6 พ.ย. 2020 เวลา 01:08 • ท่องเที่ยว
ช๙๕_ปรางค์วัดอรุณฯสิเนรุริมเจ้าพระยา
○มหาธาตุหมุดหมายเมือง○_ตอนที่๑
ดั้น
๑.๏ใส่สีชรอุ่มน้ำ วาดเติม
ปรางค์เทพกรุงสวรรค์ สรรสล้าง
เกิดเก่ากรีดก่ายเดิม สืบค่า
ผ่องงามงามเสกสร้าง แปลกสมัย ฯ
๒.๏อิฐเก่าตะไคร่ไล้ แจงอดีต
กี่ร้อยปีก่อนไกล กัปปแกล้ง
อิฐใหม่งามผ่องขีด ไร้ค่า จริงฤา
ค่าควรทรงรูปแจ้ง โอ่ขาม ฯ
๓.๏ปูนขาวขับกระเบื้อง เปิดลาย
คือหิมพานต์ป่านาม ทอดฟ้า
ชั้นดินเทอดทลาย แทงพรหม
วารหนึ่งมณีกล่ำคว้า จากดิน ฯ
๔.๏ขีดเส้นสืบสายเร้น รูปปรางค์
ผ่องขาวราวพนมผิน คลับคล้าย
เขาโขดสิเนรุสว่าง ริมน้ำ
หยัดยันส่องสมัยผ้าย รัตนา ฯ
๕.๏ไร้ตนเมื่อเราคว้า ความจริง
ยังเห็นว่าตรงหน้า มีกั้น
ยังผ่านม่านคลุมสิง จอมปลอม
กี่คลุ้มกี่ผ่าชั้น เชิงโลกย์ ฯ
๖.๏โลกสมัยพิไลแสร้ง ศรัทธา
รวดเร็วกล้าแกล้งโยก อาจอ้าง
สันตติแลเห็นพา สวรรค์ แน่หรือ
สรรสิ่งแปรหมุนคว้าง มิคง ฯ
๗.๏โบราณสถานแรกนั้น คือใหม่
ปรุงแต่งเปลี่ยนผจง ความไว้
สมัยนี้คิดต่างไป แผกเหตุ
อนุรักษ์ใช่อนุรักษ์ใช้ มองนาน ๚ะ
......กรุงเทพฯ ย่อมมีฐานความคิดในการก่อสร้างบ้านเมืองต่อเนื่องกับอยุธยา เพราะเป็นคนชุดเดียวกัน ในเมืองอยุธยาตลอดจนทั้งเมืองบริวารทั้งหลาย เป็นธรรมเนียมที่ต่างมีวัดหลัก อยู่กลางเมือง ใช้ชื่อมหาธาตุเราอาจค่อยๆลำดับ ทีละจุด ในแต่ละเมืองแต่ละพื้นที่ เมืองใหญ่อย่างอยุธยาและ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพฯ เกิดความหลากหลายของยุค ผู้คน ความคิด และสถาปัตยกรรม ความเป็นมหาธาตุ อาจจะเกิดได้ แตกต่างกันในแต่ละสมัย ที่นี่แม้สร้างกันในแผ่นดินสองและสาม แต่ก็มีความเป็นสัญญะ ของมหาธาตุ อันเป็นศูนย์กลางเมืองอย่างชัดเจนที่สุด เราอาจจะพิจารณา จากวัดอื่นในกรุงเทพฯ ที่มีลักษณะเป็นมหาธาตุเช่น วัดมหาธาตุตรงท่าพระจันทร์ วัดสุทัศน์ ตลอดจนภูเขาทองวัดสระเกศ หรือแม้แต่ที่วัดระฆังฝั่งธนบุรี แม้ในรุ่นหลัง รุ่น๒๔๗๕ ยังมีมหาธาตุที่บางเขน อีกแห่งหนึ่ง แล้วเราจะค่อยๆพิจารณากัน
โคลงชมวัด
วาดวัด
ทางแก้ว
รูปชุดนี้ ถ่ายก่อน การบูรณะปรับปรุงใหญ่ ในปี 2559

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา