4 ส.ค. 2020 เวลา 03:00 • ธุรกิจ
King Of Destruction ราชาแห่ง Digital Disruption ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก
"Digital Disruption ทำให้เราไม่สามารถรู้ได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ใหม่ที่สุดในโลกใบนี้อย่างแท้จริง" นี่คงเป็นสิ่งที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าทุกสิ่งที่เราเห็น"ใกล้ตัว"คือสิ่งที่เหล่าบริษัททั้งหลายได้วางจำหน่ายออกมาเมื่อถึงเวลาที่"เหมาะสม"แล้วเท่านั้น เพราะต่อให้สินค้าและบริการจะดีเลิศแค่ไหน แต่ถ้าไม่อยู่ถูกที่ถูกเวลา มันก็คือของไร้ค่า....
และสินค้าและบริการที่เราเห็นและหลงไหลในปัจจุบัน มันก็คือสินค้าที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้การยอมรับแล้ว จนทำให้บริษัทที่ผลิตสินค้านั้นมีรายได้และผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ อย่างเช่น Apple Google Facebook Microsoft และ Amazon(หรือเรียกง่ายๆว่า Big 5)
แล้วบริษัทเหล่านี้ประสบความสำเร็จแค่ไหน และตลาดใดที่เหล่า Big 5 กำลังจะมุ่งหน้าไป Near us จะอธิบายให้ฟังครับ
เนื้อหานี้ค่อนข้างมีความยาวพอสมควร ผมแนะนำว่าให้คุณอ่านเป็นท่อนๆที่ผมขีดเส้นแบ่งไว้ก็ได้ครับ หรือถ้าจะอ่านให้หมดทีเดียวเลยก็ยิ่งยอดเยี่ยเลยครับ
ก่อนอื่นเรามาดูผลงานและผลกระทบที่เหล่า Big 5 พบเจอในปี 2020 กันก่อนครับ
Apple
Tim Cook
Apple ประกาศผลประกอบการในไตรมาสที่ 3 (เม.ย. - มิ.ย. 2020)
โดยบริษัทมีรายได้รวม 1,866,320 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนและมีกำไรสุทธิ 351,876 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12%
โดยแบ่งเป็น รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ 1,454,939 ล้านบาท (78%) เพิ่มขึ้น 10% และรายได้ค่าบริการ 411,381 ล้านบาท (22%) เพิ่มขึ้น 15% ทำให้ตอนนี้ Apple มีเงินสดและหลักทรัพย์ในความต้องการตลาด รวมกันถึง 2,909,000 ล้านบาท
ในส่วนของรายได้ผลิตภัณฑ์ Apple จะมีรายได้จาก
iPhone 826,078 ล้านบาท โต 2%
Mac 221,357 ล้านบาท โต 22%
iPad 205,816 ล้านบาท โต 31%
Wearables (เช่น Apple AirPods และ Apple Watch) 201,688 ล้านบาท โต 17%
ซึ่งผลประกอบการที่ดีเกินคาดนี้ ก็ทำให้ Apple กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากสุดในโลกซึ่งมีมูลค่ากว่า 57.5 ล้านล้านบาท บวกกับประกาศว่าจะแตกหุ้นออกเป็น 4 ต่อ 1 หุ้น เพื่อให้นักลงทุนสามารถซื้อหุ้นได้ในราคาที่ถูกลง ทำให้ราคาหุ้นของ Apple เพิ่มขึ้นกว่า 10.47% ในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา (31 ก.ค. 2020)
และที่น่าสนใจก็คือ บริษัท Berkshire Hathaway ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ถือหุ้น Apple อยู่ 5.66% (245,155,566 หุ้น) คิดเป็นมูลค่ากว่า 3.3 ล้านล้านบาท
Apple ยังเผยว่าในปี 2019 App Store ได้สร้างเม็ดเงินในอีโคซีสเต็ม หรือมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 519,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 16.2 ล้านล้านบาท ประกอบไปด้วย
1.App ที่ขายสินค้าและบริการที่จับต้องได้ (Physical oods & services) มูลค่า 12.9 ล้านล้านบาท
2.App ท่องเที่ยวเช่น Traveloka, Booking ๆลๆ มูลค่า 1.8 ล้านล้านบาท
3.App เรียกรถ เช่น Uber, Lyft, Grab มูลค่า 1.2 ล้านล้านบาท)
4.App ส่งอาหาร เช่น Just Eat, Deliveroo, Foodpanda มูลค่า 1.0 ล้านล้านบาท
5.App ที่ขายสินค้าและบริการดิจิทัล (Digital goods & services)
เช่น Tinder, Netflix, Spotify มูลค่า 1.9 ล้านล้านบาท
6.Advertising App เช่น Facebook และ Twitter
โดยบริษัท Apple มีการเก็บค่าคอมมิชชั่น 15% ถึง 30% จากการซื้อซอฟต์แวร์ สินค้าและบริการดิจิทัลบนแอปที่ปล่อยให้ดาวน์โหลดใน App Store
และในส่วนของฐานการผลิตอุปกรณ์ Hardware ของ Apple ทางบริษัทได้เริ่มย้ายไปที่ เมืองเชนไน ประเทศอินเดียเพื่อลดการพึ่งพาโรงงานที่ประเทศจีนเพื่อเลี่ยงภาษีสงครามการค้าจีน-สหรัฐ โดย Supplier ที่ผลิต iPhone 11 ให้ก็คือ Foxconn ส่วนiPhone SE รุ่นเก่า, iPhone 6s, iPhone 7 และ iPhone XR จะถูกผลิตที่โรงงานในเมืองบังกาลอร์ โดยมี Supplier คือ Wistron
Google
Sundar Pichai
Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิล รายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 2(เม.ษ.-มิ.ย.) ปี 2020 รายได้ลดลง 2% เทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 1,187,207 ล้านบาท กำไรสุทธิลดลงเป็น 215,729 ล้านบาท
Ruth Porat CFO ของ Alphabet และกูเกิลกล่าวว่าผลกระทบหลักมาจากธุรกิจโฆษณา ขณะที่บริการ Google Cloud ตลอดจนรายได้จากธุรกิจอื่น ๆ (ส่วนใหญ่คือฮาร์ดแวร์) ยังคงเติบโตแข็งแกร่งอยู่ โดย
1. รายได้จากโฆษณาบน YouTube ยังเพิ่มขึ้น 6% เป็น 3,812 ล้านดอลลาร์
2. Google Cloud รายได้เพิ่มขึ้นถึง 76% เป็น 3,007 ล้านดอลลาร์
3. กลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ซึ่งรวมทั้งฮาร์ดแวร์, Play Store, รายได้สมัครใช้บริการ YouTube ก็เติบโตเพิ่มขึ้น 26% เป็น 5,124 ล้านดอลลาร์ และธุรกิจใหม่ Other Bets รายได้ลดลงเล็กน้อยเป็น 148 ล้านดอลลาร์
ซึ่งหากเรามาลองดูดครงสร้างรายได้ของ Google เราก็จะรู้ถึงสาเหตุที่แน่ชัดของการชะลอตัวลงของ Google ครับ ดังรูป
ขอบคุณรูปภาพจากเพจลงทุนแมนด้วยครับ
ทั้งนี้ในปี 2018 Alphabet (Google) บริษัทมีเงินสดและทรัพย์สินหมุนเวียนสภาพคล่องเทียบเท่าเงินสดอยู่ก่อนแล้วที่ 3,648,000 ล้านบาท และมูลค่าบริษัทสูงถึง 31 ล้านล้านบาท
ถึงแม้ว่ารายได้จากการโคษณาของ Google จะเริ่มชะลอตัว แต่ในปี2020 Google ยังพัฒนาในส่วนของ
1.การจับมือกับ Jio เพื่อผลิต Smart Phone ให้กับอินเดีย
มูเกซ อัมบานี CEO ของ Reliance Industries กลุ่มบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย ประกาศในการประชุมประจำปีว่า Jio บริษัทด้านโทรคมนาคมของอินเดียได้ตกลงเป็นพันธมิตรกับ Google ในการสร้างสมาร์ตโฟนร่วมกัน
จุดแข็งของ Jio คือ มีฐานผู้ใช้งานเครือข่ายสัญญาณมือถือ และอินเทอร์เน็ตมากกว่า 380 ล้านคนในอินเดีย ซึ่งล่าสุดได้Jio ได้เปิดตัวสมาร์ตโฟนของตัวเองชื่อว่า “JioPhone” ที่เน้นการใช้งานระบบ 2G และ 3G ในรูปแบบ “Non-Touch” หรือก็คือโทรศัพท์มือถือแบบมีปุ่มกด โดยทำยอดขายไปได้กว่า 100 ล้านเครื่อง
ซึ่งการร่วมมืกกัยในครั้งนี้ Jio จะดูแลเกี่ยวกับ Internet และ Smart Phone ส่วน Google จะเสริมสร้างระบบปฏบัติการ Android 11 ที่เพิ่งเปิดตัวช่วงกลางปีนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันกับแบรนด์จีนอย่าง Xiaomi
2.การสร้างสายเคบิลใต้ทะเลส่วนตัว
Google ได้วางแผนจะสร้างสายเคเบิลที่เชื่อมต่อระหว่าง สหรัฐ-สหราชอาณาจักร-สเปน โดยมีโครงการที่ชื่อว่า “Grace Hopper” ซึ่งจะลากยาวตั้งแต่เมืองนิวยอร์ก-สหรัฐฯ ไปจนถึงชายทะเล Bude-สหราชอาณาจักร และเมืองบิลเบา-สเปน
ซึ่งสายเคบิลนี้มีความยาวประมาณ 6,250 กม. จากสหรัฐฯ ไปยัง สหราชอาณาจักรและยาวประมาณ 6,300 กม. จากสหรัฐฯ ไปยัง สเปน ซึ่งคาดว่าโครงการ Grace Hopper จะแล้วเสร็จภายในปี 2022 เพื่อเป็นการเชื่องต่อ Internet ให้มีเสถียรภาพและความเร็วที่สูงขึ้นเพื่อรอบรับ 5G
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าคิด
Google ถูกฟ้องในสหรัฐ เรียกค่าปรับกว่า 150,000 ล้านบาท เรื่องที่บริษัทได้บุกรุกความเป็นส่วนตัว ของผู้ใช้งานหลายล้านคน อย่างผิดกฎหมาย โดยแอบสอดส่องและเก็บข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ต ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ที่ถูกตั้งค่าในโหมด “Private”ซึ่งข้อมูลเหล่าจะทำให้ Google รู้จักพื้นหลังของผู้ใช้งานอย่างละเอียด โดยเฉพาะ"เรื่องที่เราไม่พึงประสงค์จะให้ใครรู้"....
Facebook
Facebook ประกาศผลประกอบการในไตรมาสที่ 2 (เม.ย.- มิ.ย. 2020) โดยรายได้และกำไรยังคงเติบโต โดยมีรายได้รวม585,837 ล้านบาท เติบโต 11% จาก 529,376 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว และมีกำไรสุทธิ 162,330 ล้านบาท เติบโต 98% จาก 82,012 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วเช่นกัน โดยแบ่งเป็น รายได้จากค่าโฆษณา 574,363 ล้านบาท และอื่นๆ (เช่น อุปกรณ์ Oculus) 11,474 ล้านบาท
Facebook มียอดผู้ใช้งานต่อวัน (Daily Active Users) 1,790 ล้านคน เพิ่มขึ้น 12% จากปีก่อน และยอดผู้ใช้งานรายเดือน (Monthly Active Users) 2,700 ล้านคน เพิ่มขึ้น 12% จากปีก่อน
ทั้งนี้ในปี 2018 บริษัทที่มีเงินสดและทรัพย์สินหมุนเวียนสภาพคล่องเทียบเท่าเงินสดกว่า 1,574,000 ล้านบาท และมีมูลค่าบริษัทสูงถึง 22 ล้านล้านบาท
นอกจากรายได้และกำไรที่เติบโตแบบก้าวกระโดดแล้ว ในปี 2020 Facebook ยังได้พัฒนาในส่วนของ
1. Facebook เข้าซื้อบริษัทเทคโนโลยีเกี่ยวกับแผนที่ชื่อ “Mapillary” ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองมัลโม่ ประเทศสวีเดน
เป็นบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยีแผนที่ในระดับ “Street view” หรือเน้นการเก็บข้อมูลบนท้องถนน ทั้งป้าย สัญลักษณ์ สัญญาณจราจร รวมไปถึงเหตุการณ์ไม่ปกติ เช่น การซ่อมแซมถนน อุบัติเหตุ เป็นต้น
ซึ่งการ Take Over กิจการนี้จะนำมาซึ่งการพัฒนา
1.Unmanned vehicle หรือรถยนต์ไร้คนขับที่ต้องมี Big Data เรื่องของเมือง
2.เป็นตัวช่วยพัฒนาการให้บริการ Market Place ที่เพิ่งเปิดตัวไป เกี่ยวกับการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า
3.การพัฒนาแว่นตาอุปกรณ์ AR/VR ในอนาคต
2. Facebook ลงทุนใน Reliance Jio
Facebook ได้ลงทุนใน Reliance Jio บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของอินเดีย
บริษัทในเครือของ Reliance Industries โดยมี มูเกซ อัมบานี เป็น CEO ซึ่งคิดเป็นการลงทุนกว่า 5,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 185,000 ล้านบาท เพื่อแลกกับหุ้น 9.99%
นอกจากการลงทุนในหุ้นแล้ว Facebook ยังพูดคุยข้อตกลงกับ Reliance ในการผนวกธุรกิจอีคอมเมิร์ซในเครืออย่าง JioMart และ WhatsApp ของ Facebook เพื่อเป็นการเชื่องต่อผู้คนผ่านทาง Payment ของร้านค้าต่างๆทั่วอินเดีย และมี Plan ว่าจะทำเป็น Super App เหมือนกับ We Chat ของจีน
ที่น่าสนใจก็คือ อินเดียเป็นประเทศที่มีผู้ใช้งาน Facebook มากที่สุดในโลก โดยอยู่ที่ 260 ล้านบัญชีส่วน WhatsApp มีผู้ใช้งานในอินเดียมากกว่า 400 ล้านคน
3. Facebook ประกาศทำโครงการสายเคเบิลใต้ทะเล รอบทวีปแอฟริกา
โครงการสายเคเบิลใต้ทะเลรอบทวีปแอฟริกานี้จะครอบคลุม 16 ประเทศ และสายยาวกว่า 37,000 กม. เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ของประชากรนับพันล้านคนในทวีป
โดยโครงการนี้ดำเนินการในชื่อ “2Africa” ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก China Mobile, MTN ของแอฟริกาใต้, Orange ของฝรั่งเศส และ Vodafone ของสหราชอาณาจักร
และคาดว่าจะเสร็จอย่างสมบูรณ์แบบภายในปี 2024
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าคิด
การประท้วงผิวสีของอเมริกาในปี 2020 ทำให้บริษัทอย่าง Microsoft, Starbuck, Coca-Cola, Pepsi, Uniliver, Disney และแบรนด์อื่นๆอีก 100 กว่าแบรนด์ที่บอยคอร์ต Facebook เนื่องจากไม่สามารถควบคุมกระแส Hate Speech ใน App ได้โดยการไม่ซื้อโคษณาใน Facebook ส่งผลให้ Facebook ต้องเสียรายได้มากกว่า 91,200,360,100 ล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงBrand เล็กๆน้อยๆอีกด้วย....
Microsoft
Microsoft ได้ประกาศผลประกอบการในไตรมาสที่ 4(เม.ย.-มิ.ย.) ปี 2020 มีรายได้อยู่ที่ 1.17 ล้านๆบาท เพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 347,262,000 ล้านบาทหลังจากรายได้บริการ Cloud สูงขึ้น แต่รายได้ในส่วน Azure ซึ่งเป็นหนึ่งในบริการ Cloud กลับลดลงกว่า 50%
ในสัดส่วนรายได้จาก Microsoft จะมาจาก
1.รายได้การให้บริการ Cloud 365(Teams, Azure, Windows Virtual Desktop,)อยู่ที่ 412,300,000,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว
2.รายได้จาก Office, Dynamics และ Linkedin อยู่ที่ 365,800,000,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6%
3.รายได้จาก Xbox และ Surface อยู่ที่ 399,900,000,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันกับปีที่แล้ว
ทั้งนี้ในปี 2018 บริษัทที่มีเงินสดและทรัพย์สินหมุนเวียนสภาพคล่องเทียบเท่าเงินสดกว่า 4,112,000 ล้านบาท และมีมูลค่าบริษัทสูงถึง 49 ล้านล้านบาท
และในปี 2020 นี้เอง ก็เป็นปีที่ Microsoft กำลังจะปรับโครงสร้างพนักงานครั้งใหญ่ ด้วยการ ลดพนักงานในบางส่วนประมาณ 1,000 ตำแหน่ง โดยจะปรับพนักงานส่วนของ MSN.com ช่องทางสื่อออนไลน์ของบริษัทให้น้อยลง และไปเพิ่มในส่วนของรายได้หลักแทน
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าคิด
ByteDance ตกลงเตรียมขายหุ้น TikTok ในสหรัฐฯ ทั้งหมด 100% ให้กับ Microsoft ข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้ Microsoft กลายเป็นเจ้าของแอพ TikTok อย่างสมบูรณ์ภายในสหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ปัจจุบัน TikTok ถือเป็นหนึ่งแอปโซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก และกำลังมาแรงอย่างในตอนนี้ โดยบริษัทมีอัตราการเติบโตที่สูงมากๆ และมียอดผู้ใช้ในสหรัฐฯ มากกว่า 80 ล้านคนต่อวัน โดยมีการประเมินมูลค่า TikTok ไว้ว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่กว่า 5 หมื่นล้านเหรียญฯ หรือกว่า 1.5 ล้านล้านบาท
Amazon
Amazon รายงานผลประกอบการไตรมาส 2/2020 โดยมีรายได้อยู่ที่ 2.75 ล้านล้านบาท และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 162,533 ล้านบาท
ในส่วนของ Amazon Wed Service ที่ให้บริการเกี่ยวกับ Cloud ในไตรมาสนี้รายได้โต 29% เป็น 335,048 ล้านบาท
และในสถานการณ์ช่วง Covid-19 เจฟฟ์ เบโซส์ ผู้ก่อตั้ง Amazon ร่ำรวยขึ้นถึง
31% และมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น 34,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,103,740 ล้านบาท บริษัทมีลมูลค่าสูงขึ้นไปถึง 38,400,000 ล้านบาท คิดเป็น 101 เท่าของกำไรล่าสุดหรือเพิ่มขึ้น 26% เมื่อเทียบกับต้นปี 2019 เพราะเนื่องจากลูกค้าต้องการสั่ง Delivery ขณะอยู่บ้าน และใช้ Amazon wed services ในการ Work from home
ทั้งนี้ในปี 2018 บริษัทที่มีเงินสดและทรัพย์สินหมุนเวียนสภาพคล่องเทียบเท่าเงินสดกว่า1,315,000 ล้านบาท และมีมูลค่าบริษัทสูงถึง 47 ล้านล้านบาท
นอกจากรายได้และกำไรที่เติบโตแบบก้าวกระโดดแล้ว ในปี 2020 Amazon ยังได้พัฒนาในส่วนของ
1.การพัฒนาเรื่องของ Logistic Air
จากการเติบโตแบบก้าวกระโดดของ Amazon นี้เอง ก็ทำให้บริษัทตัดสินใจที่จะสร้างศูนย์กลางการบินของตัวเองสำหรับฝูงบินขนส่งสินค้า สนามบินและโกดังแห่งนี้จะตั้งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐเคนตักกี ใกล้กับสนามบิน Cincinnati/Northern Kentucky Airport (CVG) และมีพนักงานกว่า 2,000 คนมาประจำที่นี่
อีกทั้ง Amazon ได้ทำสัญญาเช่าเครื่องบินเพิ่มอีก 12 ลำ จาก Air Transport Service Group (ATSG) ทำให้ Amazon มีเครื่องบินที่ใช้ในการขนส่งพัสดุรวมเป็น 81 ลำ จากเดิมที่มีอยู่ 69 ลำ
2.การลงทุนสร้างรถตู้ไฟฟ้า
Amazon ได้ให้บริษัท Rivian ที่เป็นผู้พัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้า ผลิตรถตู้ส่งสินค้าไฟฟ้าให้กับ Amazon 100,000 คัน รวมถึงได้ให้เงินทุนในการวิจัยพัฒนาประสิทธิภาพรถตู้ดังกล่าวเพื่อจำมาพัฒนา Logistic ในอนาคตด้วย ทำให้ Amazon ได้ลงทุนในบริษัท Rivian เพื่มไป 21,700 ล้านบาท
Bezos คาดว่า รถตู้ทั้ง 100,000 คันจาก Rivian นี้จากออกสู่ถนนภายในปี 2567 รถตู้คันแรกจะลงถนนในปี 2564 ซึ่งรถตัวต้นแบบจะมาถึงภายในปี 2563
หากว่าคุณผู้อ่านเริ่มรู้สึกเหนื่อยล้ากับข้อมูลแล้ว ให้หยุดไว้ก่อนแล้วค่อยมาอ่านอีกทีก็ได้ครับ แต่หากว่าคุณมีหัวใจของนักอ่านและกระหายความรู้ล่ะก็ แนะนำว่า ต่อเลยครับ!!!!!
จากบทความข้างต้นที่ Near us ได้กล่าวไปแล้ว เราจะสังเกตุได้ว่า ณ ตอนนี้เหล่า Big 5 ต่างก็มีแนวทางในการพัฒนาไปตามสายทางของตัวเอง แต่จะมีอยู่อุตสาหกรรมหนึ่งครับที่เรียกได้ว่าเป็น Hyper Disruption ที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดมาก และที่สำคัญก็คือ เหล่า Big 5 ต่างก็ลงมาแข่งขันกันอย่างดุเดือด
อุตสาหกรรมนั้นก็คือ อุตสาหกรรม Game นั่นเอง
หากว่าคุณอยากจะดูการ Disrupt ของแต่ละบริษัทให้ดูง่ายขึ้น เรามาดูภาพนี้กันครับ
(ลองอ่านในรูปเพื่อทำความเข้าใจคร่าวๆก่อนนะครับ แล้วNear us จะขยายความให้อีกที)
จากรูปข้างต้น จะทำให้เราได้เข้าใจภาพรวมของวงจรธรรมชาติทางอุตสาหกรรมที่มีชื่อว่า Vicious circle of destruction ที่จะแสดงให้เห็นถึงวงจรธรรมชาติที่จะมีการหมุนเวียนแบบนี้ไปเรื่อยๆตามแต่ละตำแหน่งของธุรกิจแต่ละจ้าวในอุตสาหกรรม โดยจะหมุนไปตาม Wave ทั้ง 5 Wave ไปเรื่อยๆแบบนี้จนกระทั่งกลายเป็น King of Destruction(KD) ในที่สุด ยิ่งทำลายล้างธุรกิจอื่นได้ยอดเยี่ยมแค่ไหน ก็ยิ่งเป็น KD และมีจำนวณตัวคูณได้เร็วขึ้นเท่านั้น (โดยNear us จะเขียนว่า x100 เพื่อเป็นการเปรียบเสมือนว่าเป็นธุรกิจที่ทำลายล้างแบบเต็ม 100)
หมายเหตุ King Of Destruction หมายถึง ราชาแห่งการทำลายล้างที่มีจำนวนx100จะสามารถทำลายคนที่มีพลังแห่งการทำลายที่มีจำนวณ xน้อยกว่า(แต่ในกรณีนี้เราจะไม่ได้เอาธุรกิจเกมเล็กๆที่คนไม่ค่อยรู้จักมาครับ เพราะบทความมันจะยาวเกินไป)
เรามาเริ่มจากกลุ่ม King Of Destruction กันก่อนเลยครับ
1.Amazon
บริษัท Amazon ได้เข้าลงทุนในธุรกิจเกมมาตั้งแต่ปี 2014 หลังเข้าซื้อกิจการ Twitch แพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์คอนเทนต์เกม ด้วยเงินมูลค่า 29,000 ล้านบาท จนมาถึงปัจจุบัน Twitch เติบโตเหนือกว่าคู่แข่งอย่างชัดเจนมีคนเข้าดูวิดีโอ 9,340 ล้านชั่วโมงต่อปี ครองส่วนแบ่ง 73% ของตลาดเกม
นอกจากนั้น จุดแข็งที่ทำให้ Amazon เป็น KD ได้ยอดเยี่ยมที่สุดนั่นก็คือ Amazon Web Services (AWS) ที่ให้บริการพื้นที่จัดเก็บฐานข้อมูลบนระบบคลาวด์ ซึ่งผู้พัฒนาเกมรายใหญ่ เช่น Bandai, Capcom, Epic Games, Supercell, Zynga เพราะเกมเหล่านี้ถ้าไม่มี Sever เกมก็จะ Run ไม่ได้เพราะไม่มีฐานเก็บข้อมูล ทำให้เกมเหล่านี้จะเป็นต้องเป็นลูกค้าของ AWS โดยปริยาย
2.Alphabet (Google)
บริษัทเป็นเจ้าของ YouTube ที่มีฟีเจอร์ YouTube Gaming เพื่อรองรับการสตรีมเกมโดยเฉพาะ โดยมีคนเข้าดูวิดีโอ 2,681 ล้านชั่วโมงต่อปี ครองส่วนแบ่งตลาด 21% เป็นอันดับ 2 รองจาก Twitch ซึ่งก็นับว่าเป็น KD เหมือนกันแต่จะอยู่อันดับที่ 2 เพราะ Youtube สามารถเป็น Platfrom ที่สามารถสตรีมเกมได้และสามารถดูเกมได้ผ่าน Youtube ได้โดยไม่ต้องเข้า App อื่นเลย แต่ก็ยังมีส่วนแบ่งการตลาดที่น้อยกว่า Twich
แต่ที่พีดมากกว่านั้นก็คือ Stadia เพราะ เราสามารถซื้อเกมมาเล่นได้ทันที ไม่ต้องรอดาวน์โหลดติดตั้ง หรือต้องใช้เครื่องสเปกดีๆ ราคาแพง เพราะว่า Stadia จะคอยประมวลผลและปรับรายละเอียดคุณภาพเกมให้เหมาะกับอุปกรณ์ที่ผู้เล่นใช้งาน นั่นหมายความว่าการ์เจเพทๆ กับCPU เจ๊งๆจะเริ่มไม่มีประโยชน์อีกต่อไปนั่นเอง
ผลลัพธ์ก็คือ คนทั่วโลกจะทำให้สามารถเข้าถึงคนที่เล่นเกมทั่วโลกกว่า 2,700 ล้านคน จากทั้งหมด 7,500 ล้านคนได้เพียงแค่มีคอมเก่าๆ....
3.Apple
Apple เองก็มีแพลตฟอร์มเกมออนไลน์ ชื่อว่า Apple Arcade ซึ่งใช้โมเดลธุรกิจแบบ Subscription ราคาเดือนละ 150 บาท และจะสามารถเลือกเล่นเกมอะไรก็ได้ บนทุกอุปกรณ์ของแบรนด์ Apple
ทั้งนี้มีการประเมินว่าในปี 2022 อาจมีผู้ใช้งาน Apple Arcade ราว 50 ล้านบัญชี ซึ่งจะสร้างรายได้ส่วนเพิ่มให้บริษัทกว่า 93,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งก็เป็นที่น่าจับตามาก เพราะ ลูกค้าของ Apple ได้ใช้จ่ายในแอปพลิเคชันเกมผ่าน App Store ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 70% ของแอปทั้งหมด ทำให้มีโอกาสที่จะแย่งส่วนแบ่งการตลาดได้อย่างรวดเร็ว จึงได้ขึ้นชื่อว่าเป็น KD ที่น่าจับตามองครับ
4.Microsoft(Xbox)
ตัวของ Microsoft เองอยู่ในธุรกิจเกมมาตั้งแต่ปี 2001 จากการเป็นผู้พัฒนาคอนโซลเครื่องเล่นเกมอย่าง Xbox ที่ปัจจุบันมียอดขายรวมทุกรุ่นมากกว่า 155 ล้านเครื่อง ทำให้ได้เปรียบในการเป็น The First ของตลาดเกม
อีกทั้งยังเป็นพันมิตรกับ Sony ในการพัฒนาเกม หมายความว่าในอนาคต เราจะเล่นเกมสตรีมมิงบนแพลตฟอร์ม PlayStation แต่ระบบ Sever ทั้งหมดจะถูกดูแลโดย Microsoft Azure นั่นเอง และนี่จึงเป็นอีกจุดแข็งหนึ่งด้วย เพราะผู้เล่นในระบบของทั้ง 2 บริษัทในปี 2019 นั้น
Xbox Live(Microsoft)อยู่ที่ 64 ล้านคนต่อเดือน
PlayStation Network (Sony)อยู่ที่ 90 ล้านคนต่อเดือน
นอกจากนั้น Microsoft อยู่ระหว่างพัฒนาธุรกิจเกมบนคลาวด์เช่นเดียวกัน โดยมีชื่อว่า xCloud
ทำให้ Microsoft ก็เป็น KD อีก 1 บริษัทที่น่าสนใจครับ
4.5 Microsoft (Mixer)
มีอยู่ครั้งหนึ่ง Microsoft ได้ทำ Mixer ออกมาให้บริการแพลตฟอร์มสตรีมมิงเกมแต่ทว่ากระแสตอบรับไม่เป็นดังที่คาดหวัง มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 3% ทำให้สุดท้าย Microsoft เตรียมปิดตัวแพลตฟอร์มนี้ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และโยกบัญชีผู้ใช้ไปรวมกับ Facebook Gaming แทน เพื่อร่วมมือกันสู้กับ Twitch และ YouTube
5. Tencent
และนี่ก็คือ ราชาแห่งการทำลายล้างที่น่ากลัวที่สุดที่ Big 5 จะต้องหวาดกลัวก็คือบริษัทนี้แหละครับ เพราะ Tencent ได้เข้าไปลงทุนในบริษัทเกมหลายอย่าง ได้แก่
1.การถือหุ้นบริษัท Epic Games ถึง 40%
บริษัท Epic Games เป็นเจ้าของเกม Fortnite ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเกมออนไลน์จากประเทศสหรัฐอเมริกาและเริ่มเปิดให้เล่นเมื่อกรกฎาคม 2017 ซึ่งเป็นรูปแบบเกมFortnite: Save the World ซึ่งจะให้ผู้เล่นทุกคนช่วยกันหาทรัพยากรต่างๆ มาสร้างอาวุธและเกราะกำบัง เพื่อเอาตัวรอดจากฝูงซอมบี้
และในภายหลังที่ PUBG เริ่มโด่งดัง บริษัทจึงหันมาพัฒนาโหมดการเล่นลักษณะเดียวกันขึ้นมาบ้าง นั่นคือ Fortnite Battle Royale จะเป็นการ์ตูนแฟนตาซี และมีการผสมผสานระบบเดิมที่ผู้เล่นต้องคอยเก็บของ มาสร้างเป็นอุปกรณ์สำหรับโจมตีและป้องกัน ขณะที่ PUBG จะเน้นภาพการยิงสู้กันที่สมจริง และสามารถเก็บอาวุธมาใช้ได้เลย
รายได้ของ Epic Games
ปี 2019 รายได้ 130,000 ล้านบาท กำไร 23,250 ล้านบาท
Epic Games, Inc. ถูกประเมินมูลค่าบริษัทไว้ที่ 530,000 ล้านบาท(40%ของ Tencent คือ 212,000 ล้านบาท)
ขณะที่ PUBG ซึ่งเป็นต้นฉบับเกมแนว Battle Royale เมื่อปี 2019 มีรายได้อยู่ที่ 40,600 ล้านบาท(Tencent ถือหุ้นอยู่ 11.5% คือ 4,669 ล้านบาท)
และนอกเหนือจากการเข้าถือหุ้นในบริษัทแล้ว Tencent ยังได้สร้างเกมขึ้นมาอีกมากมาย ได้แก่ PlayerUnknown’s Battlegrounds, Arena of Valor (RoV), League of Legends, Honor of Kings, Clash of Clans
ที่มา: https://www.billionmindset.com/companies-owned-by-tencent-games/
ส่งผลให้ Tencent ครองตำแหน่งสูงสุดของอุตสาหกรรม มีรายได้จากธุรกิจเกมสูงถึง 612,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็น KD ที่น่ากลัวเลยทีเดียว
คราวนี้เราลองมาดูน้องใหม่ในอุตสาหกรรมกันครับ
6.Facebook
Facebook นับว่ายังเป็นน้องหน้าใหม่ที่พึ่งเปิดตัวฟีเจอร์วิดีโอออนไลน์เกี่ยวกับเกมอย่าง Facebook Gaming ในปี 2018 โดยมุ่งเน้นการเชื่อมต่อคนทั่วโลกกับฐานผู้ใช้งานบนโซเชียลมีเดีย
ซึ่งบริษัทเปิดเผยว่า มีผู้เข้าชมวิดีโอเกมถึง 700 ล้านรายต่อเดือน
แต่ด้วยความที่ยังเป็นน้องใหม่ในวงการเกม Facebook Gaming ยังมีส่วนแบ่งตลาดแค่ 3% เท่านั้น
แต่การที่บริษัทเป็นเจ้าของ Oculus VR ผู้พัฒนาเทคโนโลยี Virtual Reality ที่ชื่อ Holizon ที่เป็นโลกเสมือนที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้กับชุดอุปกรณ์แว่นตา VR ของ Oculus โดยเฉพาะ โดยหลักการพื้นฐานของโลกเสมือนนี้คือผู้ใช้ที่เข้าสู่โลกเสมือน จะสามารถทำอะไรก็ได้ตามที่ต้องการสามารถออกแบบโลก สร้างเครื่องมือ สร้างเกมใหม่ของตนเองได้เล่นเกมกับคนอื่นในโลกนั้นได้ เช่น เกมแนวRPG เกมแนวBattle Royal เป็นต้น
และที่น่าสนใจมากขึ้นไปอีกก็คือ Facebook ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Eye OS ซึ่งระบบดังกล่าวจะเข้ามาแทนที่แอนดรอยด์ โดยจะใช้คู่กับแว่นตา VR Oculusไม่ว่าจะเป็น
1.เกม Beat Saber เกมฟันดาบไลท์เซเบอร์
2.VR Video Conference หรือ การประชุมทางไกลแบบภาพเสมือน
รวมถึงฮาร์ดแวร์อื่นๆ ที่เฟซบุ๊กจะพัฒนาขึ้นในอนาคตด้วย
ซึ่งมีโอกาสสูง ที่จะทำให้ Facebook สร้างอุปกรณ์เล่นเกมแนวเสมือนจริงขึ้นมาได้สำเร็จ ถึงแม้ว่าจะยังอยู่ในช่วง Wave ที่ 2 ที่เพิ่งเป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมเกมก็ตาม แต่ก็นับว่ายังมีอนาคตที่ไกลและสดใสพอสมควร
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ในวิกฤติ Covid-19 ตลาดหุ้น Nasdaqของสหรัฐมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาแล้วราว 15% นับตั้งแต่ต้นปี โดยมีมูลค่าถึง 430 ล้านล้านบาท และเมื่อเอา Big 5 รวมกันแล้วจะมีมูลค่าสูงถึง 206.5 ล้านล้านบาท โดยคิดเป็นประมาณ 48% ของ Nasdaq และนี่ก็คือเหตุผลที่ Nasdaq เป็นตลาดหลักทรัพย์แห่งเดียวของโลกที่เติบโตท่ามกลาง Covid-19 ....

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา