2 ส.ค. 2020 เวลา 07:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
การวิเคราะห์งบการเงินฉบับย่อ
สำหรับผู้อ่านที่อยากวิเคราะห์งบการเงินได้ แต่รู้สึกว่ายาก วันนี้เรามีวิธีทางลัด แต่สามารถเข้าใจได้ ถึงสถานะทางการเงินของบริษัท และดูความสามารถในการขาย และอัตราการทำกำไรของบริษัทได้ โดยมีวิธีการดู ดังนี้ค่ะ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
>> ดูเงินสดในบริษัทว่ามีมากน้อยแค่ไหน สภาพคล่องยังดีอยู่หรือไม่
ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น
>> ลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้นมากเกินไปหรือไม่ จะแสดงถึงการเก็บเงินไม่ได้
สินค้าคงเหลือ
>> สินค้าคงเหลือมากขึ้นผิดปกติหรือไม่ หรือมีสินค้าคงเหลือบางอย่างมีการด้อยค่าหรือเปล่า
สินทรัพย์รวม
>> ควรมากกว่าหนี้สินรวม
ตัวอย่างงบแบบเต็ม (บางส่วน) จาก settrade.com
เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น
>> เจ้าหนี้ที่เกิดจากการซื้อวัตถุดิบ สินค้าหรือบริการ เป็นเงินเชื่อ
หนี้สินระยะยาว
>> การที่บริษัทไปก่อหนี้ โดยการไปซื้อเครื่องจักรหรือซื้อสินทรัพย์เพิ่ม แต่การมีหนี้มาก ๆ ก็ไม่ดี ต้องวิเคราะห์ต่อว่าคุ้มกับการลงทุนหรือไม่
1
หนี้สินรวม
>> ควรน้อยกว่าสินทรัพย์รวม
กำไร (ขาดทุน) สะสม)
>> กําไรสะสมเพิ่มขึ้นในทุกๆปี แสดงถึงการทํากําไรอย่างต่อเนื่อง แต่อาจลดลงในบางช่วงเนื่องจากการจ่ายเงินปันผล
รายได้จากการขายและหรือการให้บริการ
>> แนวโน้มของบริษัทมียอดขาย เพิ่มขึ้นหรือไม่
ค่าใช้จ่าย
>> ต้องพิจารณาด้วยว่าค่าใช้จ่ายโตขึ้นแซงยอดขายหรือไม่
ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย
>> ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชี ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการจ่ายเงินออกไปจริง
กำไรขั้นต้น
>> ควรรักษากำไรขั้นต้นไว้ ในระดับสูงให้ได้
>> หากมีการลดลง อาจแสดงถึงการแข่งขันที่มากขึ้นในอุตสาหกรรม
กำร (ขาดทุน) สุทธิ
>> กําไรสุดท้ายหลังหักค่าใช้จ่าย ภาษี และอื่น ๆ
กำไรสุทธิ
>> คือกำไรสุทธิต่อยอดขาย
อัตรากำไรสุทธิ
>> คือ อัตราส่วนที่แสดงให้เห็นผลกําไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ เมื่อเทียบกับยอดขายสุทธิ อัตราส่วนนี้ยิ่งสูงยิ่งดี
ROA
>> คือ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด อัตรายิ่งสูง ยิ่งดี
2
ROE
>> คือ อัตราผลตอบแทนจากผู้ถือหุ้น ควรมีค่าสูง แต่ต้องระวัง ค่าสูงๆ ที่เกิดจาก หนี้สินเยอะๆ หรือส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงเรื่อยๆ
D/E
>> คือ หนี้สินต่อทุน ไม่ควรมากเกินไป อัตรายิ่งสูง ยิ่งเสี่ยงสูง (แต่ต้องดูลักษณะของธุรกิจด้วย)
ตัวอย่างงบแบบย่อ (บางส่วน) จาก settrade.com
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวิธีการวิเคราะห์งบบทนี้ เป็นแบบฉบับย่อ สรุปมาเฉพาะส่วนสำคัญ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้อ่าน อาจเกิดความสงสัยในบางช่วงบางตอนได้ ดังนั้น คุณผู้อ่านสามารถย้อนกลับไปอ่านรายละเอียดแบบเต็มเกี่ยวกับงบการเงินเพิ่มเติมได้ในบทความก่อนหน้านี้ ตามลิ้งชื่อเรื่องที่ให้ข้างล่างนี้ค่ะ
#ทำความรู้จักงบการเงิน
#อัตราส่วนทางการเงิน บอกอะไรได้บ้าง
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณสำหรับการติดตามนะคะ 😊😊

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา