Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สาระกฎหมาย by LawyerTon
•
ติดตาม
2 ส.ค. 2020 เวลา 07:48 • การศึกษา
ครอบครองปรปักษ์
รูปภาพจาก pixabay.com
วันนี้เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินกันครับ
เรื่องนี้อาจเป็นปัญหาสำหรับคนที่มีที่ดินหลายๆแปลง
หรือ ไม่มีเวลาไปดูแลที่ดินเลย
ซึ่งอาจทำให้มีบุคคลอื่นแอบเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินของเราได้
และหากปล่อยปะละเลยต่อไปจนล่วงเลยระยะเวลาตามกฎหมาย
ผู้ที่เข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินอาจร้องขอต่อศาลให้ที่ดินนั้น
ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เข้าไปใช้ประโยชน์ฯโดยครอบครองปรปักษ์ได้
นั้นทำให้ท่านได้สูญเสียกรรมสิทธิ์ ! โดยผลของกฎหมาย
เรามาดูกันครับว่า "ครอบครองปรปักษ์" เป็นอย่างไร ?
ครอบครองปรปักษ์ คือ การที่บุคคลใดเข้าไป "ครอบครอง" ทรัพย์สิน
ของผู้อื่นไว้ "โดยสงบ" และ "เปิดเผย" ด้วย "เจตนาเป็นเจ้าของ"
หากเป็นอสังหาริมมาทรัพย์ จะต้องได้ "ครอบครอง" ติดต่อกันเป็นเวลา
10 ปี บุคคลนั้นได้ "กรรมสิทธิ์" !!! (ตามป.พ.พ. 1382)
แล้วหากเราซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน(อสังหาริมทรัพย์) พบเจอบุคคลอื่น
ที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในที่ดิน เราจะทำอย่างไรได้บ้าง ?
อย่างแรก : เป็นวิธีละมุนละม่อม คือ
เราอาจจะเข้าไปพูดคุยตรงๆบอกว่า ที่ดินแปลงนี้มีเจ้าของนะ
ให้ขนย้ายออกไปด้วย
แต่หากเขายังไม่ออกตอนนี้ แต่จะขอทำประโยชน์อีกพักหนึ่งก่อนหรือขอเวลา
แบบนี้ให้ท่านเจ้าของที่ดินพึงระวังและเพื่อความรอบคอบ
ควรให้ทำ "สัญญาเช่า" ครับ อาจจะคิดราคาปกติตามความพอใจ หรือ
เช่าปีละ 100 บาทก็ได้ครับ
เหตุผล : ก็เพื่อให้สิทธิของผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น อาศัยสิทธิโดยสัญญาเช่า
แม้จะครอบครองนานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์
(แต่สัญญาเช่า ตามกฎหมายให้เช่าได้ทีละ 3 ปี
หากเกินกว่านั้นต้องจดทะเบียนการเช่าฯ และ
อีกอย่างเราจะติดข้อผูกพันการเช่าตามระยะเวลาที่ให้เขาเช่าด้วย)
ฉนั้น อาจจะเช่าเป็นปีต่อปี หรือให้ทำทุกๆ 3-6เดือนก็ได้ครับ
เพื่อไม่ต้องผูกพันในเงื่อนของเวลามากนัก
แล้วหากเราแจ้งให้ออกไปจากที่ดินแล้ว เขาไม่ยอมออกละทำอย่างไรดี ?
รูปภาพจาก pixabay.com
ก็อาจถึงคราวต้องใช้ไม้แข็ง ในการตอบโต้แล้ว เช่น
1. แจ้งความร้องทุกข์ในคดี "บุกรุกที่ดิน"
เพราะว่าหากผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของ"ผู้อื่น"
เพื่อ "ครอบครอง" ทั้งหมดหรือบางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใดๆ
อันเป็นการ รบกวนการครอบครองฯของผู้อื่นต้องระวางโทษ.....
(ตามป.อ. 382)
แต่เนื่องจากความผิดบุกรุก เป็นความผิดสำเร็จเมื่อเข้าบุกรุกทันที
(ไม่ใช่เป็นความผิดต่อเนื่อง)
ฉะนั้น หากข้อเท็จจริงมีว่า บุคคลที่แอบเข้าไปในที่ดินนั้น เข้าไปในเวลา
"กลางวัน" ก็จะมีความผิดบุกรุก ซึ่งเป็น "ความผิดอันยอมความได้"
ซึ่งความผิดอันยอมความได้นี้ ต้องร้องทุกข์ใน 3 เดือน
มิฉะนั้น "คดีจะขาดอายุความ"
และแม้ว่าบุคคลนั้น จะบุกรุกในเวลากลางวันต่อเนื่องไปข้ามวันข้ามคืน
ไปเรื่อยๆ ก็ไม่เป็นความผิดฉกรรจ์ คือ "บุกรุกในเวลากลางคืน"
ซึ่งเป็นอาญาแผ่นดิน อันยอมความไม่ได้
เพราะว่า "เป็นเพียงผลจากการบุกรุกในตอนแรก" เท่านั้น
แต่หากมีข้อเท็จจริงที่ว่าเป็นการบุกรุกในเวลากลางคืน
ก็เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ยอมความไม่ได้ ไม่ต้องร้องทุกข์ใน 3 เดือนก็ได้
แล้วเราจะทราบได้อย่างไร ? ใช่มั้ยครับ ว่า เขาแอบเข้ามาในที่ดินตอนไหน
(ถ้าไม่มีกล้องวงจรปิด)
ฉะนั้น เราควรรีบไปแจ้งความใน 3 เดือนครับ
เพื่อป้องกันข้อโต้แย้งในเรื่องอายุความ หรือ
2. อาจฟ้องเป็นคดีแพ่งเป็น "คดีขับไล่" ให้ออกจากที่ดิน ก็ได้
3. อาจเป็นละเมิดก็ได้ ตามแต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
ฯลฯ
ดังนั้น หากเรายังปล่อยปะละเลย ไม่ใช้มาตรการตอบโต้
ปล่อยให้ที่ดินมี "กรรมสิทธิ์(มีโฉนด)"
มีผู้เข้าไปครอบครองใช้ประโยชน์ เกิน 10 ปี
ก็อาจโดนโต้แย้งหรือโดนร้องขอครอบครองปรปักษ์ได้นะครับ
แล้วหากเราเพิ่งทราบตอนที่ โดนร้องขอครอบครองปรปักษ์แล้วจะทำอย่างไร?
ซึ่งในส่วนนี้ผู้เขียนแนะนำ ให้รีบปรึกษาทนายที่ท่านไว้ใจ เพื่อหาช่องทาง
ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ฉนั้น เราควรต้องหมั่นตรวจสอบที่ดินที่อยู่ในความครอบครองของท่านบ้างครับ
(ในเมื่อกฎหมายเรื่องครอบครองปรปักษ์ยังใช้บังคับอยู่)
ท่านอาจสูญเสียที่ดินที่หวงแหนอันเป็นกรรมสิทธิ์ของท่านได้
โดยผลของกฎหมาย
***หมายเหตุ***
>>> กรณีอาจจะไม่เป็นบุกรุกนั้น อาจเกิดจาก
ผู้เข้าไปทำประโยชน์นั้นเข้าไปโดย "อาศัยสิทธิ์ของเจ้าของที่ดิน" ก็ได้
เช่น การได้รับอนุญาตฯ หรือ โดยสัญญาเช่าฯ เป็นต้น ///
>>> หากเป็นที่ดินมีเพียง "สิทธิครอบครอง" นั้น
ผู้ครอบครองมีระยะเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น !!! ที่จะดำเนินการ
มิฉนั้นผู้เข้าทำประโยชน์คนใหม่จะได้สิทธิครอบครองไปแทน
โดยผลของกฎหมาย
สาระน่ารู้ :
หากเป็นการครอบครองปรปักษ์ "สังหาริมทรัพย์"
ใช้ระยะเวลาเพียง 5 ปี เท่านั้น ก็สามารถได้กรรมสิทธิ์ !!
บันทึก
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
กฎหมายทั่วๆไป
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย