30 ก.ค. 2020 เวลา 17:01 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
รู้หรือไม่แท้จริงแล้วโลกและดาวเคราะห์ในระบบสุริยะไม่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์ 😉
1
แต่โคจรรอบกันและกันรอบสิ่งที่เรียกว่าจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่วมหรือ "barycenter"
แม้แต่ดวงอาทิตย์ก็หมุนแกว่งรอบจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่วมตามแรงดึงดูดของดาวพฤหัสและดาวเสาร์
ทีมนักดาราศาสตร์จากองค์การวิจัยและพัฒนาการสำรวจอวกาศของญี่ปุ่นหรือ JAXA ได้ทำวีดีโอแสดงการโคจรของดวงอาทิตย์ดาวพฤหัสและดาวเสาร์
ซึ่งจะเห็นถึงการแกว่งตัวของดวงอาทิตย์อันเกิดจากอิทธิพลแรงดึงดูดของดาวทั้ง 3 ดวง ทั้งนี้ดาวพฤหัสดวงเดียวนั้นก็มีมวลคิดเป็น 2.5 เท่าของมวลรวมทั้งหมดของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่เหลือรวมกัน
ทั้งนี้จุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงของกลุ่มวัตถุที่โคจรรอบกันนั้นจะอยู่ใกล้กับวัตถุที่มีมวลมากที่สุด ซึ่งในที่นี้ก็คือดวงอาทิตย์
โดยในระบบสุริยะนั้นดวงอาทิตย์มีมวลคิดเป็น 99.98% ของมวลทั้งหมดในระบบสุริยะ รองมาก็เป็นดาวพฤหัส แล้วก็ดาวเสาร์
สำหรับโลกและดวงจันทร์นั้นก็เหมือนกัน ด้วยแรงโน้มถ่วงก็ทำให้โลกเราหมุนแกว่งด้วยรัศมีเกือบเท่ากับขนาดโลกเลยทีเดียว
แต่ระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก็ยังคงค่อนข้างคงที่ด้วยลักษณะการโคจรรอบกันที่เรียกว่า tidally locked rotation ซึ่งดวงจันทร์จะหันด้านเดิมเข้าหาโลกเสมอ
สำหรับดาวพลูโตกับดวงจันทร์ชารอนของมันนั้นแรงดึงดูดของดาวทั้งสองดวงทำให้เกิดการหมุนควงของดาวพลูโตรอบจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงด้วยรัศมีประมาณ 2,000 กิโลเมตร
และเป็นการโคจรในลักษณะ tidally locked rotation เช่นเดียวกับโลกและดวงจันทร์
แท้จริงแล้วไม่มีใครโคจรรอบใคร แต่เราโคจรรอบกันและกันต่างหาก 😁

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา