8 ส.ค. 2020 เวลา 05:30 • การศึกษา
🙏 สวัสดีครับทุกคนวันนี้ "ขอลองเขียน" ได้นำเรื่องราวดี ๆ มาฝากกันอีกเช่นเคย
~~~~~~~~ไปชมกันเลยยยยยย~~~~~~~~
การถอดเล็บ
👉 การถอดเล็บ (Nail Avulsion) คือ ขั้นตอนทางการแพทย์ที่ แพทย์นั่นจะใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อดึงหรือถอดเล็บมือ หรือเล็บเท้าออกมา เนื่องจากปัจจัยทางสุขภาพที่ต้องรักษาให้หาย
👉 เช่น การเกิดเป็นเล็บขบ เล็บมีการฉีกขาด หรือเล็บบางส่วนหลุดออกจากเนื้อเยื่อฐานเล็บ เพื่อเปิดโอกาสให้เล็บมือหรือเล็บเท้างอกขึ้นมาใหม่ตามกระบวนการทางธรรมชาติ
👉 ซึ่งเล็บของคนเรามักใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการงอกเงยขึ้นมาใหม่ แต่ในกระบวนการงอกเงยขึ้นมาใหม่ของเล็บจะไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลไป สบายใจได้หายห่วง
⚡ทำไมเราถึงต้องถอดเล็บงั้นหรือ ?⚡
👉 การถอดเล็บเป็นหนึ่งในทางเลือกที่สำคัญสำหรับรักษาอาการเจ็บป่วยบริเวณเล็บ เนื่องจากการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ อาจจะเพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้ป่วยจนทำให้มีอาการเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้นได้ หรือเล็บของเราอาจจะผิดรูปผิดร่างไปอย่างถาวรได้เลยทีเดียว😭
1
⚡สาเหตุส่วนใหญ่ที่ผู้ป่วยมักจะต้องเข้ารับการถอดเล็บจากแพทย์ ได้แก่⚡
2
- การเป็นเล็บขบ
- การประสบอุบัติเหตุจนเล็บบางส่วนหลุด หรือฉีกขาดออกไป
- การติดเชื้อบริเวณเล็บหรือเนื้อเยื่อภายใต้เล็บ เช่น การติดเชื้อราจนเล็บได้รับความเสียหายอย่างมาก และแพทย์ได้ลงความเห็นกันแล้วว่าผู้ป่วยควรที่จะถูกถอดเล็บ
- เล็บหนา เนื่องมาจากหลายสาเหตุ ได้แก่
ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
การป่วยด้วยโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
อายุที่เพิ่มมากขึ้น
การที่เราสวมใส่รองเท้าที่คับหรือแน่นหนากับเท้าของเรามากเกินไปบ่อยๆ
⚡วิธีการถอดเล็บ ทำอย่างไรงั้นหรือ ?⚡
👉🏼 เมื่อเราได้ไปพบกับแพทย์แล้วนั้น แพทย์จะตรวจอาการของเรา แล้วจึงจะพิจารณาว่าผู้ป่วยอย่างเราๆ ควรที่จะถอดเล็บหมดทั้งนิ้วไปเลย หรือว่าจะตัดดึงเล็บออกเพียงแค่บางส่วน
👉🏼 ผู้ป่วยอย่างเราๆ อาจจะนอนหงายอยู่บนเตียงคนไข้ หรืออาจจะอยู่ในท่านั่ง แล้ววางมือหรือเท้าลงในแนวราบ หลังจากนั้น แพทย์จะให้สารละลายโพวิโดน ไอโอดีน (Povidone-Iodine Solution)
หรือยาชาเพื่อที่จะระงับความรู้สึกเจ็บปวดบริเวณนิ้วที่จะถูกถอดเล็บ โดยรอประมาณ 5-10 นาทีเพื่อที่จะให้ยาออกฤทธิ์ ในบางรายแพทย์อาจจะทายา ฟีนอล (Phenol) ลงไปให้ด้วย เพื่อป้องกันการเกิดเล็บขบขึ้นซ้ำอีกครั้ง
👉🏼 ในกรณีที่มีการติดเชื้อเกิดขึ้นมานั้น แพทย์จะทำการให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วย แล้วจึงนำหนองใต้เล็บออกก่อน
👉🏼 แพทย์อาจจะทำการใช้ยางรัดบริเวณมี่โคนนิ้วในส่วนที่แห้ง แล้วจากนั้นจึงบีบหรือกดข้างนิ้วในขณะที่ทำการถอดเล็บออก เพื่อที่จะไม่ให้เลือดของเราไหลออกมามากจนเกินไป
👉🏼 แพทย์จะล้างทำความสะอาดบริเวณที่นิ้วอีกครั้ง ก่อนที่จะใช้เครื่องมือดึงหรือถอดเล็บส่วนที่มีปัญหาออกมาจนหมด หรืออาจจะใช้กรรไกรผ่าตัดตัดตกแต่งเล็บส่วนที่มีปัญหาออกไป
โดยแพทย์อาจจะถอดเล็บออกทั้งหมด หรืออาจจะตัดออกเพียงบางส่วน หรืออาจจะเหลือโคนเล็บไว้ประมาณ 1/4 หรือ 1/5 ส่วนของเล็บทั้งหมด ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
👉🏼 หากเนื้อเยื่อบริเวณใต้เล็บมีความเสียหายอย่างมาก แพทย์อาจจะใช้เครื่องมือจี้ด้วยไฟฟ้า เพื่อกำจัดเนื้อเยื่อเหล่านั้น แล้วหลังจากนั้นจึงทำการเช็ดออกด้วยผ้าก๊อซ จนกว่าจะเหลือเนื้อเยื่อสุขภาพดีอยู่ภายใต้เล็บขิงเรา เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับเล็บที่จะงอกออกมาใหม่
👉🏼 หลังจากนั้น แพทย์อาจจะทายาปฏิชีวนะในรูปครีมขี้ผึ้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แล้วพันด้วยผ้าพันแผลที่สะอาดและปลอดเชื้อ
ซึ่งหากเป็นการถอดเล็บที่บริเวณเท้า ผู้ป่วยอาจจะต้องทำการสวมรองเท้าแตะ
จากนั้นก็ต้องทำการรักษาความสะอาดที่บริเวณบาดแผลของเรา
ดูแลให้ผิวหนังบริเวณที่ได้ถอดเล็บออกไปนั้นแห้งอยู่เสมอๆ
รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
และมาพบแพทย์ตามที่ได้ทำการนัดหมายกันเอาไว้เพื่อติดตามผลของการรักษาต่อไป
⚡การพักฟื้นหลังจากการถอดเล็บ⚡
👉🏼 ผู้ป่วยสามารถกลับไปพักรักษาตัวที่บ้านได้ โดยควรเปลี่ยนผ้าพันแผลทุกๆ วันเพื่อป้องกันการติดเชื้อและสิ่งสกปรกสะสมในแผล ไม่ใช้พลาสเตอร์เหนียวปิดบริเวณรอบๆ แผล เพราะกาว
เหนียวๆ ของพลาสเตอร์อาจจะทำให้เกิดความเจ็บปวดและความเสียหายแก่แผลขณะลอกออกมาได้
👉🏼 ผู้ป่วยต้องกลับมาให้แพทย์ล้างแผลภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งแพทย์อาจจะทำการใช้ยาฆ่าเชื้อ (Antiseptic) หรือสารละลายน้ำเกลือล้างทำความสะอาดบริเวณแผล หลังจากนั้น ผู้ป่วยจึงทำการพักฟื้นได้ตามปกติ โดยระมัดระวังไม่ให้บาดแผลของเราได้รับการกระทบกระเทือน เปียกชื้น สกปรก หรือติดเชื้อ ไม่อย่างนั้นแย่แน่ๆ
👉🏼 แพทย์อาจจะให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และยาบรรเทาปวดอย่างพาราเซตามอล ซึ่งควรใช้ยาในปริมาณที่เหมาะสมภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือบนฉลากยา และยาอื่น ๆ ในกลุ่ม NSAIDs อย่างไอบูโพรเฟน
แต่ยาชนิดนี้อาจกระทบต่อการรักษาและสุขภาพของผู้ที่กำลังใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรที่จะทำการแจ้งให้แพทย์ทราบถึงประวัติทางการแพทย์ที่สำคัญ ประวัติการแพ้ยา รวมถึงอาการป่วยและยารักษาที่ได้ใช้อยู่ในปัจจุบันด้วย
เพราะการใช้ยาบางชนิดอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพได้ ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ระมัดระวังในการใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสม และสอบถามแพทย์เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยใด ๆ
👉🏼 ยกมือหรือเท้าที่ถอดเล็บออกให้อยู่สูงกว่าหัวใจเสมอในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังการถอดเล็บ หรือจะใช้หมอนรองช่วยยกอวัยวะเหล่านั้นให้สูงขึ้น ก็สามารถทำได้เพื่อช่วยลดอาการบวมและบรรเทาความเจ็บปวดลงได้
👉🏼 ห่อน้ำแข็งด้วยถุงพลาสติกหรือผ้าขนหนู แล้วประคบรอบ ๆ บาดแผลเป็นเวลา 15-20 นาที ทุก ๆ ชั่วโมง เพื่อป้องกันเนื้อเยื่อบริเวณนั้นเสียหาย ช่วยลดอาการบวม และบรรเทาความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย
👉🏼 ไม่สวมรองเท้าที่คับและแน่นหนากับเท้าของเราจนเกินไป รองเท้าที่มันไม่พอดีกับเท้าของเรา หรือถุงน่องที่รัดแน่นจนเกินไป เราควรสวมถุงเท้าผ้าฝ้ายที่มีเนื้อนุ่มสบายแทนจะดีกว่า
‼️อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่พักฟื้น ผู้ป่วยควรสังเกตตัวเองด้วย หากมีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน‼️
- มีเลือดไหลออกมาจนชุ่มผ้าพันแผล
- มีเส้นสีแดงเป็นจ้ำตามแขนหรือขา
- มีไข้ หรือหนาวสั่น
- แผลบวมแดง หรือมีหนองไหลออกมา
- มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น หรืออาการปวดไม่ทุเลาลงแม้รับประทานยาแก้ปวดไปแล้ว
- มีข้อสงสัย ไม่สบายใจ เกี่ยวกับการป่วยและการรักษา
🙏 หวังว่าทุกท่านจะชอบกันได้ครับ 🙏
🙏 หากว่าท่านใดชื่นชอบฝากกดไลค์ และ กดติดตามเราเพื่อให้เรามีกำลังใจในการทำบทความต่อๆไปออกมาด้วยนะคร้าบ ขอบคุณมากคร้าบ🙏

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา