26 ส.ค. 2020 เวลา 05:05 • ประวัติศาสตร์
ในบทความนี้จะกล่าวถึง มหาบุรุษผู้หนึ่งที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของการล่มสลายของอารยธรรมพระเวท และทำให้ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่มีมาอย่างยาวนานกว่าพันปีก่อนหน้านั้นถึงกับสั่นคลอน มหาบุรุษผู้นี้ก็คือพระบรมศาสดา พระโคตม พุทธเจ้า(Gautam Buddha) ตอนที่1
1
เจ้าชายสิทธัตถะเป็นบุตรของพระนางสิริมหามายา และพระเจ้าสุทโธทนะแห่งแคว้นกบิลพัสดุ์มีรัศมีกว่า300กิโลเมตรอยู่บริเวณเทือกเขาหิมาลัยมีเมืองใหญ่กว่า10เมืองซึ่งรู้ได้จากตำราพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน พระองค์ทรงประสูติที่ป่าลุมพินีในระหว่างการเดินทางไปเทวทหของพระนางสิริมหามายา
2
จากคัมภีร์วิสุทธชนวิลาสินีกล่าวว่า ครั้งเมื่อประสูติพระราชกุมารก็อยู่ในอิริยาบถยืนหันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ เสด็จย่างพระบาทไป 7 ก้าว มีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับ 7 ดอก แล้วทรงกล่าววาจาว่า “เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้การเกิดใหม่มิได้มี"
1
ภาพเสด็จย่างพระบาทไป 7 ก้าว
ภายหลังพระเจ้าสุทโธทนะ ทราบข่าวพระนางสิริมหามายาประสูติพระโอรสระหว่างทางที่สวนลุพินี แล้วรับสั่งให้เสด็จกลับเข้าเมือง
ในช่วงเวลานั้นมีดาบสท่านหนึ่ง นามว่าอสิตดาบส บวชเป็นฤาษีอยู่หิมาลัย ท่านเป็นที่เคารพนับถือของพระเจ้าสุทโธทนะและของราชตระกูลนี้
เมื่อท่านทราบข่าวว่าพระเจ้าสุทโธทนะ ประมุขกษัตริย์กรุงกบิลพัสดุ์ทรงมีพระราชโอรสใหม่จึงออกจากอาศรมเชิงเขา เข้าไปเยี่ยมเยียนเพื่อถวายพระพรยังราชสำนัก พระเจ้าสุทโธทนะทราบข่าวว่าท่านดาบสมาเยี่ยม ก็ดีใจนักหนา จึงตรัสสั่งให้นิมนต์ท่านนั่งบนอาสนะ แล้วทรงอุ้มพระราชโอรสมาเพื่อให้นมัสการท่านดาบส
พอท่านดาบสได้เห็นเจ้าชายสิทธธัตถะ ก็ทำกิริยาผิดวิสัยสมณะ คือหัวเราะแล้วร้องไห้ แล้วกราบแทบเท้าของเจ้าชายสิทธัตถะ
ท่านยิ้มเพราะเห็นพระ ลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะต้องด้วยตำรามหาบุรุษลักษณ์ ท่านเห็นว่าคนที่มีลักษณะอย่างนี้ ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงมีพระบรมเดชานุภาพแผ่ไปไกล แต่ถ้าได้บวชจะได้เป็นพระศาสดาผู้มีชื่อเสียงที่สุดในโลก
1
ที่ท่านร้องไห้ก็เพราะเชื่อแน่ว่า เจ้าชายราชกุมารนี้จะต้องออกบวช เพราะเหตุที่เชื่ออย่างนี้ เลยนึกถึงตัวท่านเองว่า เรานี่แก่เกินการณ์เสียแล้วเลยเสียใจว่ามีบุญน้อย ไม่มีโอกาสที่จะได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า
1
ภายหลังเจ้าชายราชกุมารประสูติได้ 5 วันแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะ ได้โปรดให้มีการประชุมใหญ่ และเชิญพราหมณ์ผู้รอบรู้ไตรเวท เพื่อทำพิธีมงคล ที่ประชุมลงมติขนานพระนามพระราชกุมารว่า ‘เจ้าชายสิทธัตถะ’ ซึ่งเป็นมงคลนาม มี
ความหมายว่า ผู้ทรงปรารถนาสิ่งใดจะสำเร็จสิ่งนั้นดังพระประสงค์ พระนามนี้ คนอินเดียทั่วไปในสมัยนั้นไม่นิยมเรียก แต่นิยมเรียกพระโคตรแทน(คือนามสกุล)
คนจึงนิยมเรียกพระราชกุมารว่า ‘เจ้าชายโคตมะ’ หรือ ‘เกาตัม’(gautam)
2
พร้อมกันนี้ ก็มีพราหมณ์ทั้ง ๘ พยากรณ์พระลักษณะ คำพยากรณ์แตกความเห็นเห็นเป็น 2
แบบ พราหมณ์ 7 คนแรกพยากรณ์ว่า ถ้าเจ้าชายนี้อยู่ครองราชสมบัติ จักได้ทรงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงมีพระบรม เดชานุภาพมาก แต่ถ้าออกทรงผนวชจักได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาเอกของโลก
มีพราหมณ์หนุ่มอายุเยาว์คนเดียวที่พยากรณ์เป็นมติเดียวโดย พยากรณ์ว่า พระราชกุมารนี้
จักเสด็จออกทรงผนวช และได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน(ในตอนหลัง พราหมณ์ผู้นี้ต่อมาได้เป็นหัวหน้าพระปัญจวัคคีย์ และได้เป็นพระอรหันตสาวกองค์แรกที่รู้จักกันในนามว่า ‘พระอัญญาโกณ
ทัญญะ)
2
หลังจากประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์ เจ้าชายจึงอยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมีตั้งแต่นั้นมา ซึ่งเป็นพระกนิษฐา(น้องสาว)ของพระนางสิริมหามายา
ต่อมาเมื่อเจ้าชายสิทธธัตถะมีอายุได้7ปี เจ้าชายจะชอบนั่งสมาธิใต้ต้นชมพูพฤกษ์ ด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์ และอย่างมีวิสัยผู้จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในภายหน้า ได้รับความวิเวกแล้วเกิดเป็นสมาธิขั้นแรกที่เรียกว่า “ปฐมฌาน”
1
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเติบโตขึ้น ทรงได้รับการศึกษาเล่าเรียนโดยเชิญผู้รู้เป็นพราหมณ์ผู้เฒ่า ชื่อ วิศวามิตร มาสอนในวัง วิชาที่สอนก็เป็นไปตามที่สอนกันในสมัยนั้น คือ ศิลปศาสตร์ 18 ประการซึ่งประกอบไปด้วย
๑. ความรู้ทั่วไป (สูติ)
๒. ความรู้กฏธรรมเนียม (สัมมติ)
๓. คำนวณ (สังขยา)
๔. การช่างการยนตร์ (โยคยันตร์)
๕. นิติศาสตร์ (นีติ)
๖. ความรู้การอันให้เกิดมงคล (วิเสสิกา)
๗. วิชาร้องรำ (คันธัพพา)
๘. วิชาบริหารร่างกาย (คณิกา)
๙. วิชายิงธนู (ธนุพเพธา)
๑๐. โบราณคดี (ปุราณา)
๑๑. วิชาแพทย์ (ติกิจฉา
๑๒. ตำนานหรือประวัติศาสตร์ (อิติหาสา) )
๑๓. ดาราศาตร์ (โชติ)
๑๔. ตำราพิชัยสงคราม (มายา)
๑๕. การประพันธ์ (ฉันทสา)
๑๖. วิชาพูด (เกตุ)
๑๗. วิชามนต์ (มันตา)
๑๘. วิชาไวยากรณ์ (สัททา)
1
ภาพจาก medium.com
เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้รับการศึกษาเพียบพร้อมบริบูรณ์ทุกแขนง ทั้งทางยุทธวิธีทหาร การปกครอง และการศาสนา เจ้าชายได้ผ่านการชนะเลิศทุกครั้งที่มีการประลองฝีมือต่อสู้ ป้องกันตัว และทดสอบวิชาความรู้ ทุกประเภท จนมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วชมพูทวีป
แต่ในตอนนั้นพระองค์ยังไม่รู้ว่าเส้นทางที่พระองค์จะเลือกเดินในอนาคต แตกต่างสิ้นเชิงกับสิ่งเป็นอยู่ในปัจจุบัน
ในตอนหน้าจะพาไปพบกับ ชีวิตวิวาห์ และเส้นทางการตรัสรู้ ของเจ้าชาย
พบกับประวัติมหาบุรุษผู้นี้ ใหม่ในตอนหน้า
อ้างอิง
หนังสือประวัติพระพุทธเจ้า
ผู้เขียน:beomgi Lee
พิมพ์ครั้งที่5

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา