19 ส.ค. 2020 เวลา 10:30 • อาหาร
ที่มาของขนมบัวลอย
เป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยทั่วไปประชาชนจะทำขนมในงานเลี้ยง นับตั้งแต่การทำบุญเลี้ยงพระ งานมงคล และงานพิธีการ วัตถุดิบการทำที่กลมกลืน พิถีพิถันในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะ ชวนรับประทานตลอดจนกรรมวิธีการรับประทานขนมแต่ละชนิดซึ่งยังแตกต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้นๆ
ช่วงเวลาหรือเทศกาล
วันไหว้บัวลอย
เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย หรือ เทศกาลตังโจ่ย คือ วันเปลี่ยนเทศกาลเป็นฤดูหนาว มีลักษณะเป็นวันที่พระอาทิตย์จะส่องแสงสั้นที่สุดหรือวันที่เป็นจุดสูงสุดในฤดูหนาว โดยเทศกาลไหว้ขนมบัวลอย ถือเป็นเทศกาลสุดท้ายของชาวไทยเชื้อสายจีนในรอบหนึ่งปีปฏิทิน ซึ่งในเทศกาลนี้จะมีการทำขนมบัวลอย หรือ ขนมอี๋ มาไหว้ฟ้าดิน ปึงเถ่ากง ตี่จู๋เอี๊ย (เจ้าที่) เพื่อขอบคุณที่ได้ช่วยให้การดำรงชีวิตของสมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถดำรงมาได้อย่างราบรื่นตลอดปีที่ผ่านมา และเพื่อขอพรให้ช่วยคุ้มครองคนในครอบครัวด้วย
สำหรับขนมบัวลอยหรือขนมอี๋ ที่ใช้ในการไหว้จะทำจากแป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำต้มสุกจนเข้าที่และปั้นเป็นเม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ นิยมผสมสีชมพูและสีขาว เมื่อปั้นเสร็จแล้วจึงนำลงไปต้มในน้ำเดือด คล้ายกับการทำบัวลอยน้ำกะทิของคนไทย แต่ขนมอี๋จะใช้น้ำตาลทรายขาวหรือน้ำตาลทรายแดงแทนกะทิ ที่สำคัญจะต้องมีขนมอี๋ลูกใหญ่ที่เรียกว่า อีโบ้ ใส่ลงไปในถ้วยขนมอี๋ที่จะไหว้ถ้วยละหนึ่งลูกด้วย
ลักษณะกลมของขนมอี๋ สื่อความหมายถึง ความกลมเกลียวกันของคนในครอบครัว สีแดงและสีชมพู สื่อความหมายถึง ความโชคดี นอกจากนี้ ขนมอี๋ ยังถือเป็นขนมมงคลของชาวไทยเชื้อสายจีน ที่นิยมทำขึ้นในงานแต่งงานอีกด้วย
ทั้งนี้ตามหลักของปฏิทินจีน เทศกาลไหว้ขนมบัวลอย จะไม่มีวันที่ระบุอย่างแน่ชัดตายตัว แต่จะตรงกับเดือน 11 ตามปฏิทินจีน หรือเดือนธันวาคม ซึ่งเรียกว่า เกี๋ยวง๊วย แต่ตามปฏิทินทางสุริยคติสากล วันตังโจ่ย จะตรงกับวันที่ 21 หรือ 22 ธันวาคมของทุกปี สำหรับปี 2558 วันไหว้ขนมบัวลอย ตรงกับวันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2558
ของที่ใช้ในการไหว้ขนมบัวลอย
1. กระถางธูป
2. เทียนแดง 1 คู่
3. ธูป 3 หรือ 5 ดอก
4. ผลไม้
5. น้ำชา 5 ถ้วย
6. ขนมบัวลอย 5 ถ้วย
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำขนมบัวลอย
1.กะละมังทำขนม
2.หม้อ
3.ภาชนะใส่ก้อนขนม
4.กระบวย
สูตรขนมบัวลอย
เครื่องปรุงและส่วนผสมขนมบัวลอย
ส่วนผสมบัวลอย
* แป้งข้าวเหนียว 2 ถ้วยตวง
* เผือกนึ่งสุกบดละเอียด 1 ถ้วยตวง (กรณีต้องการบัวลอยหลายสีสามารถเลือกใช้ฟักทอง เพื่อทำบัวลอยสีเหลือง, ใบเตย เพื่อทำบัวลอยสีเขียว, อื่นๆ)
* น้ำเปล่า 1/4 ถ้วยตวง
ส่วนผสมน้ำกะทิ
* กะทิ 2 ถ้วยตวง
* น้ำตาลมะพร้าว 100 กรัม
* น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
* เกลือป่น 1 ช้อนชา
* เนื้อมะพร้าวอ่อน, ไข่ (จะมีหรือไม่มีก็ได้)
* งาขาว (สำหรับแต่งหน้า จะมีหรือไม่มีก็ได้)
วิธีทำและขั้นตอน
1. ทำบัวลอยโดยผสมแป้งข้าวเหนียว, เผือกนึ่งและน้ำเปล่าเข้าด้วยกัน นวดจนส่วนผสมทุกอย่างเข้ากันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นจึงนำมาปั้นเป็นลูกกลมๆ ระหว่างปั้นนั้น ควรโรยด้วยเศษแป้งข้าวเหนียวเล็กน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกบัวลอยติดกัน (ถ้าต้องการทำบัวลอยหลายสีก็ใช้ส่วนผสมเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นฟักทองสำหรับสีเหลือง หรือใบเตยสำหรับสีเขียว เป็นต้น)
2. ต้มน้ำในหม้อขนาดกลาง รอจนเดือดจึงใส่ลูกบัวลอยที่ปั้นไว้แล้ว เมื่อบัวลอยสุกให้นำออกมาแช่ในน้ำเย็น (บัวลอยที่สุกแล้วจะลอยขึ้น)
3. ทำน้ำกะทิโดยผสม กะทิ, น้ำตาลมะพร้าว, น้ำตาลทรายและเกลือป่นลงไป ควรใส่น้ำตาลทรายแค่ครึ่งเดียวก่อน ถ้ายังหวานไม่พอจึงค่อยใส่เพิ่มลงไป ต้มจนเดือด จึงหรี่ไฟลง นำบัวลอยที่ต้มไว้แล้วใส่ลงไปในน้ำกะทิ ต้มต่ออีกสักพักจึงปิดไฟ ถ้ามีมะพร้าวอ่อนก็ใส่ได้เลย พร้อมลูกบัวลอย (กรณีต้องการทำบัวลอยไข่หวาน ก็ตอกไข่ใส่ไปในหม้อหลังจากที่ใส่บัวลอยลงไป รอจนไข่สุกจึงปิดไฟ)
4. ตักใส่ถ้วย โรยหน้าด้วยงาขาว เสริฟขณะร้อนหรือรอให้เย็นก็ได้
คุณค่าทางอาหาร
ประโยชน์ที่ได้รับจากวัตถุดิบ
1. ฟักทอง มีวิตามินเอสูง รวมทั้งฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี แป้ง และที่จะลืมไปไม่ได้เลยก็คือ "เบต้าแคโรทีน" ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในเนื้อสีเหลืองของฟักทอง สามารถช่วยลดการเกิดมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหัวใจได้ แถมเบต้าแคโรทีน ยังช่วยต้านความชรา ป้องกันโรคผิวหนัง บรรเทาอาการปวดเมื่อยของข้อเข่า และบั้นเอวได้เป็นอย่างดี
2. เผือก มีฤทธิ์เป็นกลาง เป็นอาหารที่บำรุงสุขภาพและให้พลังงานไปพร้อม ๆ กัน มีรสหวานอมเผ็ดนิดหน่อยเหมาะกับเด็กและผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาด้านการย่อยอาหาร เผือกมีแคลอรีสูงไม่เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ส่วนที่ใช้ในการรับประทานคือส่วน หัว ของเผือกที่อยู่ใต้ดิน เผือกจะมีสารอาหาร คาร์โบไฮเดรต โปรตีน โพแทสเซียม วิตามินบี 1 วิตามินซี และที่สำคัญมีธาตุเหล็กสูงและยังมีฟลูอออไรด์สูง ช่วยทำให้ฟันไม่ผุ กระดูกแข็งแรง เผือกยังช่วยบำรุงไต บำรุงลำใส้และแก้อาการท้องเสียอีกด้วย
3. ใบเตย เตยมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขับปัสสาวะ
4. ข้าวโพด ข้าวโพดหวานสามารถต้านโรคมะเร็ง และมีสารตัวล้างพิษมากกว่าผักผลไม้อื่น
5. ไข่ไก่ เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในไข่ขาวจะมีโปรตีนคุณภาพสูง คือมีกรดอะมิโนทีจำเป็นต่อร่างกาย สูง และไม่มีคลอเลสเตอรอล ส่วนในไข่แดงจะมีสารอาหารหลายชนิด ได้แก่โปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุ ไขมันในไข่แดงส่วนใหญ่จะเป็นไขมันไม่อิ่มตัว รวมถึง omega-3 ที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ธาตุเหล็กในไข่ มีคุณค่าเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ แต่เคี้ยวง่ายกว่าเนื้อสัตว์ จึงเหมาะสมกับเด็กทารก และคนสูงอายุที่มีปัญหาเรื่องฟัน โฟลิก เป็นสารที่ป้องกันเลือดจาง และป้องกันความพิการแต่กำเนิด มีความจำเป็นในหญิงที่ตั้งครรภ์ โคลีน เป็นสารที่ช่วยเสริมสร้างความจำ ช่วยพัฒนาการในเด็กที่กำลังเติบโต สารอาหารอื่นได้แก่ ไรโบเฟลวิน วิตามินเอ บี ดี และ อี วิตามินที่ไม่พบในไข่คือ วิตามินซี
6. กะทิ กะทิประกอบด้วยกรดไขมันที่มีขนาดปานกลาง ซึ่งถูกย่อยได้ง่าย และเคลื่อนย้ายได้สะดวก เมื่อบริโภคเข้าไป จะผ่านลำคอไปยังกระเพาะเข้าสู่ลำไส้ แล้วไปถูกเผาผลาญให้เป็นพลังงานในตับโดยไม่ไปสะสมเป็นไขมันเหมือนกับน้ำมันไม่อิ่มตัวที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ดังนั้นผู้บริโภคกะทิจึงแข็งแรงเพราะได้พลังงานทันทีที่บริโภคเข้าไป อีกทั้งยังไปกระตุ้น ให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานได้ดีขึ้น ก่อให้เกิดความร้อน จากผลของอุณหภูมิ ซึ่งช่วยในการเผาผลาญอาหารที่บริโภคเข้าไปพร้อมกัน ให้เปลี่ยนเป็นพลังงานแทนที่จะไปสะสมเป็นไขมันในร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้นความร้อนที่เกิดขึ้น ยังไปช่วยสลายไขมันที่ร่างกายสะสมอยู่ก่อนหน้านั้น ให้สลายตัวไปเป็นพลังงาน จึงทำให้ผู้บริโภคผอมลง
7. เกลือ มีประโยชน์ในการบำรุงและ ซ่อมแซมสุขภาพ แม้หลอดลมส่วนที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยอนุภาคเกลือเหล่านี้ จะทําการแยกสกัดแปลกปลอมต่างๆ ให้หลุุดออก ซึ่งต่อมาจะถูกกําจัดทิ้งโดยการขับของเสียทางระบบทางเดินหายใจ เช่น การไอ จาม และทางเสมหะ
การเก็บรักษา
เนื่องจากขนมบัวลอยนั้นทำมาจากกะทิ เลยต้องอุ่นก่อน แล้วนำเข้าตู้เย็น เพื่อไม่ให้เกิดการบูด
บรรจุภัณฑ์
1.ใส่ถ้วยพลาสติก
2.ใส่ถ้วยแก้ว
3.ใส่ถุงร้อน
โฆษณา