31 ก.ค. 2020 เวลา 18:13 • ประวัติศาสตร์
มนุษย์อาจเดินทางไปถึงทวีปอเมริกาเร็วที่เราเคยคิดกันไว้มากทีเดียว
เมื่อการค้นพบหลักฐานใหม่แสดงถึงการมีอยู่ของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ในถ้ำที่เม็กซิโก ซึ่งกลุ่มคนนี้เคยใช้ชีวิตอยู่ในถ้ำแห่งนี้เมื่อกว่า 33,000 ปีที่แล้ว
กลุ่มนักโบราณคดีเดินสำรวจในถ้ำ Chiquihuite ที่แมกซิโก
ก่อนหน้านี้เราเคยคิดกันว่ามนุษย์กลุ่มแรกที่เดินทางไปถึงทวีปอเมริกาคือกลุ่มคนที่เรียกว่า Clovis Culture ผ่านสะพานน้ำแข็งที่เชื่อมระหว่างตะวันออกของไซบีเรียกับดินแดนแถบอลาสก้าที่เรียกว่า Beringia เมื่อกว่า 16,000 ปีก่อน
สะพาน Beringia
โดยกลุ่มที่ข้ามมาจากเอเชียนี้ได้แบ่งเส้นทางออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเดินทางทางเลาะชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิคลงไปยังทวีปอเมริกาใต้
1
อีกกลุ่มมุ่งหน้าลึกเข้าไปกระจายตัวอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งจากหลักฐานที่ค้นพบในแหล่งขุดค้นกว่า 42 แห่งทั่วทวีปอเมริกาให้ข้อมูลว่าการอพยพเกิดขึ้นในช่วงปลายยุคน้ำแข็ง Last Glacial Maximum (LGM)
เส้นทางอพยพของมนุษย์โบราณก่อนจะกระจายไปทั่วทวีปอเมริกา
แต่ล่าสุดการค้นพบที่ถ้ำ Chiquihuite บนเขา Astillero ในเม็กซิโกได้แสดงถึงหลักฐานใหม่ของการมีอยู่ของมนุษย์ยุคโบราณย้อนหลังไปกว่า 33,000 ปี
โดยในถ้ำแห่งนี้อยู่สูง 2,740 เมตรจากระดับน้ำทะเลและอยู่สูงจากพื้นที่ราบเชิงเขาบริเวณใกล้เคียงกว่า 1 กิโลเมตร
ทีมนักโบราณคดีกำลังขุดสำรวจเก็บตัวอย่างวัตถุโบราณภายในถ้ำ
ในถ้ำมีการขุดค้นพบวัตถุสิ่งของเครื่องใช้เก่าแก่ว่า 1,900 ชิ้น ซึ่งจากการตรวจสอบมีอายุย้อนหลังกระจายอยู่ในช่วง 31,000 ถึง 33,000 ปีก่อน
ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าที่เคยขุดค้นพบกระจายทั่วไปในทวีปอเมริกาก่อนหน้านี้อย่างมาก
มีดทำจากหินที่พบภายในถ้ำ
ทีมนักโบราณคดีพยายามสัญนิษฐานถึงที่มาของคนกลุ่มนี้ โดยช่วงเวลา 33,000 ถึง 16,000 ปีก่อนนั้นเป็นยุคน้ำแข็งซึ่งแผ่นดินอเมริกาเหนือถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง
จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่จะมีการอพยพผ่านสะพาน Beringia มายังถ้ำแห่งนี้ได้ ดังนั้นความเป็นไปได้คือคนกลุ่มนี้อพยพมาตั้งรกรากตั้งแต่ก่อนหน้านั้นแล้ว
พืดน้ำแข็งที่ปกคลุมอเมริกาเหนือใช่ช่วงยุคน้ำแข็งทำให้การเดินทางลงมาที่ถ้ำ Chiquihuite นั้นไม่น่าเกิดขึ้นได้
หรือไม่ก็มาทางเรือ ซึ่งก็จะมีคำถามต่อไปว่าทำไมไม่พบหลักฐานการลงหลักปักฐานตามชายฝั่งด้านมหาสมุทรแปซิฟิคที่อื่นอีก?
อันนี้ก็มีเหตุผลว่าโลกภายหลังยุคน้ำแข็งนั้นระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นมาก อาจจะร่วม 120 เมตรเลยทีเดียว ทำให้แหล่งชุมชนริมทะเลถูกน้ำท่วมหายไปจนหมด (ถ้ำนี้อยู่สูงจากที่ราบใกล้เคียงกว่า 1 กิโลเมตร)
นอกจากการค้นพบเกี่ยวกับมนุษย์โบราณแล้วทีมสำรวจยังพบชั้นถ่านหินในพื้นของถ้ำที่ช่วงอายุ 12,000 ถึง 32,000 ปีก่อน และที่น่าประหลาดใจก็คือมีการค้นพบซากของต้น Douglas fir พืชตระกูลสนที่มีอายุกว่า 28,000 ปี
ทั้งนี้ต้นไม่ดังกล่าวไม่ใช่ไม้ประจำถิ่นในเม็กซิโกปัจจุบัน แต่นักโบราณคดีอธิบายว่าเพราะช่วงเวลานั้นอากาศแถบนี้เย็นและชึ้นกว่าปัจจุบันมากจึงเป็นไปได้ที่เมื่อ 28,000 ปีก่อนจะมีต้น Douglas fir ขึ้นอยู่แถบนี้
การอพยพมาของคนหมายถึงการสูญพันธ์ุของสัตว์หลายชนิด
สำหรับการอพยพของกลุ่มคนจากไซบีเรียข้ามมายังทวีปอเมริกาเหนือเมื่อ 16,000 ปีก่อนนั้นมีการยืนยันด้วยหลักฐานหลายชิ้น ไม่ว่าจะเป็น DNA ของของซากมัมมี่มนุษย์ที่ตรงกันของตัวอย่างที่ขุดค้นพบในอเมริกาเหนือและไซบีเรีย
1
หรือแม้แต่การสูญพันธุ์ของสัตว์หลายสายพันธ์ุอันเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น ช้างแมมมอธ ม้าบางสายพันธ์ุและอูฐ (ใช่ครับ อูฐเคยมีอยู่ในอเมริกาเหนือมาก่อนด้วย)
ก็ถือเป็นการค้นพบที่น่าประหลาดใจเลยทีเดียว ว่ามนุษย์โบราณนั้นจะสามารถอพยพข้ามน้ำข้ามทะเลมายังทวีปอเมริกาได้เร็วที่เราเคยคิดกันเป็นหมื่นปีเลยทีเดียว น่าทึ่งมากครับ
โฆษณา