ทรงรับทั้งหมด แต่เลือกเฟ้นที่เหมาะไว้ รวมทั้งให้ความเห็นว่า พระองค์คิดจะสร้างพระพุทธศาสนาแบบใหม่ แต่ทรงถ่อมตนคิดว่า เพียงแต่ทำการตรวจของเก่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น"
อย่างที่เห็นได้ชัดคือ การอธิบายของเจ้าฟ้าถึงผลกรรม กรรมที่จะได้ผลดี คือ การทำบุญ เจ้าฟ้าทรงแยกความเข้าใจในการทำบุญแบบเก่าออกไป เพราะเห็นว่าไม่ได้สาระอะไรนัก
ภาพเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค ถวายผ้าพระกฐิน ในสมัยรัชกาลที่ 4
ในวิธีการทำบุญแบบเก่า เช่นการก่อพระเจดีย์ทรายในวัด การนำพระพุทธรูปมาแห่ในขบวน นับเป็นเพียงกุศโลบายที่จูงใจให้คนนึงถึงพระธรรม แต่บุญจริงๆ คือ การทำประโยชน์แก่สังคม คนมีทรัพย์ก็บริจาคทรัพย์ทำนุบำรุงสังคม คนจนไม่มีทรัพย์ก็บริจาคแรงกายแทนได้ เช่น การสร้างสะพานไม้ไผ่เพื่อขามคูคลอง ทุกคนจึงสามารถทำทานตามกำลังทรัพย์ของตนได้
1
เมื่อตระหนักได้ถึงการเล่าเรียนพระอภิธรรมเป็นไปอย่างอิ่มพระทัยแล้ว ทรงเริ่มหันมาสนใจในด้านศาสตร์อื่นๆ ถึงแม้จะเป็นพระภิกษุแต่ก็ยังทรงมีพระสหายต่างศาสนาเป็นบาทหลวงราชาคณะคาทอลิก คือ บิชอปปาลเลอกัวซ์ (โบสถ์คาทอลิกใกล้วัดสมอราย)
บิชอปปาลเลอกัวซ์ และศิษย์
ทั้งยังทรงแลกเปลี่ยนความรู้กัน โดยทรงนำภาษาบาลีไปสอนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาษาละติน รวมทั้งยังมีพระสหายอีกสองท่านเป็นมิชชันนารี คือ ดร.แบรดลีย์ และ เจ แคสเวลล์มาสอนภาษาอังกฤษให้อีกทางและการศึกษาภาษาอังกฤษก็ดำเนินไปกว่าหกปี
จากบันทึกของ Dr.Macom Smith ได้เขียนถึงเหตุการณ์ในช่วงนี้ตอนหนึ่ง โดยอาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษของเจ้าฟ้ามงกุฎได้อธิบายว่า
"เจ้าฟ้ามงกุฎ ตรัสภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว แต่จะมีลักษณะโวหารคล้ายวรรณคดี ดูเหมือนว่า ทรงเรียนมาจากการอ่านหนังสือ ไม่ใช่การสนทนา"
1
ตลอดเวลาหกปี เจ้าฟ้ามงกุฎจึงเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษขึ้นอย่างมาก รวมทั้งยังเริ่มมีเจ้านายพระองค์อื่นและขุนนางบางท่านไปเรียนภาษาอังกฤษตาม แต่ก็ไม่มีผู้ใดเชี่ยวชาญได้เท่ากับเจ้าฟ้ามงกุฎ (ในกาลนั้นอาจจะถือได้ว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินเอเชียพระองค์แรกที่เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ ถึงขั้นตรัสและเขียนได้)
1
บรรยากาศภายในพระบรมมหาราชวัง สมัยรัชกาลที่ 4
และการเชี่ยวชาญในภาษาอังกฤษนี่เอง เป็นกุญแจเปิดประตูนำไปสู่แหล่งความรู้วิชาอื่นๆของโลกตะวันตก ทรงเริ่มศึกษวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ซึ่งเป็นวิชาที่ทรงโปรดที่สุด
1
ความรู้ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานของพระภิกษุวชิรญาณก็ดำเนินผ่านไป 27 ปี ในขณะที่การพิจารณาประชุมในพระบรมมหาราชวัง และปลายสมัยรัชกาลที่ 3 ไม่มีเจ้านายใหญ่โตองค์สำคัญเหลืออยู่ การประชุมเสร็จสิ้นอย่างรวดเร็วและเลือกสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎเป็นไปอย่างเอกฉันท์
รัชกาลที่ 4
รัชกาลที่ 4
ก่อนพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 จะเสด็จสวรรคต เจ้าพระยาพระคลังได้ไปเข้าเฝ้า ณ วัดบวรนิเวศเพื่อทูลล่วงหน้าให้ทราบความประสงค์ของผู้ใหญ่ในองค์ประชุมทั้งหมด เพราะไม่อยากให้เกิดความวุ่นวายจราจล และอาจจะเกิดการแก่งแย่งเป็นพระเจ้าแผ่นดินกันขึ้นมา
เจ้าฟ้ามงกุฎทรงสัญญาว่า เมื่อจำเป็น ก็จะทรงลาจากบรรพชิตมารับราชสมบัติ และเมื่อขึ้นครองราชย์ จึงได้กล่าวขอบคุณบรรดาเจ้านายและขุนนางว่า
"การได้มาซึ่งตำแหน่งนั้นมาจากผู้ใหญ่ มิใช่เป็นเพราะบุญวาสนา"
จากสถานะพระภิกษุ เปลี่ยนมาสู่อีกบทบาทหน้าที่ ภายใต้ภาระของแผ่นดินในสถานะพระมหากษัตริย์ จึงได้เริ่มต้นขึ้น
ภาพข่าวการขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 4
และพระราชกำหนดแรกที่ทรงแสดงให้เห็นถึงความปราดเปรื่อง คือ เรื่องการแต่งกายการเข้าเฝ้า ออกกฎให้สวมเสื้อแบบประเทศตะวันตก ซึ่งเป็นข่าวโด่งดังไปทั่ว ณ ขณะนั้น จนทางหนังสือพิมพ์อังกฤษจากฝั่งสิงคโปร์ มีข่าวระบุว่า
1
"...เจ้าฟ้ามงกุฎ ผู้ทรงปราดเปรื่องในวิชาแบบใหม่ของตะวันตก เป็นพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ ทรงเป็นบุรุษที่มีความคิดแนวอารยธรรมและทรงก้าวหน้าไปไกลมาก ไกลกว่าข้าแผ่นดินทั่วไปของพระองค์เป็นส่วนมาก เราคิดว่า พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้จะทรงเปลี่ยนแปลงอะไรต่างๆ ในประเทศให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมากมายยิ่ง..."
เรื่องราว 27 ปีที่ตรากตรำของเจ้าฟ้ามงกุฎ ที่ผมได้นำมาเขียนในข้างต้น อาจจะเป็นสิ่งหนึ่งสื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นถึงความวิริยอุตสาหะและความเพียรในการแสวงหาความรู้
เพราะในชีวิตของการร่ำเรียนและเสาะแสวงหาความรู้เพื่อประกอบสัมอาชีวะ เราอาจจะมีบ้างที่ท้อหรือเหนื่อย ผมอยากให้นึกถึง 27 ปี ของสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ
อาจจะทำให้เกิดแรงฮึดมาสลัดความท้อความเหนื่อยให้หลุดออกไปได้ แบบที่ผมได้อ่านเรื่องราวของพระองค์ จนเกิดแรงฮึดให้ลุยไปได้ต่อครับ....
❤️กดไลค์ กดแชร์ ติดตามเป็นกำลังใจ❤️
🙏ขอบพระคุณครับ🙏
รูปภาพเพื่อการศึกษาจากหนังสือ
- สยามผ่านมุมกล้อม จอห์นทอมสัน 2408-9
- ฉายาลักษณ์สยาม ภาพถ่ายโบราณ พ.ศ.2403-2453
อ้างอิง:
- เจ้าชีวิต พงศาสดาร 9 รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี
- Alexander B. Griswold , The Real King Mongkut
- เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ พงศาวดารรัชกาลที่ 4
- ความทรงจำ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ
- New of the beginning of the 4th Region in Singapore newspaper
22 บันทึก
164
67
38
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ย้อนรำลึกประวัติศาสตร์ ยุครัตนโกสินทร์
22
164
67
38
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย