7 ส.ค. 2020 เวลา 11:17 • การตลาด
Lazada & Shopee ทำอย่างไรให้เราอยากซื้อของ ?
จะเรียกว่า Technique หรือ Trick ดีนะ ?
เราเป็นคนนึงที่ชอบช้อปออนไลน์บ่อยมากๆ โดยเฉพาะวันที่มีโปรโมชั่นอย่าง 6.6, 7.7 หรือ วันพรุ่งนี้ 8.8
บางทีก็เข้ามาดูเล่นๆ แค่จะซื้อกาแฟ ...... แต่ไปๆมาๆ เอ๊าาา กดหยิบใส่ตะกร้าไปก็ตั้งหลายชิ้นหลายอย่างเลยจ้าแม่
ถ้าหยั่งงั้น บทความนี่เราจะพาเพื่อนๆไปดูกันว่า Lazada และ Shopee เค้ามี Trick หรือ เทคนิคยังไงบ้างที่เล่นกับความอยากได้ของเราจนกลายเป็น การกระทำที่เรียกว่า การซื้อของ
โดยเราจะแบ่งเป็น "ปัจจัยภายในตัวเอง" และ "ปัจจัยกระตุ้นจากภายนอก"
เริ่มต้นด้วย "ปัจจัยภายในตัวเอง"
Cognitive Bias จิตวิทยาอคติในการตัดสินใจ
- จริงๆมีอยู่เกือบ 10 แบบ แต่เราขอดึงที่สำคัญๆในการโน้มน้าวจิตใจเราให้ซื้อของละกันนะ โดยหลักๆคือจะพูดถึงสิ่งเร้าต่างๆที่ไม่ปกติ ที่ทำให้พฤติกรรมและความคิดของเราเปลี่ยนไปในแง่ต่างๆ
1. Framming Effect
- เป็น 1 ใน Cognitive Bias ที่ทำให้พวกเราเนี่ยถูกชี้นำได้ง่าย มันก็คือกระบวนการชี้นำพวกเรานั้นเอง เช่น ส่วนลดของสินค้าที่มีมูลค่าสูงถึง 70-80% (แต่เค้าไปอัพราคาขายขึ้นแทนซะงั้น)
2. Confirmation bias
- ความลำเอียงในการเลือกรับข้อมูล
- ซึ่งในทีนี้บางทีเราโดนดึงดูดด้วยส่วนลดราคาและ ความ popular หรือ ความที่สินค้ามีจำนวนจำกัด เราก็จะมโนไปว่า สิ่งเหล่านี้มันสุดยอด หรือต้องดีมากๆแน่ๆ
- ชั้นต้องไม่พลาดสิ่งนี้ นั้นคือ ทั้งๆที่แต่ก่อนเราก็ไม่เคยอยากได้สิ่งนี้ แต่วันนี้เราเลือกรับข้อมูล เพียงแค่ มันดูหายาก หรือสินค้ามันกำลังจะหมดแล้ว ก็คือมองในมุมเดียวนั้นแหละ
1
3. Fundamental attribution error
- บางทีเพื่อนๆเคยรู้สึกเหมือน โยนความผิด หรือ โยนเรื่องราวต่างๆไปให้บุคคลที่ 2 หรือ 3 กันไม๊เอ่ย ?
- บางทีเรามีการนึกถึงคนอื่นแบบที่เรานึกไปเองข้างเดียว ว่าเค้าน่าจะอยากได้สิ่งๆนี้ (หรือก็คือความเอาใจใส่นะแหละ แต่อาจจะมากเกินไปนิดนึง)
- พอเรานึกถึงใครมากๆ เราก็อยากจะทำอะไรให้เค้าเนอะ ไม่แปลกที่ความรู้สึกนี้ทำให้เราเหมารวมว่า การที่ชั้นซื้อสินค้านี้ ก็เพราะว่าจะเอามาให้เธอด้วยน้ะ ! หรือแบบ ก็ชั้นรู้ว่าเธอชอบอันนี้ ชั้นเห็นมันลดราคาเลยซื้อ (ฮั่นแหน่ะ ! อ้างใหญ่เลยนะ หมายถึงเรานี่ละ 555)
4. Pro-innovation bias
- สั้นๆเลยคือ เรามีความคลั่งไคล้กับสิ่งของที่เป็น นวตกรรมใหม่ๆ หรือพวกสิ่งของที่มี technology มาปรับใช้
- หรือเอาง่ายๆ เช่นการคลิกเข้าไปดูในหมวดสินค้า Technology แล้วก็โดน content เค้าป้ายยามาว่า ของชิ้นนี้มีความปกติอย่างไรบ้าง? (ทั้งๆที่เรายังไม่รู้เลยนะว่ามันจะดีจริงไม๊ ? เอามาแล้วพังรึเปล่า?) คิดไปเองว่าของถูกและแปลกใหม่ ก็ลองซื้อมาก่อน ประมาณนี้จ้า
เอาแค่นี้พอก่อนเนอะ สำหรับสิ่งกระตุ้นโดนเกิดจากความคิดของเราในการทำให้เราเนี่ย อยากซื้อของ อยากได้ (ที่เกินพอดี)
ต่อมา "ปัจจัยกระตุ้นจากภายนอก"
เราจะมายกตัวอย่าง Marketing trick ดีๆ ที่ Online shopping อย่าง Lazada หรือ Shopee ใช้งานกันอยู่ ซึ่งในส่วนนี้เป็นการตลาดที่เข้ามาเสริมการตัดสินใจของเรา(ให้ซื้อ)
1. Anchoring Effect หรือ อาการคนโดน(ส่วนลด)ปักใจ (เราขอเรียกแบบนี้ละกัน)
- การที่เราเห็นส่วนลดจำนวนเยอะๆ แล้วเหมือนโดนโน้มน้าวจิตใจ แล้วโดยเฉพาะถ้าเป็นใน tab/page ที่แนะนำโดยเว็ปไซต์ เช่น Lazada Choice, Partner with Shopee
- โดยเฉพาะร้านค้าที่มีผู้ติดตามหรือ รีวิวเยอะๆเนี่ย จะโน้มน้าวปักใจเราได้ดีเลยละ
คลิกเข้าไปละก็โดนป้ายยาเลยย
เรากดเข้าไปใน Lazada Choice
- ของแต่ละอย่างนี้ลดเกิน 50% หมดเลย เหลือราคาไม่เกิน 200 บาทจริงๆเหรอ ??
ที่เบลอไว้เพราะอยากเน้นสายตาเพื่อนๆไปตรงลูกศร
- โอโห ลด 73% แถมมีสมอปักหัวใจเราด้วยคำว่า Flash Sale สิ้นสุดภายใน 6.28 ชั่วโมง ขายไปแล้ว 159 ชิ้น
2. Shortage หรือ Limit Stock ความจำกัดของสินค้า
- จริงๆอันนี้ถือว่าเล่นกับจิตวิทยาเราโดยตรงเลยละ คือ ความอยากได้ ความกลัวพลาดสิ่งดีๆ (ซึ่งดีจริงรึเปล่าก็ไม่รู้นะ)
 - อีกอย่างนึงคือ สินค้าอาจจะกำลังหมดจริงๆ หรือ ... ไม่จริงก็ได้ จัดว่าเป็น psychological trick ที่ดีอันนึงเลยละ กระตุ้นความอยากได้แข่งกับเวลา
อะไรนะ ! กำลังจะหมดเหรอ ! ราคานี้กำลังจะหมดเหรอออ !!
3. Value Added Service ที่มากกว่า Discount
- สิ่งที่จะกระตุ้นที่จะช่วยให้เราอยากกดซื้อมากเข้าไปใหญ่คือ การจัดส่งไว
- แน่นอนว่าสั่งขอใหม่ๆทั้งที มีใครอยากได้สินค้าที่ล่าช้าบ้างละเนอะ
- จัดส่ง 24 ชั่วโมงถือว่าเป็นอะไรที่ดึงดูลูกค้ามากที่สุดแล้ว
- แถมมีฟรีค่าจัดส่งอีก เราบอกเลยว่า ถ้าเทียบกับคู่แข่งในสินค้าที่เหมือนกันแล้ว ต่อให้ส่วนลดจะพอๆกันหรือคู่แข่งอาจจะมีมากกว่า
- แต่บางทีคนเราอาจแพ้ Sense of urgency แบบนี้ก็ได้นะ
4. Loss of Aversion
- ทฤษฏีนี้เค้าว่าด้วย มนุษย์เราไม่ชอบที่จะมีความสูญเสีย
- ตัวอย่างในทีนี้คือการเสียเงินซื้อของ ความเสี่ยงที่เราซื้อมาแล้วจะใช้คุ้มไหม ? แล้วถ้าพังเราต้องซื้อซ้ำมาอีกไหมนะ ?
- หรือ การที่เราซื้อสินค้านี้ เราประหยัดไปเท่าไร ? เสียค่าจัดส่งอีกต่างหาก แล้วซื้อออนไลน์แบบนี้แล้วจะถูก จะคุ้มกว่าไปซื้อที่หน้าร้านไหม ?
- เทคนิคที่ดีอย่างนึงที่ Online shopping ชอบใช้คือ การที่ทำให้เพื่อนๆรู้สึกว่าคุ้มค่า
- อย่างน้อยก็คุ้มค่าที่จะซื้อละ ต่อให้จะมีความเสี่ยงก็ตาม
- จากสินค้าข้างบน พอเราเลื่อนลงมาข้างล่างนิดนึงก็พบว่า มีโปรโมชั่นแบบขายเป็ร Package ซื้อคู่ด้วยนะ
- สิ่งที่ Shopee เล่นกับจิตใจเราจากภาพด้านบนคือ
1. ซื้อ 2 ชิ้น ประหยัดไป 210 บาท หรือเอาง่ายๆคือ แทบจะ 1 ฟรี 1 เลยดีกว่า
2. Product 2 ชิ้นเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน(มีดโกนหนวด) แต่ต่างรุ่นและต่างดีไซน์กัน ซึ่งโอเคต่อให้ใช้อันนึงแล้วไม่ดี ก็ยังมีอีกอันที่อาจจะทดแทนได้ ซึ่งจะทำให้เราลดความรู้สึก Loss of Aversion
5. Store Banner Influence Buyer Purchasing
- อันนี้เราคิดคำขึ้นมาเองเลย ฟังอาจดูประหลาด แต่มันคือเรื่องจริงนะ จริงยังไงไปดูกัน
- ลูกค้าถ้าเวลาไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหน พวกเค้าจะหาจุดสนใจก่อน เช่น Banner เชิญชวนดูสินค้าจากเว็ปนั้นๆ เช่น ตัวอย่างข้างล่างนี้
Lazada
Shopee 8.8
- เอาตรงๆเห็นสีสันที่ดึงดูดด้วย สีแดงและสีส้ม ที่ทำให้เรารู้สึกว่า ถูกและคุ้มค่า !
- แถมยังมีตัวเลขส่วนลดสูงสุดอีก ซึ่งส่วนใหญ่ถ้าทำเป็นแบนเนอร์ใหญ่ๆแบบนี้ก็จะอยู่ที่ 80-90% ดึงดูดมาก (แต่พอเข้ามาข้างในก็มีสินค้าที่ดูคุณภาพไม่ดีอยู่เยอะพอสมควร เลือกกันดีๆน้ะ อย่ามัวแต่ดูความถูก)
- สุดท้ายเลยคือ Flash sale หรือสินค้าที่อยู่ข้างในนี้ถูก Recommend โดย Shopee หรือ Lazada นั้นก็คือจะเพิ่มความน่าเชื่อถือได้ขึ้นมาอีก
จบแล้วจ้าเพื่อนๆ ^^
ว่าแต่ พร้อมที่จะช้อปกับ 8.8 พรุ่งนี้รึยังเอ่ยยย ?
References:
- การเรียบเรียงและเลือกใช้จากความรู้ทางการตลาดของผู้เขียนเองจ้า
โฆษณา