Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คลังความรู้ by SpokeDark
•
ติดตาม
20 ส.ค. 2020 เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
ยุทธการยึดกรุงมะนิลา! สมรภูมิเดือด 'อเมริกา-ญี่ปุ่น' บนแผ่นดินฟิลิปปินส์ ที่ถูกขนานนามว่าเป็นสตาลินกราดแห่งเอเชีย
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ยุทธการบุกยึดเมืองมะนิลา (The Battle of Manila) คือการสู้รบครั้งสำคัญอีกครั้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยการต่อสู้ครั้งนี้กินระยะเวลายาวนานนับเดือนจนทำให้มีพลเรือนเสียชีวิตไปกว่า 100,000 คน ยังไม่รวมไปถึงตัวเมืองที่ได้รับความเสียหายยับเยิน จนทำให้การสู้รบครั้งนี้ถูกนิยามว่าเป็นสตาลินกราดแห่งเอเชีย โดยก่อนหน้านั้น ญี่ปุ่นได้เข้ามารุกรานฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ.1942 สหรัฐฯ ได้ถอนกำลังออกไป โดยนายพลดักลาส แม็คอาเธอร์ ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าเขาจะกลับมาอีกครั้ง จนกระทั่งในอีกสามปีต่อมา กองทัพสหรัฐฯ บุกเข้ามาเพื่อหวังปลดปล่อยฟิลิปปินส์จากการยึดครองของฝ่ายญี่ปุ่น
การรบที่กรุงมะนิลา เป็นความพยายามครั้งสุดท้ายของฝ่ายญี่ปุ่น ที่ต้องการรักษาฐานอำนาจของตนไว้ที่ฟิลิปปินส์ต่อไป จนเกิดการสู้รบที่รุนแรงที่ส่งผลให้บ้านเรือนภายในกรุงมะนิลาได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยเฉพาะมรดกทางวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่ถูกทำลายไประหว่างการสู้รบที่สามารถย้อนหลังกลับไปถึงช่วงก่อตั้งกรุงมะนิลา ส่งผลให้กรุงมะนิลาคือหนึ่งในเมืองหลวงที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเทียบเท่ากับกรุงเบอร์ลินของเยอรมนีและกรุงวอร์ซอของโปแลนด์
WIKIPEDIA PD
การรบที่กรุงมะนิลาเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1945 กองทัพสหรัฐฯ ระดมกำลังกว่า 35,000 นาย พร้อมกับกองกำลังใต้ดินของฟิลิปปินส์อีก 3,000 คน ที่คอยให้การสนับสนุน ส่วนฝ่ายญี่ปุ่น มีกำลังทหารราว 17,000 นาย ที่ตั้งมั่นในฐานที่ตั้งเพื่อปกป้องกรุงมะนิลาเอาไว้ กองทัพสหรัฐฯ ได้บุกเข้ามาทางตอนเหนือของกรุงมะนิลาเพื่อยึดสะพานข้ามแม่น้ำทัลลาฮัน กองกำลังผสมระหว่างฝ่ายสหรัฐฯ และฟิลิปปินส์ได้บุกยึดฐานที่มั่นต่าง ๆ และปลดปล่อยเชลยศึกชาวฟิลิปปินส์ที่ประกอบไปด้วยพลเรือนและทหารรักษาการณ์ของฟิลิปปินส์เอาไว้ได้นับพันคน
1
กองทัพสหรัฐฯ เริ่มรุกคืบเข้าไปใกล้ตัวเมืองชั้นในของกรุงมะนิลาเอาไว้ได้ พวกเขาได้สร้างแนวปริมณฑลเพื่อโอบล้อมฝ่ายญี่ปุ่นที่กำลังเสียเปรียบอย่างหนัก ในตอนนั้นนายพลดักลาส แม็คอาเธอร์ แสดงความมั่นใจว่า ‘กรุงมะนิลาถูกตีแตกแล้ว’ กองทัพสหรัฐฯ ส่งทหารข้ามแม่น้ำปาซิกรุกคืนลึกเข้าไปในภายตัวเมืองชั้นในของกรุงมะนิลา ฝ่ายญี่ปุ่นได้ตอบโต้ด้วยการรื้อถอนและทำลายอาคารบ้านเรือนเพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายสหรัฐฯ และกลุ่มปลดปล่อยฟิลิปปินส์ใช้ประโยชน์จากอาคารบ้านเรือนเหล่านี้ได้อีก
WIKIPEDIA PD
ด้วยความพยายามของนายพลแม็คอาเธอร์ ได้มีการสั่งการให้ระงับและควบคุมการยิงสนับสนุนจากปืนใหญ่เรือรบและการสนับสนุนทางอากาศอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเมืองถูกทำลายไปมากกว่านี้ ฝ่ายญี่ปุ่นในช่วงแรกสามารถทำการต่อสู้และป้องกันเมืองเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่น แต่เมื่อการรบผ่านไปได้สักระยะ ฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มเสียเปรียบมากขึ้น เนื่องจากขาดแคลนเสบียงและกำลังสนับสนุน บางส่วนนำความโกรธแค้นมาระบายกับพลเรือนชาวฟิลิปปินส์ที่ถูกจับเป็นเชลย จนเป็นที่มาของเหตุการณ์ ‘การสังหารหมู่ที่กรุงมะนิลา’ ทหารญี่ปุ่นได้ทำการสังหารและข่มขืนชาวฟิลิปปินส์เพื่อเป็นการตอบโต้พลเรือนกลุ่มนี้ที่รู้เห็นเป็นใจกับชาวอเมริกัน
1
WIKIPEDIA PD
ยุทธการบุกยึดกรุงมะนิลายุติลงในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ.1945 ด้วยชัยชนะของฝ่ายสหรัฐฯ ท่ามกลางความยินดีของชาวฟิลิปปินส์จำนวนมาก ส่วนฝ่ายญี่ปุ่น นายพลเรือซันจิ อิวาบูชิ ได้ใช้ปืนยิงกรอกปากตัวเองตายไปก่อนที่สงครามจะยุติลง ส่วนนายพลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการรบครั้งนี้ ภายหลังได้ถูกนำตัวไปดำเนินคดีที่เนิร์นแบร์กในข้อหาอาชญากรรมสงคราม
2
ภายหลังชาวฟิลิปปินส์ได้สร้างอนุสรณ์สถานรำลึกถึงพลเรือนนับแสนคน ที่เสียชีวิตในระหว่างการสู้รบของฝ่ายญี่ปุ่นและฝ่ายสหรัฐอีกด้วย
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA PD
10 บันทึก
28
1
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สงครามในประวัติศาสตร์โลก
10
28
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย