16 ส.ค. 2020 เวลา 17:04 • ประวัติศาสตร์
เฮนรี โมสลีย์ (Henry Moseley) นักวิทยาศาสตร์ผู้ปราดเปรื่องกับผลงานการปรับปรุงตารางธาตุให้เป็นอย่างที่เราใช้งานกันในปัจจุบัน แต่เพราะสงครามทำให้ความรุ่งโรจน์ของเขานั้นสั้นนัก 😔
เพราะสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้พรากชีวิตของ Henry Moseley ไปด้วยวัยเพียง 27 ปีเท่านั้น
ตารางธาตุหรือ periodic table ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีการพัฒนามาตั้งแต่ปี คศ. 1817 โดย โยฮันน์ เดอเบอไรเนอร์ (Johaun Dobereiner) นักเคมีชาวเยอรมัน รวมถึง จอห์น นิวแลนด์ (John Newlands) นักเคมีชาวอังกฤษในปี 1864 แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับ
จนมาในปี 1869-1870 ยูลิอุส ไมเออร์ (Julius Meyer) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน และดิมิทรี เมนเดเลเอฟ (Dimitri Mendelejev) นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซียได้พัฒนาตาราธาตุภายใต้กฎ “พิริออดิก” หรือกฎตารางธาตุ (Periodic law) โดยมีการจัดเรียงแย่หมู่และคาบตามคุณสมบัติของธาตุ
แต่ทั้งหมดนี้ยังเป็นการจัดเรียงโดยใช้มวลอะตอม จนกระทั่งในปี 1913 เฮนรี โมสลีย์ (Henry Moseley) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้แก้ไขตารางธาตุของเมนเดเลเอฟให้ถูกต้องขึ้น โดยการพบว่าเลขอะตอมหรือจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุ มีความสัมพันธ์กับสมบัติของธาตุมากกว่ามวลอะตอม
เป็นที่มาของการปรับปรุงตารางธาตุจนเป็นอย่างที่เราใช้กันในปัจจุบัน
แต่เป็นที่น่าเสียดายในปี 1914 สงครามโลกครั้งที่ 1 ก็ได้อุบัติขึ้น Moseley ตัดสินใจเข้าร่วมกองทัพด้วยมองว่าเป็นหน้าที่ของผู้รักชาติ
1
การรบที่ Gallipoli เครติดภาพ: Ernest Brooks/Wikimedia Commons
ในสมภูมิที่ Gelibolu ประเทศตุรกีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 1915 ถึงมกราคม 1916 กองกำลังสัมพันธมิตรอันประกอบด้วยอังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย พยายามเข้ายึดครอง Dardanelles ช่องแคบที่เชื่อมต่อเอเชียและยุโรป
Moseley ได้เข้าร่วมการรบที่ Gallipoli ในฐานะเจ้าหน้าที่เทคนิคฝ่ายสื่อสารจนกระทั่งวันที่ 10 สิงหาคม 1916 คมกระสุนของพลซุ่มยิงจากฝ่ายตรงข้ามได้ปลิดชีวิตเขาไปในวัย 27 ปี ยุติเส้นทางที่ควรจะรุ่งโรจน์ของนักวิทยาศาสตร์ผู้ปราดเปรื่องคนหนึ่งของโลก
1
ผลงานและประวัติของ Moseley
Moseley นั้นเกิดเมื่อ 23 พฤศจิกายน 1887 ที่ Weymouth ประเทศอังกฤษ โดยครอบครัวของเขานั้นเป็นนักวิทยาศาสตร์ทั้งพ่อและแม่ โดยพ่อของเขาเป็นสมาชิกของทีมสำรวจ Challenger Expedition ที่ออกเดินทางสำรวจโลกเป็นระยะทางกว่า 130,000 กิโลเมตร
ส่วนแม่ของเขาก็เป็นนักชีววิทยา ผู้มีดีกรีเป็นแชมป์หมากรุกของประเทศอังกฤษด้วย และตัวเขาเองก็เป็นลูกไม้ใกล้ต้น ด้วยการจบสาขาเคมีจาก Eton College และฟิสิกส์จาก Trinity College แห่งมหาวิทยาลัย Oxford
1
Ernest Rutherford บิดาแห่ง nuclear physics
ในปี 1910 เขาก็ได้มีโอกาสเข้าร่วมทีมวิจัยกับ Ernest Rutherford นักฟิสิกส์ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งนิวเคลียร์ฟิสิกส์คนหนึ่งของโลก ณ มหาวิทยาลัย Manchester
ที่นี่ Moseley ก็ได้สร้าง Atomic battery หรือแบตเตอรี่พลังงานนิวเคลียร์ตัวแรกของโลก โดยอาศัยการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับยานอวกาศเพราะให้พลังงานได้เป็นเวลายาวนาน
จนมาในปี 1913 Moseley ก็ได้กลับมายัง Oxford และได้ทำการวิจัยด้วยทุนตัวเอง ในการทดลองยิงอิเล็กตรอนพลังงานสูงไปยังธาตุต่าง ๆ และสังเกตวัดความยาวคลื่นและความถี่ของรังสี X ที่แผ่ออกมา
เขาสังเกตว่าแต่ละธาตุจะแผ่รังสี X ออกมาด้วยความถี่ที่แตกต่างกัน และเมื่อพลอตกราฟความสัมพันธ์ระหว่างเลขอะตอมและรากที่สองของความถี่รังสี X ที่แผ่ออกมาจะได้เป็นเส้นตรง
จึงนำมาสู่ข้อสรุปที่ว่าจำนวนอิเล็กตรอนในอะตอมของธาตุจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามในตารางธาตุและมีจำนวนเท่ากันจำนวนโปรตรอนในอะตอมนั้น ๆ ความสัมพันธ์นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "Moseley's Law"
ซึ่งเป็นที่มาของการจัดเรียงธาตุตามเลขอะตอมและทำให้ตารางธาตุสมบูรณ์อย่างที่เป็นในปัจจุบัน รวมถึงยังสามารถทำนายถึงการมีอยู่ของธาตุที่ยังไม่ได้มีการค้นพบในเวลานั้น อย่างเช่น Technetium, Promethium, Hafnium และ Rhenium ซึ่งมีเลขอะตอม 43, 61, 72 และ 75
1
ค่าการวิเคราะห์ส่วนประกอบของตัวอย่างดินดาวอังคารจากยานไวกิ้ง
และวิธีการวิเคราะห์ธาตุโดยการใช้อิเล็กตรอนพลังงานสูงยิงกราดใส่ตัวอย่างและสังเกตดูการแผ่รังสี X นี้ยังถูกนำมาใช้ในการสำรวจอวกาศ อย่างเช่นตารางด้านบนเป็นค่าการวิเคราะห์ส่วนประกอบของดินดาวอังคารจากยานสำรวจไวกิ้ง
ถ้าหาก Moseley ไม่ได้จากไปก่อนวัยอันควรเชื่อว่านักวิทยาศาสตร์ผู้นี้น่าจะสร้างผลงานสำคัญให้กับโลกได้อีกมากมาย 😔

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา