5 ส.ค. 2020 เวลา 05:00 • การศึกษา
🙏 สวัสดีครับทุกคนวันนี้ "ขอลองเขียน" ได้นำเรื่องราวดีๆ มาฝากกันอีกเช่นเคยนะครับ 🙏
~~~~~~~ไปชมกันเลยยยยยยยย~~~~~~~
📝"เล็บขบ" หรือ "Ingrown Toenail"📝
👉 สำหรับใครที่ไม่เคยมีอาการเล็บขบเลย
คงไม่มีทางรู้ได้เลยว่ามันทรมานมาก ๆ ขนาดไหน
ไม่ว่าจะอยู่เฉย ๆ หรือแม้เเต่เวลาที่เราจะเดินไปเข้าห้องน้ำก็จะมีอาการปวดขึ้นมาแปลบ ๆ มันทรมานมากจริง ๆ เลยครับ
👉 แต่สำหรับคนที่มีอาการเล็บขบนี้ คงจะรู้ซึ้งถึงความเจ็บปวดที่สุดเเสนจะสาหัสสากันมากเลยทีเดียว และเชื่อว่าคงไม่มีใครที่อยากจะกลับไปเป็นเล็บขบอีกแล้วอย่างแน่นอน ผู้เขียนฟันธงเลย!!!(ฟันธงนี้ธงจะขาดไหมน้า? 😁)
👉 วันนี้ผู้เขียนจึงได้นำเรื่องราวของเจ้าเล็บขบ
เนี่ยมาฝากกันครับ ~~ไปชมกันเลยดีกว่าาา~~
👉 เล็บขบ (Ingrown Toenail) คือ ภาวะที่เล็บของเรานั้นได้งอกหรือทิ่มแทงเข้าไปที่บริเวณผิวหนังปลายเล็บ ซึ่งจะพบว่าเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งมากๆ กับบริเวณที่นิ้วเท้านั้นเอง
👉 โดยเฉพาะที่บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า มีผลทำให้เกิดความเจ็บปวด บวม แดง หรือบางครั้งถ้า
ร้ายแรงมากๆ ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นมาได้
⚡อาการของเล็บขบ⚡
👉 เมื่อเราเป็นเล็บขบอาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดต่างๆ ขึ้นได้แก่
- เกิดความเจ็บปวดและมีอาการ การกดเจ็บที่บริเวณนิ้วเท้าของเราได้
- มีรอยแดงๆ บริเวณรอบ ๆ นิ้วเท้าของเรา
- มีอาการบวมของนิ้วเท้ารอบ ๆ บริเวณเล็บเท้า
- มีการก่อตัวของของเหลวบริเวณรอบ ๆ นิ้วเท้า
- มีเลือดออกหรือเป็นหนอง
- มีการติดเชื้อของเนื้อเยื่อที่บริเวณนิ้วเท้า
👉 นอกจากนี้ หากใครที่มีความรู้สึกไม่สบายอย่างรุนแรงที่บริเวณนิ้วเท้า มีการเป็นหนองหรือเป็นรอยแดง และอาจดูเหมือนว่าจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนเลยนะครับเพื่อทำการรักษาก่อนที่จะสายเกินไป
👉 และรวมไปถึงผู้ที่เป็นเบาหวานหรือสภาวะอื่น ๆ ที่มีปัญหาการหมุนเวียนเลือดไปเลี้ยงที่เท้า
มีอาการชาที่เท้าหรือมีภาวะแผลหายช้า
และอาจจะมีการเจ็บเท้าหรือการติดเชื้ออื่น ๆ ร่วมอยู่ด้วย ควรรีบไปพบหรือปรึกษาแพทย์โดยด่วนที่สุดเลยเช่นกันนะครับ อย่าปล่อยเอาไว้
⚡สาเหตุที่จะทำให้เราเป็นเล็บขบ เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง⚡
✅ 1. การใส่รองเท้าที่บีบเท้าของเรามากเกินไป
👉 เพราะจะทำให้เนื้อที่บริเวณอยู่ด้านข้างของเล็บนั้นถูกบีบเข้ามา เล็บก็เลยจะไปกดเนื้อด้านข้างของเรา เมื่อเล็บงอกขึ้นมามันก็จะงอกลึกและแทงลงไปในเนื้อของเรา
👉 ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวด นอกจากนี้ การที่เราใส่รองเท้าส้นสูงที่สูงจนเกินไป ปลายเท้าแหลมเกินไป ก็ทำให้เท้าของเราถูกบีบจนเล็บงอกออกมาแบบ ตามปกติไม่ได้ ต้องงอกกินเข้าไปและแทงในบริเวณเนื้อนิ้วเท้าของเรา
✅ 2. การตัดเล็บที่ไม่ถูกวิธี
👉 หลาย ๆ คนตัดเล็บด้านข้างเป็นมุมแหลมชิดเนื้อ หรือลึกจนเกินไปนั่นเอง ทำให้เล็บที่จะงอกขึ้นมาใหม่ไปทิ่มแทงที่ซอกเล็บของเรา จนทำให้เกิดแผลและมีอาการปวดตามมา หรือกับบางคนชอบแต่งเล็บให้โค้งเข้าในซอกเล็บมากจนเกินไป และก็ยังชอบไปแคะ ไปขูด ไปงัดซอกเล็บบ่อย ๆ เหล่านี้ล้วนทำให่เกิดเป็นเล็บขบได้ทั้งสิ้น
✅ 3. อุบัติเหตุ
👉 เช่น ในบางครั้งบางครา ปลายนิ้วเท้าของเราชอบไปชน ไปเตะอะไรเข้าบ่อย ๆ ทำให้เล็บฉีกขาดและทิ่มแทงเข้าไปในซอกเล็บของเราได้
👉 หรืออาจจะเกิดจากการเล่นกีฬาชนิดต่าง ๆ อย่างเช่น เทนนิส แบดมินตัน ฟุตบอล บาสเกตบอล ซึ่งกีฬาเหล่านี้ทำให้กระดูกที่บริเวณนิ้วเท้าของเราต้องทำงานหนัก
👉 เล็บขบยังมีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในบริเวณนิ้วเท้าของเราได้อีกด้วย อย่างเช่น การที่มีสิ่งของที่มีน้ำหนักมากมาตกใส่เท้าของเรา ไม่ว่าจะเป็นลิ้นชักตู้เสื้อผ้า ก้อนหินหนัก ๆ เหล่านี้ก็ทำให้เราเป็นเล็บขบได้เช่นกัน
✅ 4. การมีเล็บเท้าที่กว้างกว่าปกติ หรือเกิดจากการที่นิ้วเท้าของเรามาซ้อนมาเกยกัน หรือมีการมาเบียดเสียดกันนั่นเอง หรืออาจจะเกิดจากการที่มีเล็บเท้าที่มีรูปร่างโค้งผิดปกติ เป็นต้น
⚡วิธีการรักษาเล็บขบ⚡
👉 เล็บขบที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ
เราสามารถรักษาได้เองตามปกติ
อย่างไรก็ตาม หากว่าเล็บเท้าของเราได้ทิ่มแทงลงไปที่บริเวณผิวหนังของเรา หรือมีสัญญาณของการติดเชื้อเกิดขึ้น เช่น มีอาการบวมแดงหรือว่ามีหนองไหลออกมา ก็ควรทำการรักษากับทางการแพทย์จะดีกว่านะคร้าบบบ
📝 วิธีการรักษาเล็บขบด้วยตัวเองเบื้องต้น
ทำได้ดังนี้
- แช่เท้าลงในน้ำอุ่นๆ สักประมาน 15-20 นาที และก็สักประมาณ 3-4 ครั้ง ต่อวัน
- ทำให้ผิวแยกออกจากขอบของเล็บเท้าโดยใช้สำลีชุบน้ำมันมะกอก
- ใช้ยาบรรเทาอาการเจ็บปวดในกรณีที่มีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้น
- การใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาโพลิมิกซิน (Polymyxins) เพื่อใช้ในการป้องกันการติดเชื้อ หรือจะใช้ครีมสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบก็ได้
👉🏼 หากว่าการรักษาด้วยตัวเองเบื้องต้นไม่ทำให้อาการดีขึ้นเลยหรืออาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นมาด้วยนั้น 😭
📝อาจจะจำเป็นต้องทำการรักษาทางการแพทย์หรือการผ่าตัด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยวิธีหลัก ๆ ได้แก่
- การเอาเล็บเท้าออกบางส่วน
(Partial Nail Avulsion)
โดยเอาชิ้นเล็บที่ทิ่มแทงลงไปในผิวหนังออก ในขั้นตอนนี้แพทย์จะต้องใช้ยาชาที่นิ้วเท้าก่อนการตัดแต่งหรือเอาเล็บออกนะครับ
- การเอาเล็บเท้าออกทั้งหมด
(Total Nail Avulsion)
วิธีนี้จะใช้ในกรณีของเล็บขบที่มีเล็บที่มีความหนาและกดลงไปในผิวหนัง โดยขั้นตอนการเอาเล็บออกทั้งเล็บนี้เรียกว่า Matrixectomy
- การยกเล็บขึ้น (Lifting the Nail) สำหรับในรายที่มีอาการเป็นเล็บขบแค่เพียงเล็กน้อย อาจจะเพียงแค่บวมแดงและไม่มีหนอง ไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยที่ต้องผ่าตัด ในวิธีนี้แพทย์จะใช้ไหมหรือสำลียกขอบเล็บให้พ้นขอบของผิวหนัง เพื่อไม่ให้เล็บงอกเข้าไปทิ่มแทงในเนื้อของเราได้นั้นเอง
👉 หลังจากที่มีการผ่าตัดหรือการเอาเล็บออกไปแล้วนั้น แพทย์จะพันผ่าพันแผลเอาไว้เพื่อซับเลือดที่ยังคงไหลซึมและป้องกันการติดเชื้อ
👉 นอกจากนั้น เราควรที่จะพักเท้า ไม่ควรขยับหรือเคลื่อนไหวเท้ามากเกินไป และควรยกขาให้สูงไว้ใน 1-2 วันแรกหลังผ่าตัด และเพื่อลดความเจ็บปวดที่อาจเกิดขึ้น อาจจะใช้ยาแก้ปวด
👉 เช่น ยาพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน และควรสวมใส่รองเท้าที่มีความนิ่มและเผยส่วนนิ้วเท้าในช่วงวันแรก ๆ หลังผ่าตัด นอกจากนั้น แพทย์อาจจะให้ทาหรือรับประทานยาปฏิชีวนะและยาลดการอักเสบติดเชื้ออีกด้วย
⚡ภาวะแทรกซ้อนของเล็บขบ⚡
👉 หากปล่อยให้เป็นเล็บขบที่มีการติดเชื้อโดยที่ไม่ยอมไปทำการรักษา อาจทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้ในบริเวณกระดูกนิ้วเท้า การติดเชื้อที่เล็บเท้านั้นสามารถทำให้เป็นแผลอักเสบพุพองที่เท้าและขาดเลือดไปเลี้ยงไปหมุนเวียนในบริเวณที่ติดเชื้อ รวมไปถึงอาจเกิดการตายของเนื้อเยื่อบริเวณที่มีการติดเชื้อได้เลยทีเดียว
👉 การติดเชื้อที่เท้าเป็นเรื่องที่มีความรุนแรงมากหากท่านใดที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งการเป็นเล็บขบอาจกลายไปเป็นการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจะขาดการไหลเวียนโลหิตมาเลี้ยงยังบริเวณนิ้วเท้า และมีปัญหาอาการชาที่บริเวณเท้า จึงควรที่จะไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุดหากเป็นเล็บขบที่มีการติดเชื้อขึ้น
👉 หากมีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับเล็บขบ อาจจะทำให้สามารถเกิดเล็บขบขึ้นได้บ่อย ๆ หรือสามารถเกิดขึ้นหลาย ๆ นิ้วพร้อมๆ กันในหนึ่งครั้งได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต เช่น มีความเจ็บปวด มีการติดเชื้อ และมีอาการเจ็บปวดอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นกับเท้าที่ต้องรับการรักษาหรือการผ่าตัดหลายประการ
⚡การป้องกันการเป็นเล็บขบ⚡
เล็บขบสามารถป้องกันได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้ชีวิตได้ ยกตัวอย่างเช่น
- การตัดเล็บเท้าให้ตรงและไม่ให้ขอบของบริเวณเล็บเท้าโค้ง
- หลีกเลี่ยงการตัดเล็บเท้าให้สั้นจนเกินไป
- เลือกใส่รองเท้าให้พอดีกับเท้าของเราไม่คับจนเกินไป รวมไปถึงถุงเท้าและถุงน่องด้วย
- สวมรองเท้านิรภัยหรือรองเท้าที่ช่วยปกป้องเท้า หากต้องทำงานที่มีอันตรายต่อเท้าของเรา
- หากเล็บเท้ามีความหนาหรือโค้งผิดปกติ อาจป้องกันการเกิดเล็บขบได้ด้วยการผ่าตัดตกแต่ง
- ล้างเท้าให้สะอาดเป็นประจำทุกวัน หมั่นทำให้เท้าแห้งและใช้ครีมบำรุงเท้า
- หมั่นตรวจดูเท้าและนิ้วเท้าเป็นประจำสม่ำเสมอ
🙏 หวังว่าทุกท่านจะชอบกันนะครับ 🙏
👍 ถ้าชอบก็ฝากกดไลค์ กดแชร์ กดติดตามกัน เอาไว้ด้วยนะครับผม เพื่อเป็นกำลังใจให้กับทางผู้เขียนนั้นเองครับ
🙏 ขอบคุณมากเลยคร้าบ 🙏
...ขอลองเขียน...

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา